Right Up Corner

ad left side

วันพฤหัสบดีที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2554

หินเดินได้ Sailing Stones สหรัฐอเมริกา United States of America








"สูงขึ้นไปบนเทือกเขาเชียรา มีสถานที่แห่งหนึ่ง เป็นที่มาของปริศนาหินเดินได้ในตอนกลางคืน ในอดีตนั้นคงจะมีผู้บุกเบิก มาพานพบกับทะเลสาบแห้งกรังหรือ "พลาย่า" ซึ่งสูง จากระดับน้ำทะเล เกือบ 1200 เมตร ปัจจุบันสถานที่แห่งนี้ เป็นวนอุทยานหุบผามรณะแห่งชาติ "เรสแทรค พลาย่า" คือที่ซึ่งมีรอย คดเคี้ยวของทางเดินของหิน ที่เป็นสิ่งดึงดูดใจนักท่องเที่ยวมากที่สุด"

ตามความเชื่อดั้งเดิมเชื่อว่า หินเหล่านี้เคลื่อนไปได้ เพราะน้ำแข็งจะจับหินเป็นแผ่นขนาดใหญ่ เมื่อมีลมพัด หินทั้งกลุ่มก็จะถูกดันให้เคลื่อนไป สมมติฐานใหม่เชื่อว่า น้ำและลมเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้หินเดิน จากผลการศึกษาของ ดร.โรเบิร์ต พี. ชาร์ป แสดงให้เห็นว่า หินเหล่านี้ จะเคลื่อนที่ในช่วงพื้นดินอ่อนยุ่ยแทนที่จะเป็น ช่วงที่พื้นดินแห้งแข็งด้วยเกล็ดน้ำแข็ง ทะเลสาบตื้นๆ เช่นนี้ มีฝั่งด้านหนึ่งซึ่งสูงกว่า หรือเป็นหน้าผากั้นเอาไว้ ในฤดูหนาวเมื่อน้ำในทะเลสาบแข็งตัว จะยึดบรรดาก้อนหินขนาดต่างๆ กันไว้ ในขณะที่น้ำแข็งตัวจะเกิดการขยายตัวดันเอาก้อนหินให้เคลื่อนที่ เมื่อถึงเวลาที่น้ำแข็งละลายก็จะทิ้งก้อนหินในระยะต่างๆ กัน
Sailing Stones เป็น 1 ใน ปรากฏการณ์ธรรมชาติ ที่ยังคงเป็น ปริศนา ที่เกิดขึ้นที่ อุทยานแห่งชาติเดท วัลลี่ย์ (Death Valley National Park) ในรัฐแคลิฟอร์เนีย (California) ประเทศ สหรัฐอเมริกา ส่งที่พบก็คือ จะพบร่องรอยการเคลื่อนที่ของก้อนหิน ที่ทิ้งไว้บนดินเหนียวที่แห้งเป็นทางยาว โดยปรากฏการณ์ธรรมชาติ นี้จะเกิดขึ้นทุก 2 - 3 ปี ครั้ง และหินบางก้อนก็ใช้เวลากว่า 3 - 4 ปีในการเคลื่อนที่

เรซ แทรค พลาย่า เป็นแอ่งทะเลสาบที่ค่อนข้างราบและแห้งแล้ง มีความยาวในแนวเหนือ-ใต้ประมาณ 4 กิโลเมตร และกว้างในแนวตะวันออก-ตะวันตกประมาณ 2 กิโลเมตร มีลักษณะพื้นผิวเป็นระแหงโคลน (mud cracks) ส่วนมากประกอบด้วยตะกอนขนาดทรายแป้ง (silt) และดินเหนียว (clay)
สภาพ ภูมิอากาศค่อนข้างแห้งแล้ง มีปริมาณน้ำฝนเพียงสองนิ้วต่อปี แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่ฝนตก น้ำปริมาณมากจะไหลจากภูเขาสูงชันที่อยู่ล้อมรอบเรซแทรค พลาย่าลงมาปกคลุมพื้นที่แอ่งจนกลายเป็นทะเลสาบตื้น ครอบคลุมเป็นบริเวณกว้าง ซึ่งขณะนั้นบริเวณพื้นแอ่งจะเต็มไปด้วยดินเหนียวที่เหลวและอ่อนนุ่ม
จาก ลักษณะรูปร่างของร่องรอยการไถลของหินนั้นบ่งบอกได้ว่าหินก้อนนั้นต้อง เคลื่อนที่ในช่วงที่พื้นของเรซแทรค พลาย่านั้นถูกปกคลุมด้วยดินเหนียวอ่อนนุ่ม ถ้าเป็นฝีมือของคนหรือสัตว์จะต้องมีร่องรอยของการเหยียบย่ำรบกวนชั้นดิน เหนียวด้วย แต่ในบริเวณดังกล่าวไม่ปรากฏหลักฐานร่องรอยจากคนหรือสัตว์ที่จะช่วยให้หิน เคลื่อนที่เลย มีเพียงร่องรอยการไถลของหินเท่านั้นจะเห็นว่า หินทุกก้อน ไม่มีร่องรอย ของการเข้าไปรบกวน หรือทำการเคลื่ยนย้ายโดยคน หรือสัตว์ เพราะไม่มี รอยเท้า และพื้นที่ก็กว้าง เกินกว่าจะใช้ไม้หรือวัตถุเขี่ยถึง


สมมุติฐานของ การเกิด ปรากฏการณ์ธรรมชาติ หินเดินได้

  • ทาง สมมุติฐาน อ้างว่าเกิดจาก ลม ตัวการที่นิยมนำมาใช้อธิบายปรากฎการณ์นี้ก็คือ ลม โดยส่วนมากลมที่พัดผ่านบริเวณนี้จะมีทิศทางพัดจากทิศตะวันตกเฉียงใต้ไปยัง ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ และร่องรอยการไถลของหินก็มีทิศทางขนาดกับทิศทางของลมนี้ด้วย แต่ ก็มีนักวิทยาศาสตร์บางคน ไ้ด้แย้งว่ากระแสลมใน เรซแทรค พลาย่า สามารถทำให้ เดินน้อยกว่า 5 เซ็นติเมตร และ ถ้าต้องการให้ ดินเดินได้เป็นระยะตามที่ปรากฏ จะต้องมีกระแสลมแรงกว่า 145 กิโลเมตร / ชั่วโมง จะเห็นว่าหิน บางก้อนไม่ได้เคลื่อนที่เป็นแนวเส้นตรง ตามกระแสลมเสมอไป แต่นั้นก็อาดจากการที่กระแสลมเปลี่ยนทิศก็เป็นไปได้
  • บางสมมุติฐาน อ้างว่าเกิดจาก น้ำแข็ง คนกลุ่มหนึ่งให้ข้อมูลว่าเคยเห็นเรซแทรค พลาย่าถูกปกคลุมด้วยน้ำแข็งชั้นบางๆ แนวคิดหนึ่งอธิบายว่าเมื่อน้ำรอบก้อนหินแข็งตัวและแต่ต่อมามีลมพัดผ่านผิว ด้านบนของน้ำแข็ง ทำให้แผ่นน้ำแข็งได้ลากก้อนหินนั้นไปด้วย จึงเกิดรอยครูดไถลบนพื้นผิวแอ่ง นักวิจัยบางคนพบร่องรอยไถลของหินหลายก้อนที่สอดคล้องกับแนวคิดนี้ด้วย แต่ อย่างไรก็ตามการเคลื่อนย้ายแผ่นน้ำแข็งขนาดใหญ่นั้นคาดว่าจะต้องมีการ ทิ้งร่องรอยบนพื้นผิวแอ่งในทิศทางอื่นๆ ด้วย แต่ก็ยังไม่พบร่องรอยนั้นและนั้นจึงทำให้มันยังคง เป็น ปริศนา ที่ต้องมีการศึกษาและ หาคำตอบกันอีก ต่อไป

แผนที่

View หินเดินได้ Sailing Stones in a larger map

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

yengo ad

BumQ