Right Up Corner

ad left side

วันอังคารที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

ชาวน้ำ ชาวอินทา (Intha) ทะเลสาบอินเล พม่า Myanmar

ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%97%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%A5

ทะเลสาบอินเล (พม่า: အင်းလေးကန်, เสียงอ่านภาษาพม่า: [ʔɪ́ɴlé kàɴ] อี๊นเล้ก่าน) เป็นทะเลสาบน้ำจืดตั้งอยู่ในรัฐฉาน อยู่ห่างจากเมืองตองยีประมาณ 25 กิโลเมตร ในประเทศพม่า เป็นทะเลสาบที่ใหญ่เป็นอันดับสองของพม่า
ทะเลสาบแห่งนี้เป็นที่อยู่อาศัยของกลุ่มชนที่เรียกตนเองว่า ชาวอินทา (Intha) ชนเผ่านี้อาศัยอยู่ในทะเลสาบอินเลมานานนับร้อยปีแล้ว โดยใช้ชีวิตอยู่ท่ามกลางการทำการเกษตรบนเกาะวัชพืชที่พวกเขาสร้างขึ้นมาเอง กลางลำน้ำในทะเลสาบ



การพายเรือด้วยเท้าอันเป็นวิถีชีวิตของชาวประมงชาวอินทา


ที่มา http://www.oknation.net/blog/print.php?id=646578

เ ก ษ ต ร ก ร ร ม บ น ผื น น้ำ ภูมิปัญญาจากหลายร้อยปีของชาวอินทา ต้นแบบของการปลูกพืชแบบไฮโดรโฟนิก ในปัจจุบัน


October 03, 2010
เกษตรกรรมบนผืนน้ำ ภูมิปัญญาจากหลายร้อยปีของชาวอินทา ต้นแบบของการปลูกพืชแบบไฮโดรโฟนิก ในปัจจุบัน
ภาพ ชีวิตของลูกทะเลสาบที่ยืนขาเดียวบนเรือ แล้วใช้เท้าอีกข้างต่างมือในการจ้วงพาย บังคับเรือให้แล่นไปข้างหน้า ถอยหลัง เบี่ยงซ้าย ป่ายขวาได้ดังใจ ขณะที่อีกมือหนึ่งขยับสุมเตรียมจับปลา … ดูแปลกตาสำหรับเรา เหมือนกับพวกเขากำลังเต้นบัลเล่ย์บนผิวน้ำด้วยท่วงท่าที่สง่างาม
ลีลาที่พริ้วไหว ทำให้เราต้องเบนทิศทางของกล้องระดมถ่ายรูปเก็บไว้มากมาย ด้วยจุดมุ่งหมายที่จะนำไปเผยแพร่ในวงกว้าง ด้วยเหตุที่การแจวเรือด้วยเท้าไม่มีที่ไหนในโลก มีเพียงที่นี่แห่งเดียว
ภาพที่เห็นในสายตา ทำให้ฉันคิดถึงบทความที่เคยอ่านผ่านตามาบ้าง
สมัย บรรพชนของชาวอินทา ที่เข้ามาตั้งรกรากใหม่ๆ พื้นที่ราบตามธรรมชาติมีอยู่น้อยนิดตามชายขอบ ที่พวกเขาลงแรงปลูกผักเอาไว้ แต่พอถึงหน้าฝน น้ำที่หลากลงมาจากภูเขาพัดพาพืชผักเสียหายหมด ถึงจะท้อใจบ้าง แต่พวกเขาไม่ท้อถอย ด้วยความหวังว่าจะมีชีวิตที่ดีกว่า ด้วยการประนีประนอมกับสภาพธรรมชาติรอบข้าง
การ พยายามรอมชอมกับสิ่งแวดล้อมรอบตัว มีตั้งแต่การเรียนรู้ที่จะต้องปลูกบ้านที่ใต้ถุนสูงมากๆไว้ก่อน เพื่อป้องกันน้ำท่วมในหน้าน้ำหลาก ที่อาจจะยกระดับน้ำในทะเลสาบให้สูงกว่าปกติถึง 2 เมตร และการค้นหาหนทางที่จะเพาะปลูก ทำการเกษตรให้ประสบผลสำเร็จบนพื้นที่น้อยนิดที่มีอยู่ให้จงได้
ชาวอินทา มองเห็นว่าหน้าดินที่ไหลลงสู่ก้นทะเลสาบนั้นมีจำนวนมหาศาล จนทำให้ทะเลสาบตื้นเขิน ดินเหล่านี้ประกอบด้วยสารอินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อการเจริญเติบโตของพืช เป็นปุ๋ยชั้นยอดตามธรรมชาติ อีกทั้งในทะเลสาบที่ลึกเพียง 1-2 เมตรยังมีวัชพืชมากมาย
สาหร่ายและวัชพืชน้ำ เป็นส่วนเกินที่ไร้คุณค่าและประโยชน์ในหลายชุมชนทั่วโลก หากแต่ที่นี่ วัชพืชเหล่านี้คือ ขุมทองและชีวิต” … ผืน แผ่นดินดั้งเดิมคือดินตะกอนที่ไหลจากภูเขาลงมาทับถมกันด้วยเวลายาวนาน แต่มันไม่เพียงพอสำหรับชาวอินทาทุกคนในการสร้างบ้านแปงเมืองเป็นที่อยู่ อาศัย และปลูกผักเลี้ยงชีพ
บรรพบุรุษของชาวอินทาจึงได้ทดลองนำเอาวัชพืชน้ำเหล่านั้นมามัดรวมกันเป็นแพที่กว้างสัก 2 ฟุต ยาว 50-60 เมตร แล้วตักดินโคลนมาโปะลงบนแพวัชพืช เอาไม้ไผ่มาปักเป็นหลัก ดักหัวดักท้าย เพื่อกันไม่ให้ลอยไปตามกระแสน้ำ
แปลงผักมีการพัฒนาต่อมาเรื่อยๆ บางครั้งลมมรสุมที่โหมกระหน่ำนั้นมีพลังมากมาย จนไม้ไผ่ทานไม่อยู่ แปลงผักจึงหลุดลอยไปตามกระแสน้ำ สำหรับ ชาวอินทาแล้ว แปลงผักเหล่านี้ไม่ใช่เพียงวัชพืชที่ไร้ค่ากับดินโคลนอันต่ำต้อย ทว่าคืออู่ข้าวอู่น้ำ คือรายได้เลี้ยงปากท้องของครอบครัวอีกหลายชีวิต
ชาวอินทาทุ่มเทพละกำลัง จ้วงแขนพายเรือเพื่อตามแปลงผักที่หลุดลอยไปให้ทัน แต่ ช่วงแรกมันเหนื่อยเปล่า มองไม่เห็นว่าแปลงผักลอยไปทางไหน พวกเขาจึงลุกขึ้นยืนสอดส่ายสายตาหาแปลงผัก ในขณะที่เปลี่ยนมาใช้เท้าพายและบังคับเรือแทน
ใน ที่สุดก็กลายเป็นการพัฒนามาสู่การใช้มือจับด้ามพาย คล้ายเป็นหลักแจว แล้วใช้ขาข้างหนึ่งตวัดใบพายให้พลิกพริ้ว เพื่อพุ้ยน้ำไปข้างหน้า ส่วนอีกขาเหยียบหัวเรือรักษาสมดุลของร่างกายเอาไว้ในยามที่โยกตัวใช้ขาจ้วง ใบพาย จนคล้ายการเต้นบัลเลย์ในสายน้ำ ในสายตาของผู้มาพบเห็น
ใน ปัจจุบัน แม้ว่าชาวอินทาจะมีวิธีการป้องกันไม่ให้แปลงผักหลุดลอยไปตามน้ำแล้วก็ตาม แต่การพายเรือด้วยเท้ากลับฝังลึกกลายเป็นสัญชาตญาณ จนพัฒนาเป็นความชำนาญเมื่อลอยเรืออยู่ในน้ำไปแล้ว
โดย เฉพาะเมื่อเวลาออกไปหาปลาโดยใช้สุ่ม ที่มีขนาดใหญ่เกินกว่าที่จะยกขึ้นได้ด้วยมือเพียงข้างเดียว ชาวประมงจะใช้แค่รักแร้หนีบด้ามพายเอาไว้ และบังคับเรือให้หยุดนิ่งได้เหมือนเสกมนต์ และเมื่อกดสุ่มปักลงไปถึงท้องน้ำแล้วก็ใช้ฉมวกแทงลงไปในสุ่ม สำรวจดูว่ามีปลาหลุดเข้ามาหรือไม่ หากปลาตกใจว่ายมาชนสุ่ม ชาวประมงจะกระตุกเงื่อนปล่อยแหในสุ่มลงไปครอบปลาไว้ ก่อนที่จะยกสุ่มขึ้น แล้วค่อยๆสาวแหขึ้นมา แกะปลาออก
แม้ ปัจจุบัน ชาวอินทาจะมีอาชีพอื่นเพื่อสร้างรายได้ แต่ทุกบ้านมักจะมีใครสักคนออกทะเลสาบหาปลา เอามาต้มแกงกินในครอบครัว เป็นวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของลูกทะเลสาบตลอดมา

บริเวณ รอบๆทะเลสาบที่ถึงแม้จะไม่ลึก และเป็นแหล่งการประมงที่สำคัญ สร้างเศรษฐกิจและรายได้ให้คนในชุมชนมหาศาล แต่ที่ราบมีน้อยมากๆ และชาวอินทาต้องการพื้นที่ปลูกบ้านพักอาศัย และแหล่งเพาะปลูกพืชทางการเกษตรต่างๆ
พวก เขาจะใช้วัชพืชเหล่านี้ไปกองสุมกัน เป็นรองพื้นขนาดใหญ่ก่อนที่จะโกยดินตะกอนจากก้นทะเลสาบ (ที่อยู่ไม่ลึกดังกล่าวมาแล้ว) มาโปะลงไปแปลงโฉมพื้นที่นั้นๆเป็นแปลงผักลอยน้ำขนาดใหญ่ โดยมีเสาไม้ไผ่ปักลงไปในดินยึดโยงแปลงผักไม่ให้ลอยออกไปตามกระแสน้ำที่พัด ผ่าน
แปลงผักของที่นี่ใช้ปลูกดอกไม้ พืชชนิดต่างๆโดยไม่ต้องรดน้ำ เพียงแค่ต้องเอาใจใส่ถอนวัชพืช .. 
ผลิตผล ที่ออกมา พวกเขาเก็บเอาไว้กินเอง รวมถึงส่งขายนำรายได้สู่ชุมชน เช่นพริกโดยเฉพาะมะเขือเทศนั้น ที่นี่เป็นแหล่งผลิตใหญ่มาก และส่งไปขายทั่วทั้งพม่า นำเงินทองกลับมา จนใครๆอิจฉา ด้วยเหตุที่ชาวอินทา รวยกว่าชนเผ่าอื่นๆในจำนวน 126 ชนเผ่าในรัฐฉานของพม่าชนิดเทียบกันไม่ติด แถม ยังมีฐานะทางเศรษฐกิจดีกว่าชาวพม่า จนเป็นชนเผ่าเดียวในประเทศพม่าที่สามารถจ้างชาวพม่ามาเป็นลูกจ้างเก็บใบ ยาสูบ และทำงานในสวนผัก ในขณะที่ชนเผ่าอื่นต้องไปเป็นลูกจ้างของชาวพม่าเสียเป็นส่วนมาก
ภูมิปัญญา ของชาวอินทา น่ายกย่องและชื่นชม ในการต่อสู้ พลิกเกมที่ดูเหมือนจะเป็นข้อด้อย ให้แปรเปลี่ยนมาเป็นข้อดี ส่งเสริมชีวิตและความเป็นอยู่ของพวกเขาให้ดีขึ้น
ทำนา บนหลังคน” … หมู่บ้าน ชาวอินทามีวัว ควาย ที่ใช้งานหลากหลายประเภทอยู่มาก และเป็นภาพชีวิตชนบทที่งดงาม ชวนให้กดชัตเตอร์กล้องอย่างไม่ยั้งอยู่บ่อยๆ หากแต่ในบางกรณี ภาพการใช้แรงคนไถนา ยังพอมีให้เห็น
ฉันไม่รู้เหตุผลแน่ชัด ได้แต่นึกฉงน แต่เดาเอาว่าคงใช้ควายไถนาไม่ได้ในบริเวณนี้ แปลกตาดีค่ะ
 
แผนที่


ดู ชาวน้ำ ทะเลสาบอินเล พม่า ในแผนที่ขนาดใหญ่กว่า

วันอังคารที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2557

ป่าคำชะโนด จ.อุดรธานี Thailand ไทย

ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9B%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%B3%E0%B8%8A%E0%B8%B0%E0%B9%82%E0%B8%99%E0%B8%94




ป่าคำชะโนด หรือ เมืองชะโนด หรือ วังนาคินทร์คำชะโนด ตั้งอยู่ในพื้นที่ 3 ตำบล คือ ตำบลวังทอง, ตำบลบ้านม่วง และตำบลบ้านจันทร์ ใน อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี เป็นป่าที่มีลักษณะเหมือนเกาะขึ้นอยู่กลางทุ่งนา เต็มไปด้วยต้นชะโนด ซึ่งเป็นพืชจำพวกปาล์ม ความยาวประมาณ 200 เมตร[1] ป่าคำชะโนดเป็นสถานที่ ๆ ปรากฏในตำนานพื้นบ้าน เป็นสถานที่ ๆ เชื่อว่า เป็นที่สิงสถิตของพญานาคและ สิ่งลี้ลับต่าง ๆ บ่อยครั้งที่ชาวบ้านในละแวกนั้นจะพบเห็นชาวเมืองชะโนดไปเที่ยวงานบุญพระเวท รวมถึงหญิงสาวที่มายืมเครื่องมือทอผ้าอยู่เป็นประจำ และเมื่อเกิดเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ในที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง รวมถึงที่อำเภอบ้านดุง แต่น้ำก็ไม่ท่วมบริเวณคำชะโนด เมื่อระดับน้ำลดลง คำชะโนดก็ยังคงอยู่เช่นเดิม

ตำนาน

ตามตำนานได้กล่าวไว้ว่า มีพญานาคอยู่ สองตนได้ปกครองเมืองหนองกระแส โดยครึ่งหนึ่งเป็นของ สุทโธนาค (พญาศรีสุทโธ) ส่วนอีกครึ่งหนึ่งเป็นของ สุวรรณนาค ทั้งสองปกครองเมืองอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข แต่มีข้อตกลงกันอยู่ว่า ถ้าเมื่อฝ่ายใดออกไปล่าสัตว์หาอาหาร อีกฝ่ายหนึ่งจะต้องไม่ไป เนื่องจากเกรงว่าจะเกิดการกระทบกระทั่งกัน และเมื่อฝ่ายที่ออกไปล่าสัตว์หาอาหารมาได้นั้น ให้นำมาแบ่งกันอย่างละครึ่ง
เมื่อถึงคราวสุวรรณนาคได้ออกไปล่าสัตว์หาอาหารได้เนื้อช้างมา จึงนำเนื้อช้างที่ได้แบ่งให้สุทโธนาค พร้อมทั้งนำขนของช้างไปยืนยันว่าเป็นเนื้อช้างจริง อีกครั้งที่สุวรรณนาคออกไปล่าสัตว์หาอาหารอีก ครั้งนี้ได้เม่นมาเป็นอาหาร จึงได้นำเนื้อเม่น และขนของเม่นไปมอบให้แก่สุทโธนาคเหมือนเช่นเคย แต่สุทโธนาคกลับแสดงความไม่พอใจ เพราะเมื่อดูจากขนของเม่นที่มีขนาดใหญ่กว่าขนของช้าง ปริมาณเนื้อที่ได้ก็ควรมีมากกว่าเนื้อของช้าง แต่ปริมาณเนื้อนั้นกลับมีน้อยกว่ามากนัก จึงคิดว่าสุวรรณนาคไม่มีความซื่อสัตย์ ฝ่ายสุวรรณนาคพยายามอธิบายอย่างไรก็ไม่เป็นผล จึงเกิดสงครามระหว่างสุทโธนาค และสุวรรณนาค
พระอินทร์ได้ทราบเรื่อง จึงหาวิธีการที่จะทำให้พญานาคทั้งสองนั้นหยุดทำสงครามกัน โดยให้พญานาคทั้งสองสร้างแม่น้ำขึ้นคนละสาย ถ้าใครสร้างได้ถึงทะเลก่อนจะให้ปลาบึกขึ้น อยู่ในแม่น้ำนั้น เมื่อได้ยินเช่นนั้น สุทโธนาคก็ได้สร้างแม่น้ำมุ่งไปทางทิศตะวันออกของหนองกระแส และด้วยความที่สุทโธนาคมีนิสัยใจร้อน เมื่อพบเจอภูเขากั้นทางแม่น้ำก็จะทำการหลบหลีก โค้งไปโค้งมา จึงเกิดเป็น แม่น้ำโขง (โค้ง) ส่วนทางฝ่ายสุวรรณนาคนั้น ได้ทำการสร้างแม่น้ำขึ้นทางทิศใต้ของหนองกระแส สุวรรณนาคมีความละเอียด และใจเย็น แม่น้ำที่สร้างขึ้นจึงมีความตรงกว่าแม่น้ำทุกสาย ได้แก่ แม่น้ำน่าน
สุทโธนาคเป็นผู้ที่สร้างแม่น้ำได้เสร็จก่อน จึงมีปลาบึกขึ้นอยู่ในแม่น้ำโขงเพียงแห่งเดียว และเมื่อเป็นเช่นนั้น สุทโธนาคก็ได้ขอทางขึ้น-ลง ระหว่างเมืองบาดาล กับเมืองมนุษย์ไว้อีก 3 แห่ง หนึ่งในนั้นก็คือ คำชะโนด ซึ่งมีต้นชะโนดขึ้น เป็นสัญลักษณ์ ให้สุทโธนาค พร้อมบริวารสามารถกลายร่างเป็นมนุษย์ (พญาศรีสุทโธ) และตั้งบ้านเมืองปกครองอยู่ที่คำชะโนดได้เมื่อข้างขึ้น 15 วัน อีก 15 วันข้างแรม ให้กลายเป็นนาค อาศัยอยู่เมืองบาดาล (พญานาคราชศรีสุทโธ)[2]

เรื่องราวในสังคม

เรื่องราวของวังนาคินทร์คำชะโนด หรือ ป่าคำชะโนด กลายเป็นข่าวคราวโด่งดังขึ้นมาในช่วงเดือนเมษายน พ.ศ. 2543 เมื่อปรากฏว่ามีกลุ่มบุคคลที่อ้างว่าสามารถบันทึกวิดีโอภาพของเปรตและรุกขเทวดาได้ที่ป่าแห่งนี้ ก่อนที่ความจะแตกว่าเป็นเรื่องหลอกลวง[3]
แต่จากนั้น เรื่องราวความลี้ลับในป่าคำชะโนดก็กลายเป็นที่รับรู้และสนใจของคนในสังคม ทั่วไป จนหนึ่งในเรื่องเล่าเกี่ยวกับอาถรรพ์ของสถานที่แห่งนี้ได้กลายเป็นภาพยนตร์ในปี พ.ศ. 2550 เรื่อง ผีจ้างหนัง นำแสดงโดย อชิตะ ปราโมช ณ อยุธยา และภัครมัย โปรตระนันท์[4]


ที่มา http://hilight.kapook.com/view/17125
ที่แห่งนี้คือป่าศักดิ์สิทธิ์ ป่าลี้ลับ ป่าอาถรรพ์และคือป่าที่มีตำนาน ที่ชาวไทยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และชาวลาวให้ความนับถือ เพราะเชื่อกันว่าเป็นที่ตั้งของเมืองนาคินทร์ และวังพญานาค ต้นตำนานแม่น้ำโขง เป็นป่าที่มีความน่าสนใจในแง่พฤกษศาสตร์ ที่โลกต้องทึ่ง!!! กับต้นคำชะโนดที่มีอายุนับหลายร้อยปี และมีอยู่ที่เดียว ณ ป่าคำชะโนด
           บนพื้นที่ราว 20 ไร่ ณ ต.วังทอง อ.บ้านดุง จ.อุดรธานี คือ ที่ตั้งของ ป่าคำชะโนด ที่ตั้งตามลักษณะภูมิประเทศ เนื่องจากบริเวณนั้นมีต้นชะโนด (อยู่ในตระกูลเดียวกับปาล์ม คล้ายๆ ต้นตาล ต้นหมาก หรือไม่ก็ต้นมะพร้าว แต่สูงกว่า) ขึ้นอยู่อย่างหนาแน่น มองไปทางไหนก็เห็นแต่ทิวชะโนดสูงเด่นเป็นสง่า ปี 2520 เป็นครั้งแรกที่ชาวบ้านได้ทำการสำรวจจำนวนต้นชะโนดในป่าแห่งนี้ มีอยู่ราว 2,000 กว่าต้น จนมาถึงปี 2544 ชาวบ้านสำรวจอีกครั้งพบว่าต้นชะโนดลดลงเหลือเพียง 1,865 ต้น ถึงกระนั้นที่นี่ยังคงความเย็นชื้นและให้บรรยากาศวังเวงเหมือนเดิม แต่ ที่น่าแปลกใจคือ หากพ้นจากดงชะโนดแห่งนี้ไป ห่างกันแค่ไม่ถึง 300 เมตร ก็ไม่มีต้นชะโนดปรากฏให้เห็นแม้แต่ต้นเดียว นี่เองจึงทำให้ผืนดินราว 20 ไร่ ถูกตั้งฉายาให้เป็นป่าแห่งชะโนดขนานแท้ 
           "เคยมีคนคิดเอาต้นชะโนดไปปลูกที่อื่นนะ แต่ไม่นานก็ต้องเอากลับมาคืนที่เดิม เพราะชีวิตการงานไม่ก้าวหน้า ชีวิตครอบครัวมีแต่ความเดือดร้อน ขนาดว่าแค่เอาเมล็ด หรือส่วนใดส่วนหนึ่ง อาจจะเป็นใบแห้งๆ ออกจากป่า สุดท้ายต้องเอามาคืนกันหมด" ทองอินทร์ ปักเสติ ชาวบ้านโนนเมือง ซึ่งมีบ้านอยู่ใกล้ๆ กับป่าคำชะโนด กล่าว
           อย่างไรก็ตามผืนป่าแห่งนี้กลายเป็นสถานที่เลื่องชื่อชั่วข้ามคืน เพราะเรื่องเล่า "ผีจ้างหนังที่คำชะโนด" (คนอีสานเรียก ผีบังบด หรือเมืองลับแล ไม่สามารถมองเห็นได้ทั่วไป นอกเสียจากว่าจะมีอะไรดลใจให้เห็น) …. โดยเมื่อปี พ.ศ.2532 ธงชัย แสงชัย เจ้าของบริษัทหนังเร่ดังกล่าว ได้เล่าว่า ตนเองถูกว่าจ้างจากใครคนหนึ่งให้ไปฉายหนังกลางแปลงที่งานวัด ที่หมู่บ้านวังทอง แถวป่าคำชะโนด ด้วยจำนวนเงิน 4,000 บาท แต่มีข้อแม้คือ ต้องฉายจบแค่ตี 4 ของวันใหม่ และให้ออกจากหมู่บ้านก่อนฟ้าสาง โดยห้ามหันหลังกลับมามอง... 

           หลังจากที่วางเงินมัดจำเสร็จ เจ้าของหนังก็จัดแจงเตรียมของอุปกรณ์สัมภาระ ฟิล์มหนังที่จะนำไปฉาย ไปกับลูกน้องอีก 4 รวมเป็น 5 คน โดยขึ้นรถบรรทุก 6 ล้อมีหลังคา ออกจากตัวจังหวัดบ่ายแก่ ๆ ขับรถเข้าไปแถวป่าคำชะโนดก็เริ่มมืด ยิ่งขับไปทางเส้นทางตามที่ผู้ว่าจ้างบอกก็ไม่เห็นว่าจะเจอหมู่บ้านหรือคนที่ จะมารับ จึงนึกว่าหลงกัน ระหว่างจอดรถว่าจะย้อนกลับไปดีหรือไม่ ก็มีผู้หญิง 2 คนใส่ชุดดำมาร้องเรียกว่าจะนำไปที่วัด คนขับที่เป็นเจ้าของหนังก็รับขึ้นรถ แต่แกก็สงสัยว่า 2 คนนี้โผล่มาจากไหนในที่มืดๆ อย่างนี้ พาหนะอะไรก็ไม่มี 

           เมื่อขับเข้าไปในหมู่บ้านก็ยิ่งให้ชวนสงสัยใหญ่ว่า ทำไมไม่มีเสียงลำโพงออกมาจากงานวัด ไม่มีเสียง หมอลำ หรือการละเล่นอะไรเลย พอไปถึงหมู่บ้านก็มีคนมารับ แต่ แปลกว่าทุกคนจะใส่เสื้อสีขาวกับดำ ถ้าเป็นผู้ชายใส่ชุดขาว ผู้หญิงใส่ชุดดำแยกให้เห็นชัดเจนแม้แต่เด็ก แต่ที่แปลกทุกคนจะทาหน้าขาวหมดเหมือนใช้ครีมพอกหน้า  

เมื่อถึงที่แล้วทุกคนก็เริ่มตั้งจอภาพยนตร์ เดินสายไฟ และเปิดเครื่องปั่นไฟ ระหว่างที่กำลังกุลีกุจอติดตั้งก็เริ่มเห็นผู้คนทยอยมานั่งดูหนัง แต่จะแยกชายหญิงชัดเจน ไม่นั่งรวมกัน และปกติของงานวัดจะต้องมีแม่ค้าแม่ขายมาขายน้ำ ขายถั่ว ขายปลาหมึกย่าง แต่ที่นี่กลับไม่มีแม่ค้าสักคน พอติดตั้งเสร็จก็เริ่มฉายหนัง หนังที่เอาไปฉายมี 4 เรื่อง เรื่องแรกเป็นหนังสงคราม เรื่องที่ 2 เป็นหนังตลกแอ็คชั่น เรื่องที่ 3 กับ 4 เป็นหนังผี ระหว่างฉายคนพากย์ก็พยายามพากย์ยิงมุกตลกๆ แต่ไม่มีใครหัวเราะหรือแสดงอารมณ์อย่างใดเลย ทั้งๆ ที่ก่อนหน้านี้ไปฉายที่ไหน คนก็จะหัวเราะตลอด 

           จนเริ่มฉายเรื่องที่ 3 ที่เป็นหนังผี สังเกตท่าทางคนที่มาดูเริ่มตั้งใจดู ทั้งที่บรรยากาศตอนนั้นก็เที่ยงคืนดูน่ากลัวมากๆ ระหว่างนั้นทางเจ้าภาพก็จัดข้าวต้มถ้วยเล็กมาให้ทีมงานฉายหนังกินกัน ทางทีมงานเห็นแล้วก็ละเหี่ยใจ มีแต่ข้าวต้มซีดๆ กะเนื้อชิ้นเล็กๆ แต่เพื่อไม่ให้เป็นการเสียน้ำใจ ทางทีมงานก็เลยกินกัน ปรากฎว่าเป็นข้าวต้มที่อร่อยที่สุดที่เคยกินกันมา หลังจากฉายหนังจบถึงตี 2 ผู้คนก็แยกย้ายกันกลับ แป๊บเดียวก็สลายไปหมด ไม่มีใครเหลืออยู่เลย ทางทีมงานก็เก็บอุปกรณ์ขึ้นรถ โดยมีผู้หญิงสองคนนั่งรถออกมาส่ง ก่อนจะร่ำลาก็จ่ายค่าจ้างที่เหลือซึ่งเป็นเงินเหรียญทั้งหมด พอออกมาส่งถึงปากซอยผู้หญิงสองคนนั้นลงจากรถ พอรถออกตัวคนขับที่เป็นเจ้าของหนังกลางแปลงหันกลับมาดูก็ไม่เห็นผู้หญิง 2 คนนั้นแล้ว 

           หลังจากกลับมาถึงบริษัท ธงชัย ก็เกิดความสงสัย จึงเช็คประวัติกับผู้ว่าจ้างที่ถ่ายเอกสารให้ตอนวางมัดจำ ก็พบตัวว่ามีชื่อนี้จริง แต่เจ้าตัวบอกว่าไม่เคยไปว่าจ้างใครไปฉายหนังตามวันและเวลาที่บอก เมื่อสงสัยจัดก็เลยสอบถามไปยังเจ้าอาวาสวัดที่เอาหนังไปฉาย ทางเจ้าอาวาสก็บอกว่าในวันนั้นที่วัดไม่ได้มีการจัดงานแต่อย่างใด แต่เจ้าอาวาสเล่าว่า ในคืนวันที่เจ้าของหนังมาบอกว่ามีการฉายหนัง ที่ป่าคำชะโนดจะมีเสียงซู่ๆ เหมือนกับมีพายุพัดเข้ามา ทั้งๆ ที่คืนนั้นไม่มีลมใหญ่พัดมาจากไหนเลย... (?!?)
           นอกจากจะมีเรื่องเล่าผีจ้างหนังที่ป่าคำชะโนดแล้ว ผืนป่าแห่งนี้ยังมีเรื่องน่าประหลาดอีกเรื่องคือ เวลา น้ำแล้งก็จะเห็นว่าดินเชื่อมต่อกันไม่มีอะไร แต่เวลาน้ำท่วม ที่ดินรอบๆ จะท่วมหมด แต่ปรากฏว่าป่านี้น้ำไม่ท่วม น้ำขึ้นสูงอย่างไรก็ไม่ท่วม ชาวบ้านจึงเชื่อว่า เกาะนี้ลอยน้ำได้ และเชื่อว่าที่เป็นเช่นนี้เพราะเจ้าที่เป็นคนทำไม่ให้ผืนป่าแห่งนี้จมน้ำ. . .


ขณะที่ ทองอินทร์ ปักเสติ ชาวบ้านโนนเมือง ซึ่งมีบ้านอยู่ใกล้ๆ กับป่าคำชะโนด ได้ย้อนถึงเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นในป่าคำชะโนดอีกหนึ่งเรื่องเล่าของป่า แห่งนี้ ซึ่งคนภายนอกฟังดูอาจ คิดว่าเป็นเรื่องอุปโลกน์ขึ้นมาเพื่อหลอกให้คนกลัวกันเล่นๆ สำหรับชาวบ้านที่อยู่มานานนมกลับเชื่อสนิทใจ ไม่ใช่นิทานปรัมปรา หรือนิยายประโลมโลก แต่นั่นคือแรงศรัทธาที่ชาวบ้านมีต่อป่าอันลี้ลับและเต็มไปด้วยเรื่องเล่า มากมาย … 
           เดิมทีคนท้องถิ่นจะเรียกที่นี่ว่า "วังนาคินทร์คำชะโนด" ที่มาก็คือมีบ่อน้ำอยู่กลางดงชะโนด เป็นบ่อน้ำขนาดเล็กๆ แต่กลับมีน้ำซึมออกมาตามธรรมชาติตลอดเวลา ทำให้ชาวบ้านเชื่อกันว่าบ่อน้ำประทานมาให้โดยพญานาคที่อาศัยอยู่ในบริเวณผืน ป่า สำหรับบ่อน้ำในป่าคำชะโนด ว่ากันว่าเป็นบ่อน้ำที่ความศักดิ์สิทธิ์อย่างมาก ชาวบ้านเชื่อกันอย่างนั้น มีหลายคนเคยลองอธิษฐานตรงหน้าบ่อน้ำก็ได้ตามประสงค์ บางคนเจ็บป่วยไปดื่มหรืออาบโรคร้ายก็หายเป็นปลิดทิ้ง สร้างความอัศจรรย์ใจยิ่งนัก แต่นั่นไม่ใช่ทุกคน อยู่ที่ความเชื่อมีมากน้อยแค่ไหน หลายคนไม่เชื่อแถมยังลบหลู่ ตักน้ำจากบ่อแล้วนำมาล้างเท้าแทนที่จะหายป่วยไข้กลับทุกข์ทรมานซ้ำหนักกว่า เดิม
 

           เช่นเดียวกับใครที่อยากจะเข้าไปสัมผัสป่าลี้ลับคำชะโนดก็ต้องสำรวมและปฏิบัติตามข้อห้ามอื่นๆ เป็นต้นว่า ห้ามใส่รองเท้าทั่วทั้งบริเวณป่า หมวก แว่นตา ร่ม เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ บุหรี่ ห้ามเด็ดขาด เพราะสิ่งเหล่านี้คือการดูถูกดูหมิ่นต่อผู้ปกปักรักษาผืนดิน             "แต่ก่อนห้ามใส่เสื้อสีแดงด้วย ไม่ได้เลยนะ ใครใส่เข้ามานี่เป็นเรื่อง อยู่ไม่ได้นานหรอก ต้องรีบออกไป ไม่รู้เพราะอะไร เหมือนท่านไม่ชอบ แต่พอหลวงปู่ (หลวงตาคำ สิริสุทโธ เจ้าอาวาสวัดศรีสุทโธ วัดละแวกป่าคำชะโนด) ได้ทำพิธีขอยกเว้นตอนหลังก็ใส่ได้" ทองหล่อ ตลิ่งชัน กำนันตำบลวังทอง กล่าว 

           ความเชื่อเรื่องพญานาคของคนที่นี่นั้นอาจไม่แตกต่างจากชาวหนองคายที่เชื่อ ว่าพญานาคมีจริง บั้งไฟพญานาคเกิดจากอิทธิฤทธิ์ของเจ้าแห่งเมืองบาดาล ไม่ใช่ฝีมือของมนุษย์ธรรมดาเหมือนเมื่อครั้งถูกนำเสนอผ่านหนัง รวมถึงสื่อทีวีบางช่องเมื่อหลายปีก่อนโน้น ชาวบ้านละแวกป่าคำชะโนดก็คล้ายกัน
พวก เขาสร้างทางเดินที่เชื่อมจากโลกภายนอกกับผืนป่าอันศักดิ์สิทธิ์เข้าไว้ด้วย รูปปั้นพญานาค 2 ตัว 7 เศียร นอนเลื้อยยาวไปจนสุดทางเดินราว 300 เมตร เพื่อสะท้อนถึงพลังอำนาจและบารมีของพญานาคราช 
          
กระทั่งในวันออกพรรษา ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ชาวบ้านก็มีความเชื่อว่าเป็นวันที่พญานาคจะขึ้นมาหายใจ ดวงไฟสีแดงที่ผุดกลางบ่อน้ำแล้วลอยขึ้นท้องฟ้า (คล้ายๆ กับบั้งไฟพญานาคผุดกลางลำน้ำโขงที่ จ.หนองคาย) นั่นละคือ ลมหายใจพญานาค โดยชาวบ้านเชื่อว่าใครเห็นจะเป็นบุญของชีวิตเลยทีเดียว
           ป่าคำชะโนด... ยังมีเรื่องเล่าอีกนับไม่ถ้วน ทั้งที่สร้างความรู้สึกชวนขนหัวลุก และตื่นเต้นเสียวสันหลัง เชื่อหรือไม่เชื่อนั้นแล้วแต่วิจารณญาณส่วนบุคคล หรือคุณจะลองไปพิสูจน์...?
 
 


แผนที่

ดู

วันอาทิตย์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

พระพุทธรูปที่ใหญ่ที่สุดในโลก อ่างทอง Thailand ไทย



พระพุทธรูปที่ใหญ่ที่สุดในโลก วัดม่วง จ.อ่างทอง
ประวัติความเป็นมา พระพุทธมหานวมินทร์ศากยมุนีศรีวิเศษชัยชาญ วัดม่วง (หลวงพ่อใหญ่)
หลวงพ่อเกษม อาจารสุโภ เป็นผู้วางศิลาฤกษ์ ด้วยตัวของท่านเอง เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2534 และต่อมา วันที่ 2 พฤษภาคม 2534 ได้ทำพิธีตอกลงเข็มเสาเอก หลวงพ่อเกษมเป็นประธานดำเนินการก่อสร้าง ร่วมกับลูกศิษย์และ ประชาชนผู้มีใจบุญทั้งหลาย เข้ามาร่วมกันก่อสร้างองค์พระ ทำให้ได้มีเงินทุนมากพอ ในการก่อสร้าง การหล่อหลอมสร้างองค์พระ ใช้วัสดุ อิฐ หิน ปูน ทราย หลวงพ่อใช้เงินทุกบาท ทุกสตางค์ จากผู้มาบริจาคในวัด เงินจากที่หลวงพ่อออกปฎิบัติกิจนิมนต์ เงินจากการทอดกฐิน ทอดผ้าป่า และงานบุญต่างๆในวัด และพร้อมด้วยคณะศิษย์ของหลวงพ่อ โดยหลวงพ่อได้ควบคุมการก่อสร้างเองมาตลอด มาระยะหลัง หลวงพ่อเกษมตรากตรำงานมาก จึงมีร่างกายอ่อนเพลีย ได้ให้หมดตรวจร่างกาย พบว่าเป็นมะเร็งที่ตับ จึงเข้ารับการรักษา ที่โรงพยาบาลศิริราช ตึก 84 ปี ชั้น 9 ห้อง 925 หมอได้ทำการรักษาไม่กี่เดือน ก็ได้มรณภาพลง เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2544 ศิริอายุได้ 54 ปี 6 เดือน 7 วัน
หลวงพ่อเกษม เคยสั่งบอกฝากกับลูกศิษย์ การก่อสร้างองค์พระ ให้ช่วยกันก่อสร้างต่อจากหลวงพ่อ ให้เสร็จ และหลวงพ่อเกษมได้ตั้งนามองค์พระเอาไว้ว่า “พระพุทธมหานวมินทร์ศากยมุนีศรีวิเศษชัยชาญ” พระนามนี้หลวงพ่อเกษมตั้งใจสร้างองค์พระนี้ เพื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่9 คณะลูกศิษย์หลวงพ่อเกษม ได้พร้อมใจรวมพลัง ช่วยกันสร้างร่วมกับ ประชาชนผู้มีจิตศรัทธาด้วย จนการก่อสร้างองค์พระ ได้เสร็จสมบูรณ์ เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2550 มีระยะเวลาการก่อสร้างรวมประมาณ 16 ปี และวัดหน้าตักองค์พระได้ 63.05 เมตร ความสูงจากฐานองค์พระ ถึงยอดเกศา วัดได้ 95 เมตร ใช้เงินประมาณ 104,261,089.65 บาท

แผนที่

ดู วัดม่วง ในแผนที่ขนาดใหญ่กว่า

หลวงพ่อใหญ่ พระพุทธรูปยืน สูงที่สุดในโลก ร้อยเอ็ด Thailand ไทย



พระพุทธรัตนมงคลมหามุนี หรือ “หลวงพ่อใหญ่”
พระพุทธรูปยืนปางประทานพรที่สูงที่สุดในประเทศไทยและสูงที่สุดในโลก
วัดบูรพาภิราม (พระอารามหลวง) ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ร้อยเอ็ด


“พระพุทธรัตนมงคลมหามุนี” หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า “หลวงพ่อใหญ่”
เป็นพระพุทธรูปยืนปางประทานพร บุด้วยกระเบื้องโมเสกสีเนื้อ แลเห็นเด่นชัด
ศิลปะแบบพื้นบ้าน องค์พระรวมฐานแล้วมีความสูงทั้งสิ้น ๖๗.๕๕ เมตร
เป็นพระพุทธรูปยืนองค์สูงที่สุดในประเทศไทยและสูงที่สุดในโลก
นำพาการก่อสร้างโดยพระราชปรีชาญาณมุนี (พุทธา สิริวุฑฺโฒ)

อดีตเจ้าอาวาสวัดบูรพาภิรามรูปที่ ๕ และอดีตเจ้าคณะจังหวัดร้อยเอ็ด (มหานิกาย)
พระนักพัฒนา พระผู้ศรัทธาการก่อสร้างศาสนสถานและปูชนียสถานต่างๆ
โดยประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๒ ใช้ระยะเวลาในการก่อสร้าง ๘ ปี
สิ้นงบประมาณค่าก่อสร้างองค์พระเป็นจำนวนประมาณ ๗,๐๒๓,๕๗๙.๗๕ บาท

“พระพุทธรัตนมงคลมหามุนี” หรือ “หลวงพ่อใหญ่” เริ่มสร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๔
เสร็จสิ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๒ สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก ติดกระเบื้องโมเสกสีเนื้อ
ด้านหลังซึ่งเป็นฐานพิงขององค์พระนั้น มี พระเจดีย์ ขนาดความสูง ๙ เมตร
ซึ่งภายในประดิษฐาน พระบรมสาริกธาตุ ที่อัญเชิญมาจากประเทศอินเดีย
โดยฐานพระพุทธรูปยืนองค์นี้เป็น ห้องพิพิธภัณฑ์ จำนวนหลายห้อง

ความสูงขององค์พระวัดจากพระบาทถึงยอดเกศสูงถึง ๕๙.๒๐ เมตร
โดยมีความสูงทั้งหมดรวมฐานขององค์พระ สูงทั้งสิ้น ๖๗.๕๕ เมตร
นอกจากนี้ “พระพุทธรัตนมงคลมหามุนี” หรือ “หลวงพ่อใหญ่”
ยังเป็นสัญลักษณ์ประจำจังหวัด และปรากฏอยู่เป็นหนึ่งในคำขวัญ
ของเมืองร้อยเอ็ดด้วย ในวรรคที่ว่า
“เรืองนามพระสูงใหญ่”

ในปี พ.ศ. ๒๕๔๔ พระราชธรรมโสภณ (จำปี จนฺทธมฺโม)
เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ พระสิริวุฒิเมธี อดีตเจ้าอาวาสวัดบูรพาภิรามรูปที่ ๖
และอดีตเจ้าคณะจังหวัดร้อยเอ็ด (มหานิกาย) ได้ดำเนินการบูรณปฏิสังขรณ์
พระพุทธรัตนมงคลมหามุนีหรือหลวงพ่อใหญ่ โดยกะเทาะกระเบื้องโมเสกที่ชำรุดลง
ฉาบปูนใหม่ทั้งองค์ และทาองค์พระด้วยสีทอง พร้อมทั้งบูรณะกำแพงแก้วรอบองค์พระ
สิ้นงบประมาณค่าใช้จ่ายรวมเป็นเงินทั้งสิ้นจำนวน ๒,๗๕๐,๐๐๐ บาท

พุทธลักษณะของพระพุทธรูปยืนปางประทานพรองค์นี้ ค่อนข้างสูงชะลูด
มองดูไม่ได้สัดส่วนสมจริง สันนิษฐานว่าออกแบบก่อสร้างโดยช่างท้องถิ่น
สร้างขึ้นจากแรงศรัทธาต่อพระพุทธศาสนามากกว่าจะเน้นความสวยงามขององค์พระ
เป็นความวิริยะอุตสาหะอย่างสูงของ พระราชปรีชาญาณมุนี (พุทธา สิริวุฑฺโฒ)
ที่เป็นผู้ริเริ่มการก่อสร้างพระยืนสูงที่สุดองค์นี้ให้เป็นศรีสง่าแก่เมืองร้อยเอ็ดสืบต่อไป

“วัดบูรพาภิราม” ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด
เลขที่ ๕๕๙ ถนนผดุงพานิช ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด
เดิมเป็นวัดเก่าแก่ ติดคูเมืองเก่าด้านตะวันออกของจังหวัดร้อยเอ็ด
สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ
สร้างขึ้นประมาณ พ.ศ. ๒๓๔๐ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๑
วัดบูรพาภิรามได้ก่อสร้างพระอุโบสถหลังใหม่ขึ้น เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๐
เขตวิสุงคามสีมา มีความกว้าง ๔๐ เมตร ยาว ๘๐ เมตร
ได้รับการยกฐานะจากวัดราษฎร์เป็นพระอารามหลวง เมื่อวันที่ ๒๙ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๑
วัดมีเนื้อที่ทั้งหมด ๒๙ ไร่ ๓ งาน ๙๗ ตารางวา โฉนดที่ดินเลขที่ ๑๗๗๙

ปัจจุบันพุทธศาสนิกชนทั้งชาวร้อยเอ็ดและในจังหวัดใกล้เคียง
จะเดินทางมาทำบุญ กราบไหว้ ขอพรและบนบาน ในแต่ละวันไม่ขาดสาย
เนื่องจากแทบทุกคนล้วนประสบความสำเร็จสมหวังด้วยกันแทบทั้งสิ้น
ทั้งนี้ ยังมีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศมาเที่ยวชมวันละกว่า ๑,๐๐๐ คน

วัดบูรพาภิราม เดิมชื่อ วัดหัวรอ เพราะเป็นสถานที่สำหรับรวมแขกคนในสมัยนั้น
ประชาชนส่วนใหญ่นิยมติดต่อค้าขายกับต่างเมือง พาหนะในการเดินทางยังไม่มี
นิยมเดินกันเป็นส่วนใหญ่ เรียกว่าค่ำไหนนอนนั่น
วัดหัวรอ จึงเป็นจุดแรกที่พ่อค้าวาณิชจะนัดพบกันและพักแรม
ในคืนแรกของการเดินทาง ก่อนที่จะออกเดินทางไปค้าขายยังต่างเมือง
ดังนั้น วัดแห่งนี้จึงถูกเรียกกันติดปากของคนสมัยนั้นว่า วัดหัวรอ
ซึ่งหมายถึงการรอคอยก่อนที่จะออกเดินทางต่อไป

ในสมัย พระอธิการหล้า อินฺทวํโส (เจ้าอาวาสรูปแรกของวัดบูรพาภิราม)
ท่านได้ขยายเนื้อที่วัดเพิ่มจากที่แห่งเดิม เพื่อให้อาณาบริเวณกว้างขวางยิ่งขึ้น
รวมทั้ง ได้เปลี่ยนชื่อวัดใหม่ให้สมกับที่ตั้งว่า วัดบูรพา
ด้วยเหตุที่ว่าวัดตั้งอยู่ในทางทิศตะวันออกของเมือง เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๖
ในเวลาต่อมาได้เปลี่ยนชื่อวัดใหม่อีกครั้ง โดยเพิ่มสร้อยต่อชื่อวัด
เพื่อความเหมาะสมยิ่งขึ้นว่า “วัดบูรพาภิราม” และใช้ชื่อนี้เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
ปัจจุบันมี พระสุขุมวาทเวที (สถาพร โชติธมฺโม) เป็นเจ้าอาวาส

ด้านทิศตะวันออกของบริเวณวัดบูรพาภิรามที่อยู่ติดกับคูรอบเมืองสมัยเก่า
เป็นที่ตั้งของ ศาลเจ้าพ่อมเหศักดานุภาพ ซึ่งชาวเมืองร้อยเอ็ดเคารพนับถือมาก

พุทธศาสนิกชนท่านใดอยากได้ในสิ่งที่ปรารถนา
เชิญมานมัสการและกราบขอพรจากพระพุทธรัตนมงคลมหามุนี
หรือหลวงพ่อโต เพื่อความเป็นสิริมงคลให้สมดังปรารถนา 


แผนที่

ดู วัดบูรพาภิราม (พระอารามหลวง) ในแผนที่ขนาดใหญ่กว่า

หลวงพ่อโต ปางยืนสูงที่สุดในโลก Bangkok กรุงเทพฯ Thailand ไทย




“หลวงพ่อโต” หรือ “พระศรีอริยเมตไตรย” เป็นพระพุทธรูปยืนปางอุ้มบาตรที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ผินพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก มีความสูงตั้งแต่พื้นถึงยอดเกตุ 16 วา หรือประมาณราว 32 เมตร ความกว้าง 5 วา 2 ศอก สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) เป็นผู้ริเริ่มก่อสร้างพระพุทธรูปองค์นี้ขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 แต่เมื่อสร้างไปได้ถึงเพียงพระนาภี หรือบริเวณสะดือขององค์พระพุทธรูป สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ก็ได้มรณภาพลงเสียก่อน การก่อสร้างจึงได้หยุดชะงักอยู่ครู่หนึ่ง ก่อนจะดำเนินต่อมาอีกถึง 60 ปี ก่อนที่การสร้างหลวงพ่อโตหรือพระศรีอริยเมตไตรยองค์นี้ จะแล้วเสร็จสิ้นลงในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7

แผนที่

ดู วัดอินทรวิหาร (พระอารามหลวง) ในแผนที่ขนาดใหญ่กว่า

วันอาทิตย์ที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2557

สะพานมอญ สะพานไม้อุตตมานุสรณ์ กาญจนบุรี Thailand ไทย






ชื่อแหล่งท่องเที่ยว :  สะพานไม้อุตตมานุสรณ์
ประเภทสถานที่ท่องเที่ยว :  ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก
สถานที่ตั้ง :  ม.2 ต.หนองลู
หมายเลขติดต่อสอบถาม : 
latitude :  15.14
longitude :  98.45
รายละเอียด :  สะพานมอญ อยู่ในตัวอำเภอสังขละบุรี เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า สะพานอุตตมานุสรณ์ เป็นสะพานไม้ที่ยาวที่สุดในประเทศไทย มีความยาวถึง 432 เมตร สร้างจากแรงศรัทธาหลวงพ่ออุตตมะ สำหรับให้ประชาชนฝั่งตัวอำเภอสังขละบุรี และฝั่งหมู่บ้านชาวมอญ เดินข้ามสัญจรไป ? มา บริวณทะเลสาบแห่งนี้ เป็นจุดชมวิวทะเลสาบที่สวยงามสามารถมองเห็นลำน้ำสายต่างๆ คือ ซองกาเลีย บีคลี่ และรันตี ที่ไหลมารวมบรรจบกันเป็นแม่น้ำสามประสบ
การเดินทาง :  1. นั่งรถทัวร์เส้นทางกรุงเทพฯ - ด่านเจดีย์สามองค์ ที่สถานีขนส่งสายเหนือ(หมอชิต 2) 2. นั่งรถทัวร์หรือรถตู้ เส้นทางกรุงเทพฯ - กาญจนบุรี แล้วต่อรถไปสังขละบุรี นั่งรถตู้จากแถวๆห้างเซ็นจูรี่ อนุสาวรีย์ชัยฯ หรือจากสายใต้ใหม่ ไปลงที่สถานีขนส่งจังหวัดกาญจนบุรี จากนั้น ต่อรถไปสังขละบุรี โดยขึ้นรถบัสหรือรถตู้โดยสารปรับอากาศ เส้นทางกาญจนบุรี-สังขละบุรี ของบริษัท เอเซียไทรโยคเดินรถ จำกัด หรือจะนั่งรถไม่มีแอร์ สายกาญจนบุรี - ทองผาภูมิ - สังขละบุรี

แผนที่

ดู สะพานมอญ หรือ สะพานไม้อุตตมานุสรณ์ ในแผนที่ขนาดใหญ่กว่า

วันเสาร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2557

แก่งไก่เขี่ย อุบลราชธานี Thailand ไทย






แก่งนี้จะเห็นได้ในหน้าแล้งตั้งแต่เดือน พฤศจิกายน - พฤษภาคม
   แก่งไก่เขี่ย ตั้งอยู่ในเขตหมู่ที่ 5 บ้านแก่งเจริญ ตำบลกุดชมภู อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี
   ความสำคัญแก่งไก่เขี่ย ลักษณะเป็นแก่งหินขนาดใหญ่ตั้งขวางลำน้ำมูล ห่างจากแก่ง ไปทางทิศใต้ประมาณ 3,000 เมตร แก่งนี้จะเห็นได้ในหน้าแล้งตั้งแต่เดือน พฤศจิกายน - พฤษภาคม ของทุกปี มีแปวหรือร่องน้ำสำคัญอยู่ 2 แปว คือ แปวใหญ่และแปวน้อย แปวใหญ่เป็นร่องน้ำลึกอยู่ติดฝั่งด้านทิศเหนือทางตำบลโพธิ์ศรี มีน้ำไหลแรง เรือขนาดใหญ่ขึ้นล่องได้ตลอดปี แปวน้อยอยู่กึ่งกลางแก่งมีร่องน้ำคดเคี้ยวมีก้อนหินระเกะระกะยากแก่การเดิน เรือขึ้นล่อง ทั้งแก่งและข้างแปวน้ำจะมีต้นไคร้ขึ้นอยู่ทั่วไป ต้นไคร้เป็นไม้น้ำ ต้นแตกเป็นพุ่ม สูงประมาณ 1 - 3 เมตร มีใบเรียวแหลม ดอกเป็นสีขาว รับประทานได้
   ข้างแปวน้อยมีหินขนาดใหญ่อยู่ 3 ก้อน ในแต่ละก้อนมีรอยจำหลักเกลี้ยงเกลางดงาม เหมือนลักษณะอักษรลิ่ม จำนวนทั้งสิ้น 97 รอย คนโบราณเชื่อว่าเป็นรอยไก่(ร่องรอยเท้าสัตว์โบราณ) คุ้ยเขี่ยหาอาหาร จึงเรียกชื่อแก่งไก่เขี่ยมาตั้งแต่โบราณกาล
กรมศิลปากรได้ส่งเจ้าหน้าที่มาตรวจสอบเมื่อปี 2527 สันนิษฐานว่าเป็นรอยลับอาวุธของคนโบราณ
   ก่อนจะลงแก่งมีศาลปู่ตามาแต่โบราณเรียกศาลเจ้าปู่หลวงอุดม ผู้คนให้ความเคารพยำเกรงมาก เมื่อปี 2546 ทางราชการได้พัฒนา สถานที่ลงแก่งเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ และเป็นที่ทำการของ อบต. กุดชมภู ผู้คนให้ความสนใจมาเที่ยวชมไม่ขาด


แผนที่

View แก่งไก่เขี่ย in a larger map

yengo ad

BumQ