Right Up Corner

ad left side

วันพุธที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2555

มหาสถูป บุโรพุทโธ บรมพุทโธ Chandi Borobudur อินโดนีเซีย Indonesia

ไฟล์:Borobudur-Nothwest-view.jpg
มหาสถูปบุโรพุทโธ หรือ บรมพุทโธ (ภาษาอินโดนีเซีย: Chandi Borobudur) เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงของประเทศอินโดนีเซีย ตั้งอยู่ในภาคกลางของเกาะชวา ห่างจากยอกยาการ์ตาไปทางตะวันตกเฉียงเหนือราว 40 กิโลเมตร สร้างขึ้นระหว่างปี พ.ศ. 1293 - 1393 โดยบุโรพุทโธเป็นศาสนสถานของศาสนาพุทธนิกายมหายาน ถ้าไม่นับนครวัดของกัมพูชาซึ่งเป็นทั้งศาสนสถานของศาสนาพราหมณ์-ฮินดูและศาสนาพุทธ บุโรพุทโธจะเป็นศาสนสถานของศาสนาพุทธที่ใหญ่ที่สุดในโลก

บุโรพุทโธถูกสร้างขึ้นโดยกษัตริย์แห่งราชวงศ์ไศเลนทร เป็นสถูปแบบมหายาน สันนิษฐานว่าสร้างราวคริสต์ศตวรรษที่ 7-9 หรือ พุทธศักราช 1393 ตั้งอยู่ทางภาคกลางของเกาะชวา บนที่ราบเกฑุ ทางฝั่งขวาใกล้กับแม่น้ำโปรโก ห่างจากยอกยาการ์ตา ทางตะวันตกเฉียงเหนือ 40 กิโลเมตร บุโรพุทโธสร้างด้วยหินภูเขาไฟประมาณ 2 ล้านตารางฟุตบนฐานสี่เหลี่ยม กว้างด้านละ 121 เมตร สูง 403 ฟุต เป็นรูปทรงแบบปิรามิด มีลานเป็นชั้งลดหลั่นกัน 8 ชั้น และใน 8 ชั้นนั้น 5 ชั้นล่างเป็นลาน 4 เหลี่ยม 3 ชั้นบนเป็นลานวงกลม และบนลานกลมชั้งสูงสุดมีพระสถูปตั้งสูงขึ้นไปอีก 31.5 เมตร เป็นมหาสถูปที่ระเบียงซ้อนกันเป็นชั้นๆลดหลั่นกันไป

แผนที่

View บุโรพุทโธ Borobudur in a larger map

วันพุธที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ลายเส้นแห่งนาสก้า Lines of NASCA เปรู Peru

ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%8B%E0%B8%81%E0%B8%B2








เส้นนัซกา (อังกฤษ: Nazca Lines) เป็นลายเส้นลึกลับที่กินอาณาเขตพื้นที่กว่า 520 ตารางกิโลเมตรบนทะเลทรายนัซกา ระหว่างเมืองนัซกากับเมืองปัลปาในแคว้นอีกา ประเทศเปรู สันนิษฐานว่าชาวนัซกาโบราณ (ซึ่งครอบครองดินแดนเปรูมาก่อนยุคจักรวรรดิอินคา) ขุดลายเส้นเหล่านี้ขึ้นเมื่อประมาณ 200 ปีก่อนคริสตกาลถึงประมาณปี ค.ศ. 500 ชาวนัซกาโบราณเป็นเกษตรกรเพาะปลูกอยู่บนที่ราบชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก ไม่ได้ทิ้งหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษรไว้เลย ที่พอจะเข้าใจได้บ้างก็มาจากการศึกษาสุสานและข้าวของเครื่องใช้ในหลุมฝังศพเท่านั้น ซึ่งไม่ทราบแน่ชัดว่าเพราะเหตุใดพวกเขาจึงทำลวดลายเหล่านี้ขึ้น
ลายเส้นนัซกาที่ทำขึ้นเป็นแบบวิธีเดียวกันหมด คือ ขุดเอาหินทรายสีแดงบนพื้นผิวทะเลทรายออก แล้วเปิดให้เห็นชั้นหินสีเหลืองอ่อนที่อยู่ข้างใน ไม่มีร่องรอยการใช้สัตว์ช่วยแม้แต่น้อย และภาพเป็นเส้นเดียวไม่ขาดตอน ภาพของลายเส้นนัซกาแบ่งออกเป็นสองกลุ่มใหญ่ ๆ คือภาพที่เป็นรูปทรงและภาพที่เป็นเส้นลายเฉย ๆ มีภาพสัตว์ นก รูปเรขาคณิต เป็นต้น
เส้นนัซกาได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกในปี พ.ศ. 2537
แผนที่
View ลายเส้นแห่งนาสก้า Lines of NASCA in a larger map

วันจันทร์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2555

ช้างไถนา เชียงใหม่ สุรินทร์ ไทย Thailand

ภาคเอกชนเชียงใหม่จัดแสดงช้างไถนาเชิญชวนนักท่องเที่ยวสัมผัสของจริงที่อำเภออมก๋อย


การไถนาโดยช้างแห่งเดียวในเมืองไทยให้เป็นที่ รู้จักอย่างกว้างขวางตามภูมิปัญญาดั้งเดิมของบรรพบุรุษชาวกะเหรี่ยงบ้านนา เกียน อำเภออมก๋อย ยังคงปรากฏให้เห็นอยู่ และสืบทอดสู่รุ่นลูกหลานในปัจจุบัน ในช่วงประมาณเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม ของทุกปี

ภาคเอกชน จ. เชียงใหม่ นำโดยนางวันเพ็ญ ศักดาทร ผู้บริหารบ้านแสนดอยรีสอร์ท แอนด์สปา ห้องอาหาร แสนคำเทอเรซและนายฮาเก็น เอ.เว เดียร์คเซิน กงสุลกิตติมศักดิ์สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันนี นายเศรษฐพล จินดานนท์ ผู้อำนวยการภูมิภาคภาคเหนือ พร้อมด้วยนายเฉลิมศักดิ์ สุรนันท์ ผู้อำนวยการ ททท. สำนักงานเชียงใหม่ และนางอัญชลี กัลมาพิจิตร ปางช้างแอลลี่ นำช้าง ๘ เชือก แสดงการไถนาบนพื้นที่ ๘ ไร่ เมื่อวันที่ ๘ เดือน ๘ เวลา ๐๘.๐๘ น. โดยมีนายพระนาย สุวรรณรัฐ ผู้อำนวยการศูนย์บริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ อดีตนายอำเภออมก๋อย จัดกิจกรรมช้างไถนาเพื่อสืบสานภูมิปัญญาบรรพบุรุษชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยง และส่งเสริมการท่องเที่ยวของอำเภออมก๋อย ซึ่งเป็นการไถนาโดยช้างแห่งเดียวในเมืองไทยให้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง ตามแนวคิดของนายพลากร สุวรรณรัฐ องคมนตรี และอดีตผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่
นอกจากนี้ ภายในงานได้มีการนำข้าวพันธุ์ดี ๔ สายพันธุ์มาเพาะบนพื้นที่ ๘ ไร่ ได้แก่ ข้าวหอมมะลิสันป่าตอง ข้าวก่ำดอยสะเก็ด ข้าวหอมมะลิแดง และข้าวหอมมะลินิลที่มีสรรพคุณทางยามาซึ่งหลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิต และจำหน่ายเป็นที่เรียบร้อยแล้ว รายได้ส่วนหนึ่งจะนำไปมอบให้โรงพยาบาลอมก๋อย และกิจกรรมการกุศลต่อไป 
กิจกรรม “ช้างไถนา” เป็นกิจกรรมที่มีมานานกว่า ๑๐๐ ปี โดยชาวกะเหรี่ยงที่อาศัยอยู่ที่หมู่บ้านนาเกียนซึ่งตั้งห่างจากตัว อำเภออมก๋อยเพียง ๓๙ กิโลเมตร แต่ใช้เวลาเดินทางกว่า ๓ ชั่วโมง ที่ความสูงจากระดับน้ำทะเล ๑,๒๐๐-๑,๖๐๐ เมตร ด้วยระยะทางที่ไกล และทุรกันดารนี้ ทำให้ชาวบ้านยึดอาชีพเกษตรกรรมทำนาแบบขั้นบันได และการปลูกพืชไร่เพื่อเลี้ยงชีพ แต่ด้วยข้อจำกัดทางด้านภูมิศาสตร์ซึ่งเป็นที่ลาดเชิงเขา พื้นดินมีหินปะปนอยู่มาก ทำให้การไถนาด้วยควายได้งานน้อย และเหนื่อยง่าย จึงนำช้างที่เลี้ยงไว้มาไถนา เพราะช้างแข็งแรงกว่าวัว ควาย สามารถไถนาได้จำนวนพื้นที่มากกว่าในระยะเวลาใกล้เคียงกัน โดย ๑ แรงช้าง เท่ากับ ๔ แรงวัว ควาย โดยช้าง ๑ เชือก สามารถลากได้ ๑-๔ คันไถ และไม่ต้องพักเหนื่อยเพราะถือเป็นงานที่เบาเมื่อเทียบกับการลากซุงในอดีต

ปัจจุบัน “ช้างไถนา” ภูมิปัญญาดั้งเดิมของบรรพบุรุษชาวกะเหรี่ยงบ้านนาเกียน อำเภออมก๋อย ยังคงปรากฏให้เห็นอยู่ และสืบทอดสู่รุ่นลูกหลานในปัจจุบัน ในช่วงประมาณเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม ของทุกปี ททท. สำนักงานเชียงใหม่ขอเชิญชวนนักท่องเที่ยวทุกท่านเดินทางมาสัมผัส “ช้างไถนา” แห่งเดียวในเมืองไทย และความงดงามของธรรมชาติแห่งป่าเขาที่อุดมสมบูรณ์มากอีกแห่งหนึ่งของประเทศ ไทย ซึ่งมีที่พักทั้งแบบรีสอร์ท และโฮมสเตย์รองรับอยู่ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ อำเภออมก๋อย โทร. ๐ ๕๓๔๖ ๗๐๖๐ หรือที่ www.omkoi.org
แผนที่




ช้างดำ-ไถนา

นายระพี  ผ่องบุพกิจ ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์และนายธงชัย  มุ่งเจริญพร นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด จัดกิจกรรมช้างดำ-ไถนา เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวและประชาสัมพันธ์ ศูนย์คชศึกษา ตำบลกระโพ อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ และข้าวหอมมะลิจังหวัดสุรินทร์ โดยสาธิตการไถ-ดำนา ด้วยช้าง เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2553 ณ อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์



แผนที่

วันศุกร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2555

วัดหงษ์ทอง วัดกลางน้ำ กลางทะเล ฉะเชิงเทรา ไทย Thailand







วัดหงษ์ทอง ต.สองคลอง อ.บางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา


แผนที่

ดู วัดหงษ์ทอง ในแผนที่ขนาดใหญ่กว่า

วันศุกร์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2555

พระพุทธรูปแกะสลักเขาชีจรรย์ ชลบุรี ไทย Thailand


เขาชีจรรย์  เป็นเขาหินปูน เดิมมีการระเบิดหินนำไปใช้ในการก่อสร้าง  ต่อมาสมเด็จพระญาณสังวร  ทรงเสียดายลักษณะภูมิทัศน์อันสง่างามของเขาลูกนี้  จึงมีพระดำริที่จะอนุรักษ์ไว้  และได้ดำเนินการสร้างพระพุทธรูปแกะสลักในลักษณะของพระพุทธฉายที่ใหญ่ที่สุด ในโลก  เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  เนื่องในวโรกาสมหามงคลทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี  ใน พ.ศ.  2539  โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานนามพระพุทธรูปนี้ว่า  “พระพุทธมหาวชิรอุตตโมภาสศาสดา”  แปลว่า “พระพุทธเจ้าทรงเป็นศาสดาที่รุ่งเรืองสว่างประเสริฐดุงดังมหาวชิระ”

พระพุทธรูปแกะสลักหน้าผาเขาชีจรรย์เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย  เลียนแบบพระพุทธนวราชบพิตร  ศิลปะสุโขทัยผสมล้านนา  มีความสูง 109 เมตร  หน้าตักกว้าง 70 เมตร  ฐานบัวหรือบัลลังก์สูง 21 เมตร  รวมความสูงขององค์พระและบัลลังก์ทั้งสิ้น 130 เมตร  โดยเป็นการระเบิดเจาะเนื้อหินให้เป็นลายเส้น  แล้วใช้โมเสกทองประดับเข้าไปตามรอยเส้น  เมื่อแสงอาทิตย์ส่องมาต้องหน้าผา  จึงเกิดประกายสีทองราวกับองค์พระกำลังเปล่งประกาย  ด้านหน้าองค์พระมีลานอเนกประสงค์  สวนร่มรื่น  สระบัว  และสวนหิน  ในเนื้อที่ 15 ไร่
ที่ตั้ง : บ้านเขาชีจรรย์   อำเภอสัตหีบ  ห่างจากวัดญาณสังวราราม  ไปประมาณ 5 กิโลเมตร
การเดินทาง :
 จากวัดญาณสังวราราม  ไปตามทางเดียวกับวิหารเซียน  ผ่านวิหารเซียนไปตามเส้นทางหลัก  และมีป้ายบอกทางไปอีก 3 กิโลเมตร  หรือจากถนนสุขุมวิท  เข้าทางแยกที่เลยแยกวัดญาณสังวรารามไปราว 500 เมตร  เส้นทางจะตรงถึงเขาชีจรรย์  ระยะทางจากถนนสุขุมวิท  6 กิโลเมตร
เวลาทำการ :
 06.00-18.00 น.  ทุกวัน
ค่าเข้าชม :
 ไม่เสียค่าเข้าชม

แผนที่

View พระพุทธรูปแกะสลักเชาชีจรรย์ in a larger map

yengo ad

BumQ