Right Up Corner

ad left side

วันจันทร์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2555

ช้างไถนา เชียงใหม่ สุรินทร์ ไทย Thailand

ภาคเอกชนเชียงใหม่จัดแสดงช้างไถนาเชิญชวนนักท่องเที่ยวสัมผัสของจริงที่อำเภออมก๋อย


การไถนาโดยช้างแห่งเดียวในเมืองไทยให้เป็นที่ รู้จักอย่างกว้างขวางตามภูมิปัญญาดั้งเดิมของบรรพบุรุษชาวกะเหรี่ยงบ้านนา เกียน อำเภออมก๋อย ยังคงปรากฏให้เห็นอยู่ และสืบทอดสู่รุ่นลูกหลานในปัจจุบัน ในช่วงประมาณเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม ของทุกปี

ภาคเอกชน จ. เชียงใหม่ นำโดยนางวันเพ็ญ ศักดาทร ผู้บริหารบ้านแสนดอยรีสอร์ท แอนด์สปา ห้องอาหาร แสนคำเทอเรซและนายฮาเก็น เอ.เว เดียร์คเซิน กงสุลกิตติมศักดิ์สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันนี นายเศรษฐพล จินดานนท์ ผู้อำนวยการภูมิภาคภาคเหนือ พร้อมด้วยนายเฉลิมศักดิ์ สุรนันท์ ผู้อำนวยการ ททท. สำนักงานเชียงใหม่ และนางอัญชลี กัลมาพิจิตร ปางช้างแอลลี่ นำช้าง ๘ เชือก แสดงการไถนาบนพื้นที่ ๘ ไร่ เมื่อวันที่ ๘ เดือน ๘ เวลา ๐๘.๐๘ น. โดยมีนายพระนาย สุวรรณรัฐ ผู้อำนวยการศูนย์บริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ อดีตนายอำเภออมก๋อย จัดกิจกรรมช้างไถนาเพื่อสืบสานภูมิปัญญาบรรพบุรุษชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยง และส่งเสริมการท่องเที่ยวของอำเภออมก๋อย ซึ่งเป็นการไถนาโดยช้างแห่งเดียวในเมืองไทยให้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง ตามแนวคิดของนายพลากร สุวรรณรัฐ องคมนตรี และอดีตผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่
นอกจากนี้ ภายในงานได้มีการนำข้าวพันธุ์ดี ๔ สายพันธุ์มาเพาะบนพื้นที่ ๘ ไร่ ได้แก่ ข้าวหอมมะลิสันป่าตอง ข้าวก่ำดอยสะเก็ด ข้าวหอมมะลิแดง และข้าวหอมมะลินิลที่มีสรรพคุณทางยามาซึ่งหลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิต และจำหน่ายเป็นที่เรียบร้อยแล้ว รายได้ส่วนหนึ่งจะนำไปมอบให้โรงพยาบาลอมก๋อย และกิจกรรมการกุศลต่อไป 
กิจกรรม “ช้างไถนา” เป็นกิจกรรมที่มีมานานกว่า ๑๐๐ ปี โดยชาวกะเหรี่ยงที่อาศัยอยู่ที่หมู่บ้านนาเกียนซึ่งตั้งห่างจากตัว อำเภออมก๋อยเพียง ๓๙ กิโลเมตร แต่ใช้เวลาเดินทางกว่า ๓ ชั่วโมง ที่ความสูงจากระดับน้ำทะเล ๑,๒๐๐-๑,๖๐๐ เมตร ด้วยระยะทางที่ไกล และทุรกันดารนี้ ทำให้ชาวบ้านยึดอาชีพเกษตรกรรมทำนาแบบขั้นบันได และการปลูกพืชไร่เพื่อเลี้ยงชีพ แต่ด้วยข้อจำกัดทางด้านภูมิศาสตร์ซึ่งเป็นที่ลาดเชิงเขา พื้นดินมีหินปะปนอยู่มาก ทำให้การไถนาด้วยควายได้งานน้อย และเหนื่อยง่าย จึงนำช้างที่เลี้ยงไว้มาไถนา เพราะช้างแข็งแรงกว่าวัว ควาย สามารถไถนาได้จำนวนพื้นที่มากกว่าในระยะเวลาใกล้เคียงกัน โดย ๑ แรงช้าง เท่ากับ ๔ แรงวัว ควาย โดยช้าง ๑ เชือก สามารถลากได้ ๑-๔ คันไถ และไม่ต้องพักเหนื่อยเพราะถือเป็นงานที่เบาเมื่อเทียบกับการลากซุงในอดีต

ปัจจุบัน “ช้างไถนา” ภูมิปัญญาดั้งเดิมของบรรพบุรุษชาวกะเหรี่ยงบ้านนาเกียน อำเภออมก๋อย ยังคงปรากฏให้เห็นอยู่ และสืบทอดสู่รุ่นลูกหลานในปัจจุบัน ในช่วงประมาณเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม ของทุกปี ททท. สำนักงานเชียงใหม่ขอเชิญชวนนักท่องเที่ยวทุกท่านเดินทางมาสัมผัส “ช้างไถนา” แห่งเดียวในเมืองไทย และความงดงามของธรรมชาติแห่งป่าเขาที่อุดมสมบูรณ์มากอีกแห่งหนึ่งของประเทศ ไทย ซึ่งมีที่พักทั้งแบบรีสอร์ท และโฮมสเตย์รองรับอยู่ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ อำเภออมก๋อย โทร. ๐ ๕๓๔๖ ๗๐๖๐ หรือที่ www.omkoi.org
แผนที่




ช้างดำ-ไถนา

นายระพี  ผ่องบุพกิจ ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์และนายธงชัย  มุ่งเจริญพร นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด จัดกิจกรรมช้างดำ-ไถนา เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวและประชาสัมพันธ์ ศูนย์คชศึกษา ตำบลกระโพ อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ และข้าวหอมมะลิจังหวัดสุรินทร์ โดยสาธิตการไถ-ดำนา ด้วยช้าง เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2553 ณ อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์



แผนที่

วันศุกร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2555

วัดหงษ์ทอง วัดกลางน้ำ กลางทะเล ฉะเชิงเทรา ไทย Thailand







วัดหงษ์ทอง ต.สองคลอง อ.บางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา


แผนที่

ดู วัดหงษ์ทอง ในแผนที่ขนาดใหญ่กว่า

yengo ad

BumQ