Right Up Corner

ad left side

วันอาทิตย์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

พระพุทธรูปที่ใหญ่ที่สุดในโลก อ่างทอง Thailand ไทย



พระพุทธรูปที่ใหญ่ที่สุดในโลก วัดม่วง จ.อ่างทอง
ประวัติความเป็นมา พระพุทธมหานวมินทร์ศากยมุนีศรีวิเศษชัยชาญ วัดม่วง (หลวงพ่อใหญ่)
หลวงพ่อเกษม อาจารสุโภ เป็นผู้วางศิลาฤกษ์ ด้วยตัวของท่านเอง เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2534 และต่อมา วันที่ 2 พฤษภาคม 2534 ได้ทำพิธีตอกลงเข็มเสาเอก หลวงพ่อเกษมเป็นประธานดำเนินการก่อสร้าง ร่วมกับลูกศิษย์และ ประชาชนผู้มีใจบุญทั้งหลาย เข้ามาร่วมกันก่อสร้างองค์พระ ทำให้ได้มีเงินทุนมากพอ ในการก่อสร้าง การหล่อหลอมสร้างองค์พระ ใช้วัสดุ อิฐ หิน ปูน ทราย หลวงพ่อใช้เงินทุกบาท ทุกสตางค์ จากผู้มาบริจาคในวัด เงินจากที่หลวงพ่อออกปฎิบัติกิจนิมนต์ เงินจากการทอดกฐิน ทอดผ้าป่า และงานบุญต่างๆในวัด และพร้อมด้วยคณะศิษย์ของหลวงพ่อ โดยหลวงพ่อได้ควบคุมการก่อสร้างเองมาตลอด มาระยะหลัง หลวงพ่อเกษมตรากตรำงานมาก จึงมีร่างกายอ่อนเพลีย ได้ให้หมดตรวจร่างกาย พบว่าเป็นมะเร็งที่ตับ จึงเข้ารับการรักษา ที่โรงพยาบาลศิริราช ตึก 84 ปี ชั้น 9 ห้อง 925 หมอได้ทำการรักษาไม่กี่เดือน ก็ได้มรณภาพลง เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2544 ศิริอายุได้ 54 ปี 6 เดือน 7 วัน
หลวงพ่อเกษม เคยสั่งบอกฝากกับลูกศิษย์ การก่อสร้างองค์พระ ให้ช่วยกันก่อสร้างต่อจากหลวงพ่อ ให้เสร็จ และหลวงพ่อเกษมได้ตั้งนามองค์พระเอาไว้ว่า “พระพุทธมหานวมินทร์ศากยมุนีศรีวิเศษชัยชาญ” พระนามนี้หลวงพ่อเกษมตั้งใจสร้างองค์พระนี้ เพื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่9 คณะลูกศิษย์หลวงพ่อเกษม ได้พร้อมใจรวมพลัง ช่วยกันสร้างร่วมกับ ประชาชนผู้มีจิตศรัทธาด้วย จนการก่อสร้างองค์พระ ได้เสร็จสมบูรณ์ เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2550 มีระยะเวลาการก่อสร้างรวมประมาณ 16 ปี และวัดหน้าตักองค์พระได้ 63.05 เมตร ความสูงจากฐานองค์พระ ถึงยอดเกศา วัดได้ 95 เมตร ใช้เงินประมาณ 104,261,089.65 บาท

แผนที่

ดู วัดม่วง ในแผนที่ขนาดใหญ่กว่า

หลวงพ่อใหญ่ พระพุทธรูปยืน สูงที่สุดในโลก ร้อยเอ็ด Thailand ไทย



พระพุทธรัตนมงคลมหามุนี หรือ “หลวงพ่อใหญ่”
พระพุทธรูปยืนปางประทานพรที่สูงที่สุดในประเทศไทยและสูงที่สุดในโลก
วัดบูรพาภิราม (พระอารามหลวง) ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ร้อยเอ็ด


“พระพุทธรัตนมงคลมหามุนี” หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า “หลวงพ่อใหญ่”
เป็นพระพุทธรูปยืนปางประทานพร บุด้วยกระเบื้องโมเสกสีเนื้อ แลเห็นเด่นชัด
ศิลปะแบบพื้นบ้าน องค์พระรวมฐานแล้วมีความสูงทั้งสิ้น ๖๗.๕๕ เมตร
เป็นพระพุทธรูปยืนองค์สูงที่สุดในประเทศไทยและสูงที่สุดในโลก
นำพาการก่อสร้างโดยพระราชปรีชาญาณมุนี (พุทธา สิริวุฑฺโฒ)

อดีตเจ้าอาวาสวัดบูรพาภิรามรูปที่ ๕ และอดีตเจ้าคณะจังหวัดร้อยเอ็ด (มหานิกาย)
พระนักพัฒนา พระผู้ศรัทธาการก่อสร้างศาสนสถานและปูชนียสถานต่างๆ
โดยประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๒ ใช้ระยะเวลาในการก่อสร้าง ๘ ปี
สิ้นงบประมาณค่าก่อสร้างองค์พระเป็นจำนวนประมาณ ๗,๐๒๓,๕๗๙.๗๕ บาท

“พระพุทธรัตนมงคลมหามุนี” หรือ “หลวงพ่อใหญ่” เริ่มสร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๔
เสร็จสิ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๒ สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก ติดกระเบื้องโมเสกสีเนื้อ
ด้านหลังซึ่งเป็นฐานพิงขององค์พระนั้น มี พระเจดีย์ ขนาดความสูง ๙ เมตร
ซึ่งภายในประดิษฐาน พระบรมสาริกธาตุ ที่อัญเชิญมาจากประเทศอินเดีย
โดยฐานพระพุทธรูปยืนองค์นี้เป็น ห้องพิพิธภัณฑ์ จำนวนหลายห้อง

ความสูงขององค์พระวัดจากพระบาทถึงยอดเกศสูงถึง ๕๙.๒๐ เมตร
โดยมีความสูงทั้งหมดรวมฐานขององค์พระ สูงทั้งสิ้น ๖๗.๕๕ เมตร
นอกจากนี้ “พระพุทธรัตนมงคลมหามุนี” หรือ “หลวงพ่อใหญ่”
ยังเป็นสัญลักษณ์ประจำจังหวัด และปรากฏอยู่เป็นหนึ่งในคำขวัญ
ของเมืองร้อยเอ็ดด้วย ในวรรคที่ว่า
“เรืองนามพระสูงใหญ่”

ในปี พ.ศ. ๒๕๔๔ พระราชธรรมโสภณ (จำปี จนฺทธมฺโม)
เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ พระสิริวุฒิเมธี อดีตเจ้าอาวาสวัดบูรพาภิรามรูปที่ ๖
และอดีตเจ้าคณะจังหวัดร้อยเอ็ด (มหานิกาย) ได้ดำเนินการบูรณปฏิสังขรณ์
พระพุทธรัตนมงคลมหามุนีหรือหลวงพ่อใหญ่ โดยกะเทาะกระเบื้องโมเสกที่ชำรุดลง
ฉาบปูนใหม่ทั้งองค์ และทาองค์พระด้วยสีทอง พร้อมทั้งบูรณะกำแพงแก้วรอบองค์พระ
สิ้นงบประมาณค่าใช้จ่ายรวมเป็นเงินทั้งสิ้นจำนวน ๒,๗๕๐,๐๐๐ บาท

พุทธลักษณะของพระพุทธรูปยืนปางประทานพรองค์นี้ ค่อนข้างสูงชะลูด
มองดูไม่ได้สัดส่วนสมจริง สันนิษฐานว่าออกแบบก่อสร้างโดยช่างท้องถิ่น
สร้างขึ้นจากแรงศรัทธาต่อพระพุทธศาสนามากกว่าจะเน้นความสวยงามขององค์พระ
เป็นความวิริยะอุตสาหะอย่างสูงของ พระราชปรีชาญาณมุนี (พุทธา สิริวุฑฺโฒ)
ที่เป็นผู้ริเริ่มการก่อสร้างพระยืนสูงที่สุดองค์นี้ให้เป็นศรีสง่าแก่เมืองร้อยเอ็ดสืบต่อไป

“วัดบูรพาภิราม” ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด
เลขที่ ๕๕๙ ถนนผดุงพานิช ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด
เดิมเป็นวัดเก่าแก่ ติดคูเมืองเก่าด้านตะวันออกของจังหวัดร้อยเอ็ด
สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ
สร้างขึ้นประมาณ พ.ศ. ๒๓๔๐ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๑
วัดบูรพาภิรามได้ก่อสร้างพระอุโบสถหลังใหม่ขึ้น เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๐
เขตวิสุงคามสีมา มีความกว้าง ๔๐ เมตร ยาว ๘๐ เมตร
ได้รับการยกฐานะจากวัดราษฎร์เป็นพระอารามหลวง เมื่อวันที่ ๒๙ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๑
วัดมีเนื้อที่ทั้งหมด ๒๙ ไร่ ๓ งาน ๙๗ ตารางวา โฉนดที่ดินเลขที่ ๑๗๗๙

ปัจจุบันพุทธศาสนิกชนทั้งชาวร้อยเอ็ดและในจังหวัดใกล้เคียง
จะเดินทางมาทำบุญ กราบไหว้ ขอพรและบนบาน ในแต่ละวันไม่ขาดสาย
เนื่องจากแทบทุกคนล้วนประสบความสำเร็จสมหวังด้วยกันแทบทั้งสิ้น
ทั้งนี้ ยังมีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศมาเที่ยวชมวันละกว่า ๑,๐๐๐ คน

วัดบูรพาภิราม เดิมชื่อ วัดหัวรอ เพราะเป็นสถานที่สำหรับรวมแขกคนในสมัยนั้น
ประชาชนส่วนใหญ่นิยมติดต่อค้าขายกับต่างเมือง พาหนะในการเดินทางยังไม่มี
นิยมเดินกันเป็นส่วนใหญ่ เรียกว่าค่ำไหนนอนนั่น
วัดหัวรอ จึงเป็นจุดแรกที่พ่อค้าวาณิชจะนัดพบกันและพักแรม
ในคืนแรกของการเดินทาง ก่อนที่จะออกเดินทางไปค้าขายยังต่างเมือง
ดังนั้น วัดแห่งนี้จึงถูกเรียกกันติดปากของคนสมัยนั้นว่า วัดหัวรอ
ซึ่งหมายถึงการรอคอยก่อนที่จะออกเดินทางต่อไป

ในสมัย พระอธิการหล้า อินฺทวํโส (เจ้าอาวาสรูปแรกของวัดบูรพาภิราม)
ท่านได้ขยายเนื้อที่วัดเพิ่มจากที่แห่งเดิม เพื่อให้อาณาบริเวณกว้างขวางยิ่งขึ้น
รวมทั้ง ได้เปลี่ยนชื่อวัดใหม่ให้สมกับที่ตั้งว่า วัดบูรพา
ด้วยเหตุที่ว่าวัดตั้งอยู่ในทางทิศตะวันออกของเมือง เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๖
ในเวลาต่อมาได้เปลี่ยนชื่อวัดใหม่อีกครั้ง โดยเพิ่มสร้อยต่อชื่อวัด
เพื่อความเหมาะสมยิ่งขึ้นว่า “วัดบูรพาภิราม” และใช้ชื่อนี้เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
ปัจจุบันมี พระสุขุมวาทเวที (สถาพร โชติธมฺโม) เป็นเจ้าอาวาส

ด้านทิศตะวันออกของบริเวณวัดบูรพาภิรามที่อยู่ติดกับคูรอบเมืองสมัยเก่า
เป็นที่ตั้งของ ศาลเจ้าพ่อมเหศักดานุภาพ ซึ่งชาวเมืองร้อยเอ็ดเคารพนับถือมาก

พุทธศาสนิกชนท่านใดอยากได้ในสิ่งที่ปรารถนา
เชิญมานมัสการและกราบขอพรจากพระพุทธรัตนมงคลมหามุนี
หรือหลวงพ่อโต เพื่อความเป็นสิริมงคลให้สมดังปรารถนา 


แผนที่

ดู วัดบูรพาภิราม (พระอารามหลวง) ในแผนที่ขนาดใหญ่กว่า

หลวงพ่อโต ปางยืนสูงที่สุดในโลก Bangkok กรุงเทพฯ Thailand ไทย




“หลวงพ่อโต” หรือ “พระศรีอริยเมตไตรย” เป็นพระพุทธรูปยืนปางอุ้มบาตรที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ผินพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก มีความสูงตั้งแต่พื้นถึงยอดเกตุ 16 วา หรือประมาณราว 32 เมตร ความกว้าง 5 วา 2 ศอก สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) เป็นผู้ริเริ่มก่อสร้างพระพุทธรูปองค์นี้ขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 แต่เมื่อสร้างไปได้ถึงเพียงพระนาภี หรือบริเวณสะดือขององค์พระพุทธรูป สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ก็ได้มรณภาพลงเสียก่อน การก่อสร้างจึงได้หยุดชะงักอยู่ครู่หนึ่ง ก่อนจะดำเนินต่อมาอีกถึง 60 ปี ก่อนที่การสร้างหลวงพ่อโตหรือพระศรีอริยเมตไตรยองค์นี้ จะแล้วเสร็จสิ้นลงในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7

แผนที่

ดู วัดอินทรวิหาร (พระอารามหลวง) ในแผนที่ขนาดใหญ่กว่า

yengo ad

BumQ