Right Up Corner

ad left side

วันพุธที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ธาตุก่อง(กล่อง)ข้าวน้อย ยโสธร ไทย Thailand






ธาตุก่องข้าวน้อย เป็นเจดีย์สมัยขอม ตั้งอยู่ในทุ่งนา ต.ตาดทอง อ.เมือง จ.ยโสธร ห่างจากตัวจังหวัด 9 ก.ม. ไปตามทางหลวง หมายเลย 23 (ยโสธร - อุบลราชธานี) ประมาณหลักกิโลเมตรที่ 194 เลี้ยวซ้ายไปอีก 1 กิโลเมตร

ธาตุก่องข้าวน้อยก่อสร้างตั้งแต่เมื่อใด ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดจากลักษณะที่ปรากฏเป็นสถาปัตยกรรมแบบศิลปะล้านช้างที่ พบอยู่ทั่วไปในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอายุระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๒๓ – ๒๕ สมัยอยุธยาตอนปลาย กรุงธนบุรี ซึ่งอาจจะเป็นกลุ่มชนเชื้อสายลาวที่จะอพยพมาจากเวียงจันทร์ในสมัยธนบุรี ที่มาตั้งถิ่นฐานอยู่ในเขตจังหวัดยโสธรในปัจจุบัน เป็นผู้ก่อสร้างธาตุเจดีย์ไว้เป็นปูชนียสถาน

จากการศึกษาทางโบราณคดี พบว่าบริเวณบ้านตาดทอง เป็นชุมชนโบราณ มาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย จนรับวัฒนธรรมแบบทวารวดี โดยพบใบเสมาปักอยู่ทั่วไปในบริเวณหมู่บ้านและเป็นเมืองโบราณในสมัยขอม โดยพบจารึกที่มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๕ กล่าวถึง พระเจ้าอีสานวรมันที่ ๒ (พ.ศ.๑๔๖๘ – ๑๔๗๑) ได้ส่งพระราชธิดาพร้อมด้วยทาสชายหญิง และทรัพย์สิ่งของเป็นจำนวนมาก เพื่อให้มาเป็นมเหสีของเจ้าชายเมืองนี้ ซึ่งสันนิฐานว่าจะตั้งอยู่ในบริเวณบ้านตาดทอง ต่อมาในสมัยกรุงธนบุรีลูกหลานของพระวอ พระตา ได้อพยพมาตั้งที่บ้านสิงห์ท่า ซึ่งภายหลังยกฐานะเป็นเมืองยโสธร ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

ลักษณะทางศิลปกรรม

ธาตุก่องข้าวน้อย หรือ ธาตุตาดทอง มีโครงสร้างเป็นเจดีย์รูปสี่เหลี่ยมก่อด้วยอิฐมีฐาน ๒ ชั้น ทำเป็นแอวขันตามแบบสถาปัตยกรรมล้านช้าง มีเรือนธาตุเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมมีซุ้มจระนำอยู่ทั้งสี่ทิศ ตัวธาตุสูงประมาณ ๑๐ เมตร โดยแบ่งออกเป็น ๓ ส่วน คือ
ส่วนฐาน กว้าง ด้านละประมาณ ๒ เมตร ทำบัวคว่ำบัวหงายลดหลั่นกันเป็นแอวขันปากพานและย่อมุมไม้สิบสองทั้งสี่มุม ส่วนบนของฐานจะผายออกเพื่อรับเรือนธาตุ ส่วนฐานสูงประมาณ ๓ เมตร
เรือนธาตุ เป็น ทรงสี่เหลี่ยม ทำซุ้มจระนำประดับพระพุทธรูปยืนทั้งสี่ทิศ เหนือซุ้มจระนำทำเป็นลายกระหนกประดับ ที่เสาซุ้มจระนำมีดอกจันทร์เทศขนาดใหญ่ประดับเสาละ ๑ ดอก ส่วนที่เป็นเรือนธาตุผายออกไปเพื่อรับกับส่วนยอดพระธาตุ
ส่วนยอดธาตุ ทำ แปลกกว่าสถาปัตยกรรมล้านช้างทั่วไป คือ มีปลียอดเล็กๆ แซมอยู่ทั้งสี่ด้าน โดยเสริมให้ยอดกลางโดดเด่นขึ้น ตัวยอดแซมไม่ได้เป็นซุ้มแต่ทำเพียงอิงฐานของยอดกลางไว้เท่านั้น ลักษณะยอดทำทรงหีบมีกลีบบัวอยู่ที่โคนหีบสูงชะลูดไปสู่คอขวด แล้วหยักเป็นแอวขันคั่นกับยอดสุดเพื่อให้ยอดสุดดูโดดเด่นยิ่งขึ้นส่วนยอด ธาตุสูงประมาณ ๔ เมตร บริเวณรอบธาตุทำเป็นกำแพงแก้วเตี้ยๆ โอบรอบอยู่ทั้ง ๔ ด้านยาวประมาณด้านละ ๕ เมตร บริเวณด้านตะวันออกของธาตุติดกับกำแพงแก้วมีวิหารก่ออิฐหลังเล็กๆ ประดิษฐานพระพุทธรูป ๑ องค์ ก่อขึ้นใน พ.ศ.๒๔๙๕ โดยช่างบ้านตาดทองบริเวณโดยรอบธาตุมีใบเสมาปักอยู่เป็นกลุ่มๆ ลักษณะใบเสมาเป็นหินทรายแดงแกนกลางสลักเป็นภาพสถูป แบบศิลปะทวารวดี และยังมีธาตุที่สร้างในสมัยหลัง เพื่อเก็บอัฐิตามคตินิยมของชาวอีสานตั้งอยู่รายรอบตัวธาตุด้วย

ธาตุตาดทอง นี้มีเรื่องเล่าเป็นนิทานสืบต่อกันมา อธิบายการสร้างธาตุโดยนำไปเชื่อมโยงกับการสร้างพระธาตุพนม ว่ามีผู้คนกลุ่มหนึ่งทราบข่าวว่าจะมีการบูรณะพระธาตุพนม จึงได้พากันรวบรวมของมีค่าจะนำไปบรรจุไว้ในพระธาตุพนม ได้เดินทางมาถึงบริเวณบ้านตาดทอง พบกับชาวบ้านที่ไปช่วยกันก่อสร้างธาตุ จึงนำถาดทองที่ใช้ใส่ของมีค่าที่จะไปบรรจุไว้ในพระธาตุพนมมาใส่ไว้ในธาตุนี้ ด้วย จึงเป็นที่มาของชื่อ “ธาตุตาดทอง

( ที่มา : www.thadthong.com )



นิทาน ก่องข้าวน้อยฆ่าแม่
ครั้งหนึ่ง เมื่อหลายร้อยปีมาแล้วที่บ้านตาดทอง ในฤดูฝนมีการเตรียมปักดำกล้าข้าวทุกครอบครัวจะออกไปไถนาเตรียมการเพราะปลูก ครอบครัวของชายหนุ่มคนหนึ่งกำพร้าพ่อ ไม่ปรากฏชื่อหลักฐาน ก็ออกไปปฏิบัติภารกิจเช่นเดียวกัน

วันหนึ่งเขาไถนาอยู่นานจนสาย ตะวันขึ้นสูงแล้วรู้สึกเหน็ดเหนื่อยอ่อนเพลียมากกว่าปกติ และหิวข้าวมากกว่าทุกวัน ปกติแล้วแม่ผู้ชราจะมาส่งก่องข้าวให้ทุกวัน แต่วันนี้กลับมาช้าผิดปกติ


เขาจึงหยุดไถนาเข้าพักผ่อนอยู่ใต้ ต้นไม้ ปล่อยเจ้าทุยไปกินหญ้าสายตาเหม่อมองไปทางบ้าน รอคอยแม่ที่จะมาส่งข้าวตามเวลาที่ควรจะมา ด้วยความรู้สึกกระวนกระวายใจยิ่งสายตะวันขึ้นสูงแดดยิ่งร้อนความหิวกระหาย ยิ่งทวีคูณขึ้น

ทันใดนั้นเขามองเห็นแม่เดินเลียบมาตามคันนาพร้อมก่อง ข้าวน้อยๆ ห้อยต่องแต่งอยู่บนเสาแหรกคาน เขารู้สึกไม่พอใจที่แม่เอาก่องข้าวน้อยนั้นมาช้ามาก ด้วยความหิวกระหายจนตาลาย อารมณ์พลุ่งพล่าน เขาคิดว่าข้าวในก่องข้าวน้อยนั้นคงกินไม่อิ่มเป็นแน่ จึงเอ่ยต่อว่าแม่ของตนว่า

"อีแก่ มึงไปทำอะไรอยู่จึงมาส่งข้าวให้กูกินช้านัก
ก่องข้าวก็เอามาแต่ก่องน้อยๆ กูจะกินอิ่มหรือ?"

ผู้เป็นแม่เอ่ยปากตอบลูกว่า "ถึงก่องข้าวจะน้อยก็น้อยต้อนแต้นแน่นในดอกลูกเอ๋ย ลองกินเบิ่งก่อน"

ความ หิว ความเหน็ดเหนื่อย ความโมโห หูอื้อตาลาย ไม่ยอมฟังเสียงใดๆ เกิดบันดาลโทสะอย่างแรงกล้า คว้าได้ไม้แอกน้อยเข้าตีแม่ที่แก่ชราจนล้มลงแล้วก็เดินไปกินข้าว กินข้าวจนอิ่มแล้วแต่ข้าวยังไม่หมดกล่อง จึงรู้สึกผิดชอบชั่วดี รีบวิ่งไปดูอาการของแม่และเข้าสวมกอดแม่
อนิจจา แม่สิ้นใจไปเสียแล้ว..

ชายหนุ่มร้อย ไห้โฮ สำนึกผิดที่ฆ่าแม่ของตนเองด้วยอารมณ์เพียงชั้ววูบ ไม่รู้จะทำประการใดดี จึงเข้ากราบ นมัสการสมภารวัดเล่าเรื่องให้ท่านฟังโดยละเอียด

สมภารสอนว่า "การฆ่าบิดามารดาผู้บังเกิดเกล้าของตนเองนั้นเป็นบาปหนัก เป็นมาตุฆาต ต้องตกนรกอเวจีตายแล้วไม่ได้ผุดไม่ได้เกิดเป็นคนอีก มีทางเดียวจะให้บาปเบาลงได้ก็ด้วยการสร้างธาตุก่อกวมกระดูกแม่ไว้ ให้สูงเท่านกเขาเหิน จะได้เป็นการไถ่บาปหนักให้เป็นเบาลงได้บ้าง"

เมื่อ ชายหนุ่มปลงศพแม่แล้ว ขอร้องชักชวนญาติมิตรชาวบ้านช่วยกันปั้นอิฐก่อเป็นธาตุเจดีย์บรรจุอัฐิแม่ ไว้ จึงให้ชื่อว่า "ธาตุก่องข้าวน้อยฆ่าแม่" จนตราบทุกวันนี้

ทุกวัน นี้มีผู้มากราบธาตุก่องข้าวน้อยฯทุกวันเพื่อขอขมาลาโทษเหมือนเป็นการไถ่บาป ที่ทำให้พ่อแม่เสียใจ บางคนเมื่อมีลูกแล้วถึงรู้ว่าบุญคุณแม่มากสุดเหลือคณานับ เพิ่งรู้ว่าเลี้ยงดูลูกนั้นยากหนักหนาขนาดไหน จึงมาสำนึกที่ทำให้แม่ต้องเสียใจ บ้างก็มากราบไหว้เพื่อรำลึกถึงบุญคุณแม่

 

แผนที่

View พระธาตุก่องข้าวน้อย in a larger map

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

yengo ad

BumQ