Right Up Corner

ad left side

วันอาทิตย์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

เสาเฉลียง อุบลราชธานี ไทย Thailand


เสาเฉลียง
เสาเฉลียง
เมื่อประมาณ 4,600 ล้านปี ที่ผ่านมา ซึ่งนักดาราศาสตร์ สันนิษฐานว่าเกิดจากการรวมตัวของ กลุ่มก๊าซในอวกาศ ด้วยความกดดันที่สูงมาก และเกิดพลังงานความร้อนมหาศาลจนมวลสารที่รวมตัวกันหลอมละลาย ซึ่งใช้เวลานับล้านปี จึงเย็นตัวลงเป็นเปลือกโลก แต่ว่าสภาพบรรยากาศที่ปกคลุมโลกอยู่ เต็มไปด้วยก๊าซชนิดต่าง สภาพลมฟ้าอากาศแปรปรวน ก๊าซที่ปกคลุมผิวโลกอยู่รวมตัวกัน ความหนาแน่นมากขึ้น จนกลั่นตัวลงมาเป็นฝนนานนับหมื่นปี เมื่อสิ้นสุดฝนในครั้งนั้น โลกก็เย็นตัวลง มากขึ้น เกิดผืนน้ำ แม่น้ำลำธารมากมาย เกิดการกัดเซาะพังทลายของเปลือกโลก (กษัยการ) เกิดวัฏจักรของหิน ต่อมาเมื่อประมาณ 3,500 ล้านปี ที่ผ่านมา จึงกำเนิดชีวิตแรกในท้องน้ำ เป็นสิ่งมีชีวิต เซลล์เดียว ประเภท โปรคารีโอต ซึ่งเป็นจุดกำเนิดของพืช และสัตว์ทุกชนิด ตามสายวิวัฒนาการ เสาเฉลียง.…เป็นประติมากรรมหินทรายที่ธรรมชาติสร้างขึ้นเป็นหน่วยหิน “ภูพาน” ที่เกิดขึ้นในยุค ครีเตเชียส (Cretaceous Period) เมื่อประมาณ 130 ล้านปี เสาเฉลียงประกอบด้วย หินสองส่วน หินทรายต้นถึงกลางยุค หินส่วนบนเกิดจากการสะสมตะกอนของหินทราย ช่วงปลายยุคครีเตเชียส โดยผ่านกระบวนการการกัดกร่อนทางธรรมชาติที่ยาวนานหลายล้านปี อันมีสาเหตุมาจากกระแสน้ำ แรงลม และ ความแปรปรวนของลมหลายล้านปีอันมีสาเหตุมาจากกระแสน้ำ แรงลมและความแปรปรวนของลมฟ้าอากาศ กระทั่งเกิดการเปลี่ยนแปลงพื้นผิวของเปลือกโลกครั้งสำคัญ(การเคลื่อนตัว การโก่งตัว และการทรุดตัว ) เป็นผลให้เกิดการกัดกร่อนของชั้นหินส่วนล่างที่เหลือจากการกัดกร่อนซ้อนอยู่ ในแนวดิ่ง และหินส่วนบนที่เหลือจากการกัดกร่อนซ้อนอยู่ในแนวนอน เมื่อมองดูหินทั้งสองส่วนประกอบด้วยความแตกต่างของช่วงเวลาการสะสมของหิน ทรายที่ได้สร้างประติมากรรมหินทรายอันทรงคุณค่า และน่าทึ่งไว้ให้เราได้ชื่นชม
* หมายเหตุ เสาเฉลียง เป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ ที่เกิดจากการกัดเซาะของน้ำสายลม และแสงแดดต่อเนื่องเป็นเวลาหลายร้อยล้านปี มีลักษณะเป็นแท่งหินตั้งขึ้น มีส่วนบนเป็น แผ่นหินวางอยู่โดยไม่ติดกันมองดูคล้ายดอกเห็ดนับเป็นประติมากรรมชิ้นเอกของ ธรรมชาติ ชาวท้องถิ่นเรียกเสาหินลักษณะนี้ว่า“เสาเฉลียง”ซึ่งแผลงมาจากคำว่า“สะ เลียง”เป็นภาษาส่วยหมายถึง “เสาหินที่มีลักษณะแปลก” นั่นเอง*

แผนที่

View เสาเฉลียง in a larger map

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

yengo ad

BumQ