อุตสาหกรรมหลักของเมืองปอมเปอี คือ ผลิตเหล้าองุ่นและผ้าขนสัตว์
[แก้] หายนะของเมืองปอมเปอี
วันที่ 24 สิงหาคม ค.ศ. 79 เวลา 13นาฬิกา 30 นาที ภูเขาไฟวิสุเวียสได้ระเบิดขึ้น ฝุ่นควัน หินพัมมิซ และก๊าซพิษจำนวนมากถูกพ่นออกมา กระแสลมในวันนั้นได้พัดพามันไปที่เมืองปอมเปอี และสตาเบีย ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของวิสุเวียส แต่เมืองปอมเปอีใกล้กว่า จึงได้รับผลกระทบมากกว่า ในช่วงเวลาไม่กี่นาที ท้องฟ้าเหนือเมืองปอมเปอีก็ถูกปกคลุมด้วยฝุ่นควันจากภูเขาไฟจนแสงอาทิตย์ไม่ อาจส่องลอดมาได้ จึงตกอยู่ในความมืดคล้ายยามราตรี หลังจากนั้นไม่นาน หินพัมมิซในฝุ่นควันก็เริ่มจับตัวกันเป็นก้อนใหญ่ที่หนักขึ้น เย็นลง และเริ่มร่วงลงมาสู่เมืองปอมเปอี ชาวเมืองเริ่มวิตก บางคนรีบหนีไป บางคนไปหลบในบ้านหรือในสถานที่ส่วนรวมต่อมาไม่นานนัก ชาวปอมเปอีก็เริ่มหายใจไม่ออก เพราะก๊าซพิษที่ภูเขาไฟพ่นออกมาทำให้อากาศไม่สะอาด ผู้ที่พยายามจะหนีส่วนใหญ่ตาย สาเหตุการตายส่วนใหญ่เพราะหินพัมมิซขนาดใหญ่หล่นใส่หัว แล้วก็ล้มลงหมดสติ แล้วก็ขาดอากาศหายใจจนตายในที่สุด ตกเย็นวันเดียวกันนั้นเอง ชาวปอมเปอีที่หลบภัยในบ้านเริ่มตาย เพราะหินพัมมิซทับถมกันหนาจนบ้านถูกฝังและขาดอากาศหายใจจนตาย ต่อมาไม่นาน หลังคาบ้านก็เริ่มถล่ม เพราะรับน้ำหนักหินไม่ไหว ทำให้ผู้คนถูกฝัง
วันที่ 25 สิงหาคม ค.ศ. 79 ช่วงเช้า วิสุเวียสระเบิดแรงขึ้น ทำให้ท้องทะเลปั่นป่วนเพราะแรงสั่นสะเทือน คลื่นชายหาดแรงมากจนบ้านพักตากอากาศริมทะเลถูกคลื่นซัดพังไปหลายหลัง ช่วงบ่าย กระแสลมเปลี่ยนทิศไปทางทิศตะวันตก(เยื้องใต้เล็กน้อย) นำพาฝุ่นควันสู่เมืองมิเซนัมและเฮอร์คิวเลเนียม แต่เฮอร์คิวเลเนียมอยู่ใกล้กว่ามาก จึงได้รับหายนะมากกว่า
วันที่ 26 สิงหาคม ค.ศ. 79 ภูเขาไฟระเบิดเบาลง แต่ก็เกิดฝนตกลงมาบริเวณลาดเขาของภูเขาไฟวิสุเวียส ซึ่งเต็มไปด้วยเถ้าถ่านที่ร้อนจัด
วันที่ 27 สิงหาคม ค.ศ. 79 น้ำฝนละลายผสมกับเถ้าถ่านกลายเป็นโคลนเดือดไหลทะลักลงมากลบเมืองเฮอร์คิวเล เนียม ชาวเมืองหลายร้อยคนเสียชีวิต แต่เป็นเพียงส่วนน้อย เพราะส่วนใหญ่ได้ล่องรืออพยพออกไปแล้ว ไม่นาน วิสุเวียสก็หยุดอาละวาด
ผู้รอดตายได้กลับไปยังเมืองของตน แล้วได้นำซากอาคารที่โผล่พ้นเถ้าถ่านฝุ่นควันไปใช้ประโยชน์อย่างอื่น
นักประวัติศาสตร์ชาวโรมชื่อ แทซิทัส ได้ทำการบันทึกเหตุการณ์ดังกล่าวไว้เป็นภาษาละติน
[แก้] การขุดค้นพบเมืองปอมเปอี
ใน ค.ศ. 1534 ได้มีการขุดค้นพบซากเมืองปอมเปอีเป็นครั้งแรก แต่ก็ไม่ได้รับความสนใจ ต่อมาใน ค.ศ. 1689 คนงานขุดคลองส่งน้ำคณะหนึ่ง ได้ขุดไปเจอซากสิ่งก่อสร้างแบบโรมัน และพบเหรียญเงินและรูปปั้น ซึ่งพวกเขาได้เคลื่อนย้ายออกไป และขุดคลองต่อค.ศ. 1748 ตระกูลบูร์บง ซึ่งเป็นเชื้อสายกับราชวงศ์บูร์บง ซึ่งเป็นผู้ปกครองรัฐเนเปิลส์ในอิตาลีระหว่าง ค.ศ. 1734-ค.ศ. 1861 ได้สนใจที่จะค้นหาเมืองปอมเปอี พวกเขาจึงใช้เงินจ้างคนงานไปขุดเมืองโดยกยการขุดเป็นอุโมงค์เข้าไปจนพบเมือง พวกเขาจึงสั่งให้นำสิ่งของมีค่าออกมาและเก็บไว้ในพิพิธภัณฑ์ส่วนตัวของตระกู ลบูร์บง
ค.ศ. 1861 รัฐต่างๆในอิตาลีได้รวมกันเข้าเป็นประเทศเดียวกัน ส่งผลให้ตะกูลบูร์บงล่มสลาย ชาวอิตาลีจึงให้ความสนใจกับการขุดปอมเปอีมากขึ้น จิอูเซปเป ฟีออเรลลี ได้เป็นหัวหน้าคณะนักโบราณคดี เขาได้คิดวิธีอันน่าทึ่งในการขุดปอมเปอี เช่น ร่างกายชาวปอมเปอีนั้น ได้ถูกความร้อนและกาลเวลาเปลี่ยนสภาพเป็นโพรงขี้เถ้าขนาดเล็ก เขาได้เจาะรูลงไปเป็นรูเล็กๆ และเทปูนปลาสเตอร์ลงไป รอให้แห้งแล้วจึงขุดขึ้นมา ทำให้เห็นถึงท่าทางสุดท้ายของชาวเมืองหลายคนก่อนที่จะตาย
ค.ศ. 1924-ค.ศ. 1961หัว หน้าคณะนักโบราณคดีได้เปลี่ยนคนเป็น อเมดีโอ มายอูรี เขาบูรณะซ่อมแซมฝาผนังและเพดาน ข้าวของเครี่องใช้ที่นำมาศึกษาจะถูกวางไว้ที่เดิมหลังศึกษาเสร็จ และเปิดเป็นแหล่งท่องเที่ยว ซึ่งผู้มาท่องเที่ยวจะสัมผัสได้ถึงชีวิตที่หรูหราในปอมเปอีและพลังอำนาจของ ธรรมชาติ
แผนที่
View ปอมเปอี Pompeii in a larger map
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น