ปัจจุบันการก่อสร้างเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพระบบระบายน้ำในพื้นที่เป็นไปด้วยความยากลำบาก ถึงแม้ว่า
กรุงเทพมหานครจะได้ก่อสร้างสถานีสูบน้ำขนาดใหญ่ตามริมแม่น้ำ ซึ่งมีขีดความสามารถระบายน้ำลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยาสูง ก็ตาม แต่ระบบระบายน้ำหลักที่เป็นเส้นทางลำเลียงน้ำมาสู่สถานีสูบน้ำมีขีดความ สามารถการระบายน้ำที่จำกัด ได้แก่
- ท่อระบายน้ำที่มีอายุการใช้งานนานกว่า 20 ปี ส่วนใหญ่มีขนาดเล็ก หากจะก่อสร้างเพื่อเปลี่ยนขนาดใหม่
จะต้องใช้งบปริมาณสูง และการก่อสร้างจะก่อให้เกิดปัญหาการจราจรติดขัด
- คูคลองสาธารณะที่เป็นเส้นทางระบายน้ำหลักนำน้ำจากท่อระบายน้ำไปสู่สถานีสูบน้ำมีขนาดจำกัดไม่เพียงพอ
ต่อประมาณน้ำฝนที่ตกในพื้นที่ หากจะทำการขยายและปรับปรุงขุดลอกให้ลึกกว่าเดิมก็มีความยากลำบากเนื่องจาก
บ้านเรือนประชาชนปลูกที่พักอาศัยอยู่ริมฝั่งคลองเป็นจำนวนมาก รวมทั้งพื้นที่น้ำท่วมขังบางแห่งมีระยะทางไกลจาก
สถานีสูบน้ำริมแม่น้ำมาก ทำให้การระบายน้ำท่วมขังเป็นไปได้ช้า
- พื้นที่รับรองและเก็บกักน้ำชั่วคราวเพื่อป้องกันน้ำท่วม (แก้มลิง)ที่กรุงเทพมหานครได้จัดหาไว้ มีไม่เพียงพอที่จะ
รับปริมาณน้ำฝนที่ท่วมขังในพื้นที่ได้
การแก้ไขปัญหาดังกล่าว กรุงเทพมหานครจึงได้ก่อสร้างอุโมงค์ระบายน้ำ เพื่อระบายน้ำจากพื้นที่น้ำ ท่วมขังให้ระบาย ลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยาโดยตรง โดยไม่ผ่านระบบระบายน้ำในปัจจุบันซึ่งมีขีด ความสามารถที่จำกัด โดยจนถึงปัจจุบันได้มี การดำเนินการก่อสร้างอุโมงค์ระบายน้ำแล้ว ได้แก่
1. โครงการก่อสร้างสถานีสูบน้ำและอุโมงค์ระบายน้ำซอยสุขุมวิท 26 โดยก่อสร้างสถานีสูบน้ำปากซอยสุขุมวิท 26
และสร้างอุโมงค์ลอดซอยสุขุมวิท 26 ไปคลองเตย บริเวณถนนเกษมราษฎร์ โดยก่อสร้างสถานีสูบน้ำขนาด 4 ลบ.ม./วินาที และอุโมงค์ขนาด 1.00 ม. ยาวประมาณ 1,100 ม. งบประมาณ 30 ล้านบาท ก่อสร้างแล้วเสร็จ เมื่อ พ.ศ. 2526
2. โครงการก่อสร้างระบบผันน้ำคลองเปรมประชากร จากคลองเปรมประชากร บริเวณบริษัทปูนซีเมนต์ไทย
ลอดใต้ถนนประชาราษฎร์ 2 ไปลงแม่น้ำเจ้าพระยา ก่อสร้างสถานีสูบน้ำขนาด 30 ลบ.ม./วินาที อุโมงค์ใต้ดินขนาด 3.40 ม. ยาวประมาณ 1,880 ม. งบประมาณ 495.45 ล้านบาท ก่อสร้างแล้วเสร็จกลางปี 2544
3. โครงการก่อสร้างระบบระบายน้ำพื้นที่เขตพญาไท โดยสร้างอุโมงค์รับน้ำจากถนนพหลโยธิน ลอดใต้ซอย
พหลโยธิน 7 (อารีย์) เก็บน้ำในบึงพิบูลวัฒนา(แก้มลิง) และสร้างอุโมงค์ลอดหมู่บ้านพิบูลวัฒนา คลองประปา
ซอยระนอง 1 ไปลงคลองเปรมประชากร โดยก่อสร้างสถานีสูบน้ำที่บึงพิบูลวัฒนา ขนาด 6 ลบ.ม./วินาที และสร้าง อุโมงค์ใต้ดิน ขนาด 2.40 ม. ยาวประมาณ 679 ม. และขนาด 1.50 ม. ยาวประมาณ 1,900 ม. งบประมาณ 339.12 ล้านบาท ก่อสร้างแล้วเสร็จเมษายน 2546
4. โครงการก่อสร้างสถานีสูบน้ำและอุโมงค์ระบายน้ำซอยสุขุมวิท 36 โดยก่อสร้าง สถานีสูบน้ำปากซอยสุขุมวิท 36 และสร้างอุโมงค์ลอดซอยสุขุมวิท 36 ถนนพระราม 4 ถนนทางรถไฟสายเก่าไปลงคลองเตย โดยก่อสร้างสถานีขนาด 6 ลบ.ม./วินาที และอุโมงค์ขนาด 1.75 ม. ยาว 1,320 ม. งบประมาณ 129 ล้านบาท ก่อสร้างแล้วเสร็จกันยายน 2544
5. โครงการก่อสร้างสถานีสูบน้ำและอุโมงค์ระบายน้ำซอยสุขุมวิท 42 โดยก่อสร้างสถานีสูบน้ำปากซอยสุขุมวิท 42 และสร้างอุโมงค์ลอดซอยสุขุมวิท 42 ถนนพระราม 4 ถนนทางรถไฟสายเก่าไปลงคลองเตย โดยก่อสร้างสถานีสูบน้ำขนาด 6 ลบ.ม./วินาที และอุโมงค์ขนาด 1.75 ม. ยาว 1,100 ม. งบประมาณ 109 ล้านบาท ก่อสร้างแล้วเสร็จเมษายน 2545
6. โครงการก่อสร้างอุโมงค์ระบายน้ำคลองแสนแสบ และคลองลาดพร้าวลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา จากบึงพระราม 9
ใต้คลองแสนแสบซอยสุขุมวิท 71 ถนนสุขุมวิทและคลองพระโขนง ไปลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณคลองพระโขนง ก่อสร้างสถานีสูบน้ำขนาด 60 ลบ.ม./วินาที ก่อสร้างท่อระบายน้ำใต้ดินขนาดไม่น้อยกว่า 5.00 ม. ยาวประมาณ 5.1 กม.
งบประมาณ 2,336 ล้านบาท ระยะเวลาก่อสร้าง 5 ปี ปัจจุบันอยู่ระหว่างก่อสร้าง คาดว่าจะแล้วเสร็จปลายปี 2550
7. โครงการก่อสร้างอุโมงค์ระบายน้ำบึงมักกะสัน ลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา จากบึงมักกะสันลอดใต้ขนานทางรถไฟ
สายช่องนนทรีย์ ลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยาที่คลองขุดวัดช่องลม โดยก่อสร้างสถานีสูบน้ำขนาด 45 ลบ.ม./วินาที และท่อระบาย
น้ำใต้ดินขนาด 4.60 ม. ประมาณ 5.98 กม. งบประมาณค่าก่อสร้าง 2,166 ล้านบาท ระยะเวลาก่อสร้าง 4 ปี ก่อสร้างแล้วเสร็จ เมื่อกันยายน 2550
ถึงแม้ว่าได้มีการก่อสร้างอุโมงค์ระบายน้ำทั้ง 7 แห่ง ดังกล่าวแล้ว ก็ยังไม่เพียงพอต่อที่จะระบายน้ำท่วมขังที่ยังคงมี อยู่ในพื้นที่ ดังนั้นกรุงเทพมหานครจึงมีแผนที่จะก่อสร้างอุโมงค์ระบายน้ำขนาดใหญ่ เพิ่มเติมอีก 2 แห่ง แต่เนื่องจากงบ ประมาณในการก่อสร้างสูงมากจึงจะได้ดำเนินการตามลำดับต่อไป โดยมีรายละเอียดอุโมงค์ระบายน้ำที่มีแผนจะก่อสร้าง1. โครงการก่อสร้างสถานีสูบน้ำและอุโมงค์ระบายน้ำซอยสุขุมวิท 26 โดยก่อสร้างสถานีสูบน้ำปากซอยสุขุมวิท 26
และสร้างอุโมงค์ลอดซอยสุขุมวิท 26 ไปคลองเตย บริเวณถนนเกษมราษฎร์ โดยก่อสร้างสถานีสูบน้ำขนาด 4 ลบ.ม./วินาที และอุโมงค์ขนาด 1.00 ม. ยาวประมาณ 1,100 ม. งบประมาณ 30 ล้านบาท ก่อสร้างแล้วเสร็จ เมื่อ พ.ศ. 2526
2. โครงการก่อสร้างระบบผันน้ำคลองเปรมประชากร จากคลองเปรมประชากร บริเวณบริษัทปูนซีเมนต์ไทย
ลอดใต้ถนนประชาราษฎร์ 2 ไปลงแม่น้ำเจ้าพระยา ก่อสร้างสถานีสูบน้ำขนาด 30 ลบ.ม./วินาที อุโมงค์ใต้ดินขนาด 3.40 ม. ยาวประมาณ 1,880 ม. งบประมาณ 495.45 ล้านบาท ก่อสร้างแล้วเสร็จกลางปี 2544
3. โครงการก่อสร้างระบบระบายน้ำพื้นที่เขตพญาไท โดยสร้างอุโมงค์รับน้ำจากถนนพหลโยธิน ลอดใต้ซอย
พหลโยธิน 7 (อารีย์) เก็บน้ำในบึงพิบูลวัฒนา(แก้มลิง) และสร้างอุโมงค์ลอดหมู่บ้านพิบูลวัฒนา คลองประปา
ซอยระนอง 1 ไปลงคลองเปรมประชากร โดยก่อสร้างสถานีสูบน้ำที่บึงพิบูลวัฒนา ขนาด 6 ลบ.ม./วินาที และสร้าง อุโมงค์ใต้ดิน ขนาด 2.40 ม. ยาวประมาณ 679 ม. และขนาด 1.50 ม. ยาวประมาณ 1,900 ม. งบประมาณ 339.12 ล้านบาท ก่อสร้างแล้วเสร็จเมษายน 2546
4. โครงการก่อสร้างสถานีสูบน้ำและอุโมงค์ระบายน้ำซอยสุขุมวิท 36 โดยก่อสร้าง สถานีสูบน้ำปากซอยสุขุมวิท 36 และสร้างอุโมงค์ลอดซอยสุขุมวิท 36 ถนนพระราม 4 ถนนทางรถไฟสายเก่าไปลงคลองเตย โดยก่อสร้างสถานีขนาด 6 ลบ.ม./วินาที และอุโมงค์ขนาด 1.75 ม. ยาว 1,320 ม. งบประมาณ 129 ล้านบาท ก่อสร้างแล้วเสร็จกันยายน 2544
5. โครงการก่อสร้างสถานีสูบน้ำและอุโมงค์ระบายน้ำซอยสุขุมวิท 42 โดยก่อสร้างสถานีสูบน้ำปากซอยสุขุมวิท 42 และสร้างอุโมงค์ลอดซอยสุขุมวิท 42 ถนนพระราม 4 ถนนทางรถไฟสายเก่าไปลงคลองเตย โดยก่อสร้างสถานีสูบน้ำขนาด 6 ลบ.ม./วินาที และอุโมงค์ขนาด 1.75 ม. ยาว 1,100 ม. งบประมาณ 109 ล้านบาท ก่อสร้างแล้วเสร็จเมษายน 2545
6. โครงการก่อสร้างอุโมงค์ระบายน้ำคลองแสนแสบ และคลองลาดพร้าวลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา จากบึงพระราม 9
ใต้คลองแสนแสบซอยสุขุมวิท 71 ถนนสุขุมวิทและคลองพระโขนง ไปลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณคลองพระโขนง ก่อสร้างสถานีสูบน้ำขนาด 60 ลบ.ม./วินาที ก่อสร้างท่อระบายน้ำใต้ดินขนาดไม่น้อยกว่า 5.00 ม. ยาวประมาณ 5.1 กม.
งบประมาณ 2,336 ล้านบาท ระยะเวลาก่อสร้าง 5 ปี ปัจจุบันอยู่ระหว่างก่อสร้าง คาดว่าจะแล้วเสร็จปลายปี 2550
7. โครงการก่อสร้างอุโมงค์ระบายน้ำบึงมักกะสัน ลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา จากบึงมักกะสันลอดใต้ขนานทางรถไฟ
สายช่องนนทรีย์ ลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยาที่คลองขุดวัดช่องลม โดยก่อสร้างสถานีสูบน้ำขนาด 45 ลบ.ม./วินาที และท่อระบาย
น้ำใต้ดินขนาด 4.60 ม. ประมาณ 5.98 กม. งบประมาณค่าก่อสร้าง 2,166 ล้านบาท ระยะเวลาก่อสร้าง 4 ปี ก่อสร้างแล้วเสร็จ เมื่อกันยายน 2550
ดังนี้
1. โครงการก่อสร้างอุโมงค์ใต้คลองบางซื่อจากคลองลาดพร้าวลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยาที่ ก่อสร้างสถานีสูบน้ำขนาด
60 ลบ.ม./วินาที และอุโมงค์ใต้ดินขนาด 5.00 ม. ยาวประมาณ 6.40 กม. งบประมาณ 2,500 ล้านบาท
2. โครงการก่อสร้างอุโมงค์คลองบางเขนจากคลองลาดพร้าวลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณปากคลองบางเขนใหม่
ก่อสร้างสถานีสูบน้ำขนาด 60 ลบ.ม./วินาที และก่อสร้างท่อระบายน้ำใต้ดิน ขนาด 5.00 ม. ยาวประมาณ 10 กม.
งบประมาณ 3,000 ล้านบาท
ข้อมูลดีจังค่ะ ขอบคุณสำหรับข้อมูลนะคะ
ตอบลบ