วันจันทร์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2554
เทศกาลโต๊ะจีนลิง ลพบุรี ไทย Thailand
เทศกาลโต๊ะจีนลิง ได้จัดว่า เป็น 1 ใน 10 ของเทศกาลที่แปลกที่สุดในโลก และเป็นเทศกาลงานประเพณีที่สำคัญของจังหวัดลพบุรี
การจัดงานเลี้ยง "โต๊ ะจีนลิง" ของ จังหวัดลพบุรี เริ่มมีขึ้นครั้งแรกตั้งแต่ปี 2532 สร้างชื่อเสียงให้กับจังหวัดลพบุรีจนโด่งดังไปทั่วโลก และถูกจัดเข้าปฏิทินงานประจำปีของจังหวัด งานดังกล่าวเริ่มขึ้นจากการลงแรงกายแรงความความคิดของ นายยงยุทธ กิจวัฒนานุสนธิ์ ประธาน บริษัท ลพบุรีอินน์กรุ๊ป และดำเนินการต่อเนื่องจนกระทั่งปัจจุบันขึ้นสู่ปีที่ 14 ลิงบริเวณศาลพระกาฬ พระปรางค์สามยอด จะแยกพวกกันกับลิงบริเวณตึก สภาพของ ลิงศาลพระกาฬ ค่อนข้างได้รับการเลี้ยงดูอย่างอิ่มหมีพลีมัน เนื่องจากมีผู้คนที่มากราบไหว้สักการะศาลฯ เลี้ยงดู ขณะที่ ลิงพระปรางค์สามยอด และลิงตึกที่มีอยู่ประมาณ 3,000 ตัว มีความเป็นอยู่ที่ลำบาก บางมื้อก็กินไม่อิ่ม
ในการจัดงานเทศกาลในครังนี้ก็เพื่อให้ลิงซึ่ง อาศัยอยู่บริเวณ ศาลพระกาฬ พระปรางค์สามยอด และตามตึกได้กินอิ่มอย่างเป็นทางการปีละครั้ง หลังจากที่มนุษย์เข้ามาสร้างเมืองจนลิงเจ้าถิ่นต้องกลายเป็นเพียงผู้อาศัยไป ทั้งนี้ สำหรับเทศกาลโต๊ะจีนลิง จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี เพื่อเลี้ยงบรรดาลิงที่มาอาศัยอยู่ในบริเวณศาลพระกาฬ ซึ่งชาวบ้านเชื่อว่า เป็นศิษย์ของเจ้าพ่อพระกาฬ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ของจังหวัด บรรดาลิงเหล่านี้ จึงได้รับความช่วยเหลือให้อาหารจากชาวบ้านเป็นอย่างดีเรื่อยมา และเทศกาลโต๊ะจีนลิงนี้ ยังเป็นอีกหนึ่งในมาตรการส่งเสริมการท่องเที่ยวที่ส่วนราชการ และพ่อค้าประชาชน ร่วมกันจัดขึ้นเพื่อหวังดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติให้ เดินทางมาเยี่ยมชม ความน่ารักของลิงและคนที่อยู่ร่วมกันมายาวนานโดยเฉพาะชาวต่างชาติที่ให้ความ สนใจเป็นอย่างมาก เพราะว่าเป็นเทศกาลที่แปลกเทศกางหนึ่งที่เราหาชมได้ยากมาก และสื่อชั้นนำของต่างชาติยังนำไปเผยแพร่ต่อสายตาชาวโลกจนเป็นที่รู้จักไปทั่วโลกอยู่ในขณะนี้
งานเลี้ยงโต๊ะจีนลิง จัดขึ้นทุกวันอาทิตย์ สัปดาห์สุดท้ายของเดือนพฤศจิกายน ณ บริเวณศาลพระกาฬ และพระปรางค์สามยอด มีฝูงลิงอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก เป็นที่สนใจสำหรับนักท่องเที่ยว บรรดานักท่องเที่ยวที่มานมัสการเจ้าพ่อพระกาฬ มักจะนำอาหารและผลไม้มาเลี้ยงลิง ทำให้ลิงมีความเชื่องและคุ้นเคยกับนักท่องเที่ยวมากขึ้น ในงานมีกิจกรรมต่าง ๆ มากมาย
แผนที่
View เทศกาลโต๊ะจีนลิง in a larger map
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น