วันพุธที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553
เครื่องเร่งอนุภาคขนาดใหญ่ Large Hadron Collider - LHC
องค์กรเพื่อการวิจัยนิวเคลียร์แห่งยุโรป (อังกฤษ: European Organization for Nuclear Research; CERN; ฝรั่งเศส: Organisation européenne pour la recherche nucléaire) เรียกโดยทั่วไปว่า "เซิร์น" เป็นองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศในทวีปยุโรปเพื่อวิจัยและพัฒนาทางด้านนิวเคลียร์ ก่อตั้งเมื่อวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2497 โดยมีประเทศสมาชิกก่อตั้ง 12 ประเทศ มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงเจนีวา สวิตเซอร์แลนด์
เมื่อแรกก่อตั้ง เซิร์น มีชื่อว่า "สภาวิจัยนิวเคลียร์ยุโรป" หรือ Conseil Européen pour la Recherche Nucléaire (European Council for Nuclear Research) ซึ่งเป็นที่มาของชื่อย่อ CERN
บทบาทหลักของเซิร์นคือ การจัดเตรียมเครื่องเร่งอนุภาคและโครงสร้างอื่นๆที่จำเป็นต่อการวิจัยด้านฟิสิกส์อนุภาค เซิร์นเป็นสถานที่ทำการทดลองมากมายที่เกิดจากความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อ นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ และยังมีชื่อเสียงในฐานะเป็นต้นกำเนิดของเวิลด์ไวด์เว็บ สำนักงานหลักที่เขตเมแร็ง มีศูนย์คอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่มีอุปกรณ์ประมวลผลข้อมูลที่มีประสิทธิภาพสูง มากเพื่อการวิเคราะห์ข้อมูลจากการทดลอง และเนื่องจากจำเป็นต้องทำให้นักวิจัยในสถานที่อื่นสามารถนำข้อมูลเหล่านี้ไป ใช้ได้ จึงต้องมีฮับสำหรับข่ายงานบริเวณกว้างอีกด้วย
ในฐานะที่เป็นองค์กรระหว่างประเทศ สถานที่ของเซิร์นจึงไม่อยู่ภายใต้อำนาจทางกฎหมายของทั้งสวิตเซอร์แลนด์และ ฝรั่งเศส ใน พ.ศ. 2551 เซิร์นได้รับยอดบริจาคจากประเทศสมาชิกรวมแล้ว 1 พันล้านฟรังก์สวิส[2]
สำนักงานใหญ่ของเซิร์น ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของกรุงเจนีวา ใกล้กับชายแดนฝรั่งเศส-สวิตเซอร์แลนด์ เป็นที่ตั้งของห้องปฏิบัติการนิวเคลียร์ฟิสิกส์ขนาดใหญ่ ซึ่งมีเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ 3000 คน
ปัจจุบัน เซิร์นกำลังติดตั้งเครื่องเร่งอนุภาคขนาดใหญ่ (Large Hadron Collider - LHC) ภายในอุโมงค์ใต้ดินรูปวงแหวนขนาดเส้นรอบวง 27 กิโลเมตร มีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่ใต้ดินของประเทศฝรั่งเศส และสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก การติดตั้งจะแล้วเสร็จและเริ่มการทดลองภายในเดือนกันยายน พ.ศ. 2551
แผนที่
View เครื่องเร่งอนุภาคขนาดใหญ่ Large Hadron Collider - LHC in a larger map
เมาน์ท รัชมอร์ Mount Rushmore สหรัฐอเมริกา America
| ||||||
เมาน์ท รัชมอร์ ( Mount Rushmore ) คือภูเขาส่วนที่เป็นหน้าผาหินใช้เกาะสลักเป็นรูปใบหน้าขนาดใหญ่ของอดีต ประธานาธิบดี 4 คนของอเมริกา ผู้ริเริ่มความคิดที่จะสร้างอนุสาวรีย์ให้กับวีรบุรุษของคนอเริกัน อีกทั้งยังเป็นจุดดึงดูดให้นักท่องเที่ยวมาดูผู้นั้นคือ โดนส์ โรบินสัน ( Doans Robinson ) โรบินสันได้เชิญปฏิมากรชื่อดังคือ จอห์น กัตซัน บอร์ลัม ( John Gutzon Borglum )มาเป็นผู้ดำเนินการและควบคุมการแกะสลัก งานเริ่มในปี ค.ศ.11924 และเสร็จในปี ค.ศ.1941 ใบหน้าที่แกะสลักไว้เป็นท่านแรกคือ จอร์จ วอชิงตัน ประธานาธิบดีคนแรกของอเมริกา ท่านนี้เกิดเมื่อปีค.ศ.1732 ที่รัฐเวอร์จิเนีย และได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีเมื่อปีค.ศ.1779 ท่านที่สองคือ โธมัส เจฟเฟอร์สัน ประธานาธิบดีคนที่สาม เกิดเมื่อปีค.ศ.1743 เจฟเฟอร์สันได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีถึง 2 สมัยติดกัน ส่วนท่านที่สามคือ ธีโอดอร์ รูสเวลท์ ประธานาธิบดีคนที่ 26 ผู้ที่ทำให้โครงการขุดคลองปานามาสำเร็จลงได้ในปีค.ศ.1903 และท่านสุดท้ายคือ อับราฮัม ลินคอล์น ท่านผู้นี้ได้รับเลือกให้เป็นประธานาบดีของอเมริกา เมื่อปีค.ศ.1860 และคนที่16 ของประเทศ งานแกะสลักใบหน้าทั้งสี่เสร็จสิ้นเรียงลำดับตามที่ได้กล่าวมาข้างต้น คือ ปีค.ศ.1930-1936-1939 และ 1937 โดยโครงการนี้เสร็จสิ้นจริง ๆ ในปีค.ศ.1941 วึ่งปัจจุบัน เครื่องไม้เครื่องมือที่ใช้ในการทำงานครั้งนั้น ก็ยังคงเก็บรักษาและวางแสดงอยู่บริเวณเชิงเขา ให้ประชาชนได้เข้าชมทุกวัน ปกติฤดูร้อนจึงจะมีนักท่องเที่ยวมากันเยอะ เพราะอากาศจะเย็นสบาย |
ดู เมาน์ท รัชมอร์ Mount Rushmore ในแผนที่ขนาดใหญ่กว่า
คลองลัดโพธิ์ สมุทรปราการ ไทย Thailand
คลองลัดโพธิ์ เป็นชื่อคลองเดิม บริเวณเขตจังหวัดสมุทรปราการและกรุงเทพมหานคร (ต.ทรงคะนอง อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ) เดิมที่มีลักษณะตื้นเขิน ต่อมาได้จัดสร้างเป็นโครงการตามแนวพระราชดำริ เป็นการบริหารจัดการน้ำเพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพมหานคร โดยยึดหลักการ "เบี่ยงน้ำ" (Diversion) ภายใต้การดูแลของหน่วยงานหลัก 3 หน่วยงานคือ กรมชลประทาน กรุงเทพมหานคร และคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (กปร.) มีหลักการคือ จากสภาพของแม่น้ำเจ้าพระยาเดิมที่มีลักษณะไหลวนคดเคี้ยวบริเวณรอบพื้นที่ บริเวณบางกระเจ้านั้นมีความยาวถึง 18 กิโลเมตร นั้นทำให้การระบายน้ำที่ท่วมพื้นที่ชั้นในของกรุงเทพมหานครเป็นไปได้ช้า ไม่ทันเวลาน้ำทะเลหนุน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯจึงมีพระราชดำริให้พัฒนาใช้คลองลัดโพธิ์ ซึ่งเดิมมีความตื้นเขินมีความยาวราว 600 เมตร ให้ใช้ระบายน้ำที่หลากและน้ำที่ท่วมทางสองฝั่งของแม่น้ำเจ้าพระยาลงสู่ทะเล ทันทีในช่วงก่อนที่น้ำทะเลหนุน และปิดคลองลัดโพธิ์เมื่อน้ำทะเลหนุน เพื่อหน่วงน้ำทะเลไม่ให้ขึ้นลัดเลาะไปตามแนวแม่น้ำเจ้าพระยาที่คดโค้งถึง 18 กิโลเมตรก่อนซึ่งใช้เวลามากจนถึงเวลาน้ำลง ทำให้ไม่สามารถขึ้นไปท่วมตัวเมืองได้
แผนที่
ดู คลองลัดโพธิ์ สมุทรปราการ ในแผนที่ขนาดใหญ่กว่า
วันอาทิตย์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553
นคร เมือง เพทรา (Petra) จอร์แดน Jordan
นครเปตรา (จากภาษากรีก πέτρα แปลว่าหิน ภาษาอารบิก البتراء) คือนครหินแกะสลักโบราณที่ซ่อนตัวอย่างลึกลับในหุบเขาวาดี มูซา หุบเขาที่ตั้งอยู่ระหว่างทะเลสาบเดดซีกับทะเลอัคบาในประเทศจอร์แดน นครนี้แต่เดิมนั้นเป็นนครแห่งการค้าขนาดใหญ่ซึ่งต่อมาถูกละทิ้งเป็นเวลานานกว่า 700 ปี จนเมื่อมีนักสำรวจชาวสวิตเซอร์แลนด์ โยฮันน์ ลุควิก บวร์กฮาร์ท เดินทางผ่านมาพบเห็นเข้าเมื่อปี พ.ศ. 2355 (ค.ศ. 1812)
นครเปตราได้รับลงทะเบียนจากองค์การยูเนสโกให้เป็นมรดกโลกเมื่อปี พ.ศ. 2528 โดยกล่าวอธิบายไว้ว่า "เป็นหนึ่งในสิ่งที่ล้ำค่ามากที่สุดของมรดกทางวัฒนธรรมแห่งมวลมนุษยชาติ" (one of the most precious cultural properties of man's cultural heritage) [1] ปัจจุบันสามารถเดินทางเข้าไปโดยอาศัยม้าเท่านั้น
เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 นครเปตราได้รับคัดเลือกให้เป็น 1 ใน เจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคใหม่ของโลก จากการลงคะแนนทั่วโลกทั้งทางอินเทอร์เน็ตและโทรศัพท์มือถือ
ดูแบบ 360 องศา
http://www.world-heritage-tour.org/middle-east/dead-sea/jordan/petra/al-khazna-the-pharaoh-s-treasury/sphere-flash.html
แผนที่
View เมืองเพทรา (Petra) in a larger map
เกาะอีสเตอร์ Easter Island
เกาะอีสเตอร์ (Easter Island) หรือตามภาษาถิ่นเรียกว่า เกาะราปานุย (Rapa Nui) และในภาษาสเปนเรียกว่า เกาะปัสกวา (Isla de Pascua) ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกอยู่ในการปกครองของประเทศชิลี ซึ่งเกาะห่างจากฝั่งประเทศชิลีกว่า 3,600 กิโลเมตร ไปทางทิศตะวันตก เกาะที่ใกล้เกาะอีสเตอร์มากที่สุดอยู่ห่างฝั่งจากถึง 2,000 กิโลเมตร จึงได้ชื่อว่าเป็นสถานที่อันโดดเดี่ยวแห่งหนึ่งของโลก ลักษณะของเกาะมีขนาดเล็ก มีพื้นที่เพียง 160 ตารางกิโลเมตร มีความยาว 25 กิโลเมตร
แผนที่
View เกาะอีสเตอร์ Easter Island in a larger map
อุโมงค์ช่องแคบอังกฤษ Channel Tunnel อังกฤษ English
อุโมงค์ช่องแคบอังกฤษ (อังกฤษ: Channel Tunnel; ฝรั่งเศส: Le tunnel sous la Manche) เป็นอุโมงค์รถไฟใต้ทะเลที่สร้างเชื่อมระหว่างเมืองฟอล์คสโตน มณฑลเค้นท์ บริเตนใหญ่ กับตำบลคอแกลส์ เมืองกาเลส์ ทางตอนเหนือของฝรั่งเศส อุโมงค์แห่งนี้สร้างลอดใต้ช่องแคบอังกฤษบริเวณช่องแคบโดเวอร์ ซึ่งเป็นส่วนที่แคบที่สุด ที่มีความกว้าง 34 กิโลเมตร
อุโมงค์ช่องแคบอังกฤษมีความยาวทั้งสิ้น 50.5 กิโลเมตร มีส่วนที่อยู่ใต้ทะเลยาว 37.9 กิโลเมตร ส่วนที่อยู่ต่ำที่สุด อยู่ลึก 75 เมตร [1][2]
อุโมงค์ช่องแคบอังกฤษก่อสร้างและบริหารงานโดยบริษัท ยูโรทันเนล ซึ่งจัดการเดินรถไฟความเร็วสูงยูโรสตาร์ การก่อสร้างเริ่มต้นตั้งแต่ ค.ศ. 1988 เปิดใช้งานอุโมงค์เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม ค.ศ. 1994 เปิดการเดินรถเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน ค.ศ. 1994 การก่อสร้างใช้งบประมาณ 4,650 พันล้านปอนด์ มากกว่าที่คาดการณ์ไว้ 80% [3]
แนวคิดในการก่อสร้างอุโมงค์ช่องแคบอังกฤษ ได้รับการเสนอมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 19 โดยมีการเสนอโครงการต่อจักรพรรดินโปเลียนที่ 3 ในปี ค.ศ. 1856 ด้วยงบประมาณ 170 ล้านฟรังก์ (7 ล้านปอนด์) [4] และต่อวิลเลียม แกลดสตัน นายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร ในปี ค.ศ. 1865 [4] แต่โครงการนี้ได้ถูกยกเลิกไปเนื่องจากปัญหาด้านการเมือง ความมั่นคง และการป้องกันประเทศ
โครงการนี้ถูกนำมาพิจารณาอีกครั้งในปี ค.ศ. 1955 โดยตัดปัญหาเรื่องการป้องกันประเทศออกไป เนื่องจากในขณะนั้นการรุกรานประเทศสามารถกระทำได้ด้วยการโจมตีทางอากาศ แต่โครงการก็ล่าช้าไปเนื่องจากปัญหาทางการเมืองในสหราชอาณาจักร จนกระทั่งปี ค.ศ. 1981 นางมาร์กาเรต แทตเชอร์ และนายฟรองซัวส์ มิตแตร์รองด์ ผู้นำของทั้งสองประเทศจึงได้บรรลุข้อตกลงในการก่อสร้างอุโมงค์แห่งนี้
แผนที่
View อุโมงค์ช่องแคบอังกฤษ Channel Tunnel in a larger map
อุโมงค์เซกัง Seikan Tunnel ญี่ปุ่น Japan
อุโมงค์เซคัง (ญี่ปุ่น: 青函トンネル; อังกฤษ: Seikan Tunnel) เป็นอุโมงค์รถไฟที่ให้บริการโดยบริษัทรถไฟฮกไกโด สร้างขึ้นเพื่อเชื่อมระหว่างเกาะฮนชูกับเกาะฮกไกโดในประเทศญี่ปุ่นตรงบริเวณช่องแคบสึงะรุ ซึ่งเป็นอุโมงค์ลอด ใต้ทะเลที่ยาวที่สุดในโลกมีความยาวกว่า 53.85 กิโลเมตร (23.3 กิโลเมตรบริเวณพื้นทะเล) เนื่องมาจากปริมาณผู้ที่ข้ามช่องแคบสึงะรุมีมากขึ้นทุกปี และรถไฟโดยสารต้องเสียเวลาในการโดยสารขึ้นเรือเฟอร์รี เพื่อที่จะข้ามช่องแคบไปอีกฝั่ง ซึ่งต้องเสียเวลาในการเดินทาง ทำให้มีการขุดอุโมงค์นี้ขึ้นในเดือนสิงหาคม ปี ค.ศ. 1982 และเปิดใช้เมื่อวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2531 (ค.ศ. 1988) ใช้งบประมาณในการก่อสร้างทั้งสิ้น 3.6 พันล้านเหรียญสหรัฐ
แผนที่
View อุโมงค์เซกัง Seikan Tunne in a larger map
เมืองเมกกะ Mecca ซาอุดิอาระเบีย Saudi Arabia
นครวาติกัน State of the Vatican City
นครรัฐวาติกัน (State of the Vatican City) ตั้งอยู่ในกรุงโรม ประเทศอิตาลี เป็นที่ประทับของ พระสันตะปาปา ซึ่งเป็นประมุขสูงสุดแห่งศาสนาคริสต์ นิกายโรมันคาทอลิก นครรัฐวาติกันจัดว่าเป็นประเทศ ที่มีขนาดเล็กที่สุดในโลก ศูนย์กลางคือ มหาวิหารเซนต์ปีเตอร์ ออกแบบโดยมีเกลันเจโล
แผนที่
View นครรัฐวาติกัน State of the Vatican City in a larger map
เมืองเวนิช เวนิส Venice อิตาลี Italy
เวนิส (อังกฤษ: Venice) หรือ เวเนเซีย (อิตาลี: Venezia) เป็นเมืองหลวงของแคว้นเวเนโต ประเทศอิตาลี มีประชากร 271,663 คน (ข้อมูลวันที่ 1 มกราคม 2547) เมืองเวนิสได้รับฉายาว่า ราชินีแห่งทะเลอาเดรียตริก (Queen of the Adriatic), เมืองแห่งสายน้ำ (City of Water), เมืองแห่งสะพาน (City of Bridges), และ เมืองแห่งแสงสว่าง (The City of Light)
เมืองเวนิสถูกสร้างขึ้นจากการเชื่อมเกาะเล็กๆ จำนวนมากเข้าด้วยกันในบริเวณทะเลสาบเวนิเทีย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของทะเลอาเดรียตริก ในภาคเหนือของประเทศอิตาลี ทะเลสาบน้ำเค็มนี้ตั้งอยู่บริเวณชายฝั่งระหว่างปากแม่น้ำโปกับแม่น้ำพลาวิ มีผู้อยู่อาศัยโดยประมาณ 272,000 คน ซึ่งนับรวมหมดทั้งเวนิส โดยมี 62,000 คนในบริเวณเมืองเก่า 176,000 คนในเทอร์ราเฟอร์มา (Terraferma) และ 31,000 คนในเกาะอื่นๆ ในทะเลสาบ
แผนที่
View เวนิส Venice in a larger map
เมืองอัมสเตอร์ดัม (Amsterdam) ฮอลแลนด์ เนเธอร์แลนด์ Netherlands
อัมสเตอร์ดัม (Amsterdam) เป็นเมืองหลวงของประเทศเนเธอร์แลนด์ ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำอัมสเทล (Amstel) เริ่มก่อตั้งประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 12 ปัจจุบันเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของเนเธอร์แลนด์ มีประชากรในเขตตัวเมืองประมาณ 742,000 คน แต่ถ้านับรวมประชากรในเขตเมืองโดยรอบทั้งหมด จะมีประมาณ 1.5 ล้านคน (ข้อมูลปี 2005)
อัมสเตอร์ดัมเป็นเมืองศูนย์กลางทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญแห่งหนึ่งของทวีปยุโรป โดยเฉพาะช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 17 ซึ่งเป็นช่วงยุคทองของเนเธอร์แลนด์
ถึงแม้อัมสเตอร์ดัมจะเป็นเมืองหลวงของประเทศ แต่ศูนย์กลางของหน่วยงานรัฐบาลนั้นอยู่ที่เฮก
แผนที่
View เมืองอัมสเตอร์ดัม Amsterdam in a larger map
สะพานน้ำ Magdeburg Water Bridge เยอรมัน German
The Magdeburg Water Bridge (German: Wasserstraßenkreuz) is a navigable aqueduct in Germany, completed in October 2003. It connects the Elbe-Havel Canal to the Mittellandkanal ("Midland Canal"), crossing over the River Elbe. The canals had previously met near Magdeburg but at opposite banks across the River Elbe. It is notable for being the longest navigable aqueduct in the world, with a length of 918 metres.
Magdeburg Water Bridge (เยอรมัน : Wasserstraßenkreuz) เป็นท่อระบายน้ำเดินเรือในประเทศเยอรมันแล้วเสร็จในตุลาคม 2003 ที่เชื่อมต่อเกาะในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน - Havel คลองเพื่อ Mittellandkanal ("Midland คลอง") ข้ามแม่น้ำเกาะในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน คลองได้พบก่อนหน้านี้ใกล้ Magdeburg แต่ที่ตรงข้ามธนาคารข้ามแม่น้ำเกาะในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน มันเป็นชื่อเสียงสำหรับการเดินเรือท่อระบายน้ำที่ยาวที่สุดในโลกมีความยาว 918 เมตร
แผนที่
View สะพานน้ำ Magdeburg Water Bridge in a larger map
โคลีเซียม โคลอสเซียม Colosseum อิตาลี Italy
โคลอสเซียม (อังกฤษ: Colosseum หรือ Flavian Amphitheatre; อิตาลี: Colosseo - โคลอสโซ) เป็นสนามกีฬากลางแจ้งขนาดใหญ่ตั้งอยู่ใจกลางกรุงโรม เริ่มสร้างขึ้นในสมัยจักรพรรดิเวสเปเซียนแห่งจักรวรรดิโรมัน และสร้างเสร็จในสมัยของจักรพรรดิไททัส ในคริสต์ศตวรรษที่ 1 หรือประมาณปี ค.ศ. 80 อัฒจันทร์เป็น รูปวงกลมก่อด้วยอิฐและหินทรายวัดโดยรอบได้ประมาณ 527 เมตร สูง 57 เมตร สามารถจุผู้ชมได้ประมาณ 50,000 คน มีการออกแบบอย่างชาญฉลาดโดยสร้างให้สนามกีฬามีลักษณะเป็นรูปวงรี เพื่อให้ผู้ชมรู้สึกเข้าใกล้นักกีฬา และมีการออกแบบทางระบายน้ำเพื่อไม่ให้น้ำท่วมขังในสนามขณะเกิดฝนตก ถือเป็นต้นแบบของสนามกีฬาต่างๆในปัจจุบัน
ในบางครั้งจะมีการเรียกชื่อ โคลิเซียม (Coliseum)
7 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 โคลอสเซียมได้รับเลือกให้เป็น1 ในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคใหม่ จากการลงคะแนนทั่วโลกทั้งทางอินเทอร์เน็ตและโทรศัพท์มือถือ
แผนที่
View โคลอสเซียม Colosseum in a larger map
ทัชมาฮาล Taj Mahal อินเดีย India
ทัชมาฮาล สุสานหินอ่อนที่ผู้คนเชื่อว่าเป็นสถาปัตยกรรมแห่งความรักที่สวยที่สุดในโลก ถูกสร้างขึ้นโดยกษัตริย์อินเดียผู้มีรักมั่นคงต่อพระมเหสีของพระองค์ เจ้าชายขุร์รัม ชึ่งต่อมาคือจักรพรรดิชาห์ ชหาน พระราชสมภพในปี พ.ศ. 2135 (ค.ศ. 1592) พระบิดา คือ จักรพรรดิ ชาห์ ชหานชีร์ จักรพรรดิองค์ที่สี่แห่งราชวงศ์โมกุล แห่งอินเดีย ตามตำนานกล่าวว่า เจ้าชายขุร์รัม ได้พบกับ อรชุมันท์ พานุ เพคุม ธิดาของรัฐมนตรี เมื่อพระองค์ มีพระชนมายุ 14 พรรษา พระองค์ทรงหลงใหลและหลงรักนาง เจ้าชายขุร์รัมจึงซื้อเพชรด้วยเงิน 10,000 รูปีและบอกแก่พระบิดาของพระองค์ว่าพระองค์มีความประสงค์ที่จะแต่งงานกับบุตร สาวของรัฐมนตรี พิธีอภิเษกถูกจัดขึ้นหลังจากนั้น 5 ปี ในปี พ.ศ. 2155 (ค.ศ. 1612) จากนั้นมาทั้งสองก็มิเคยอยู่ห่างกันอีกเลย
หลังจากที่พระเจ้าชาห์ ชหาน ขึ้นครองราชบัลลังก์ในปี พ.ศ. 2171 พระองค์มอบความไว้วางใจแก่ อรชุมันท์ พานุ เพคุม และเรียกนางว่า มุมตัซ มาฮาล "อัญมณีแห่งราชวัง" พระมเหสีติดตามพระองค์ แม้แต่ในสนามรบ แนะนำพระองค์ในเรื่องราชการของประเทศ และพระองค์ซาบซึ้งในน้ำพระทัยของพระมเหสียิ่งนัก ครั้นในปี พ.ศ. 2174 (ค.ศ. 1631) พระมเหสีมุมตัซสิ้นพระชนม์ หลังจากให้กำเนิดทายาทองค์ที่ 14 การสิ้นพระชนม์ของพระมเหสีทำให้พระเจ้าชาห์ ชหานโศกเศร้าอยู่ถึงสองทศวรรษ ราชสมบัติส่วนใหญ่สูญเสียไปเพื่อการสร้างอนุสรณ์แห่งความรักของทั้งสองพระองค์
ในปี พ.ศ. 2200 (ค.ศ. 1657) พระเจ้าชาห์ ชหานทรงพระประชวร และในปี พ.ศ. 2201 (ค.ศ. 1658) พระโอรส โอรังเซบ จับพระเจ้าชาห์ ชหานขัง และขึ้นครองราชบัลลังก์แทน พระองค์ถูกกักขังอยู่ถึง 8 ปี จนกระทั่งสวรรคตในปี พ.ศ. 2209 (ค.ศ. 1666) ตามตำนานกล่าวว่าให้วันสุดท้ายของชีวิตพระองค์ใช้เวลาทั้งวันในการจ้องมอง เศษกระจกที่สะท้อนภาพของทัชมาฮาล และสิ้นพระชนม์ด้วยเศษกระจกในกำมือ พระเจ้าชาห์ ชหานถูกฝังในทัชมาฮาล เคียงข้างมเหสีซึ่งพระองค์ไม่เคยลืม มีบางคนกล่าวว่าพระเจ้าชาห์ ชหาน มิได้ประสงค์ที่จะถูกฝังร่วมกับประมเหสี แต่พระองค์มีแผนการที่จะสร้างสุสานอีกแห่งด้วยหินอ่อนสีดำ เพื่อเป็นสุสานของพระองค์ แต่ผู้รู้หลายท่านเชื่อว่าพระองค์ประสงค์ที่จะถูกฝังเคียงข้างพระนางมุมตัซ มาฮาล
แผนที่
View ทัชมาฮาล in a larger map
คลองสุเอซ Suez Canal อียิปต์ Egypt
คลองสุเอซ (อังกฤษ: Suez Canal) เป็นคลองที่มนุษย์สร้างขึ้นในประเทศอียิปต์ ระหว่าง Port Said (Būr Sa'īd) ฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และเมืองสุเอซ (Suez) บนฝั่งทะเลแดง มีความยาว 183 กิโลเมตร
คลองสุเอซช่วยให้การเดินทางระหว่างทวีปยุโรปกับทวีปเอเชียสั้นลงเป็นอย่างมาก เนื่องจากเรือไม่ต้องเดินทางอ้อมทวีปแอฟริกา ก่อนการสร้างคลองนั้น ใช้การขนถ่ายสินค้าทางบกระหว่างทะเลเมดิเตอร์เรเนียนกับทะเลแดง
คลองสุเอซแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนเหนือและส่วนใต้ โดยมีทะเลสาบเกรทบิทเทอร์ (Great Bitter) เป็นจุดกลาง
[แก้] คลองสุเอชในปัจจุบัน
- ปัจจุบันคลองสุเอชไม่จำเป็นต้องมีการกั้นคลอง (canal lock) เพราะระดับน้ำทะเล ระหว่าง 2 มหาสมุทรนั้นใกล้เคียงกัน โดยคลองสามารถรับเรือที่มีน้ำหนักขนส่งได้มากถึง 150,000 ตัน ความกว้างของเรือที่สามารถผ่านได้คือไม่เกิน 16 เมตร และในปี ค.ศ. 2010 มีแนวทางการขยายให้สามารถรองรับเรือที่กว้างถึง 22 เมตรได้ โดยปัจจุบันเรือที่มีขนาดหน้ากว้างเกิน 16 เมตร จะต้องทำการขนถ่ายสินค้าโดยใช้เรือเล็กขนส่งของตนเอง จากต้นคลองไปยังสู่จุดสิ้นสุดของคลอง
- มีเรือผ่านคลองนี้ประมาณ 25,000 ลำในแต่ละปี ซึ่งขนถ่ายสินค้าคิดเป็นจำนวน 14% ของการขนส่งทางเรือทั้งหมด การขนส่งตั้งแต่ต้นคลองจนถึงจุดสิ้นสุดคลอง ใช้เวลาประมาณ 11-16 ชม
แผนที่
View คลองสุเอซ Suez Cana in a larger map
คลองปานามา Panama Canal ปานามา Panama
คลองปานามา เป็นคลองเดินเรือสมุทรความยาว 77 กิโลเมตร สร้างขึ้นบริเวณคอคอดปานามาในประเทศปานามา เพื่อเชื่อมมหาสมุทรแปซิฟิกกับมหาสมุทรแอตแลนติกเข้าด้วยกัน ซึ่งช่วยย่นระยะเวลาที่ต้องไปอ้อมช่องแคบเดรกและแหลมฮอร์น ทางใต้สุดของทวีปอเมริกาใต้ คิดเป็นระยะทางกว่า 22,500 กิโลเมตร[1] ซึ่งมีผลอย่างยิ่งต่อการเดินเรือระหว่างสองมหาสมุทร โดยถูกใช้เป็นเส้นทางเดินเรือหลักสำหรับการค้าทางทะเลระหว่างประเทศ ตั้งแต่เปิดทำการ คลองปานามาประสบความสำเร็จและเป็นกุญแจสำคัญในการขนส่งสินค้าทั่วโลก จำนวนเรือที่ผ่านคลองปานามาเพิ่มขึ้นจาก 1,000 ลำต่อปีในยุคแรกเริ่ม มาเป็น 14,702 ลำต่อปี ในปี ค.ศ. 2008 มีระวางขับน้ำรวมทั้งสิ้น 309.6 ล้านตัน (คิดเป็นประมาณ 40 ลำต่อวัน ประมาณร้อยละ 5 ของเรือบรรทุกสินค้าทั่วโลก)[2]
แนวความคิดในการขุดคลองปานามาจะมีมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 16 แล้ว ก่อนที่จะเริ่มการก่อสร้างครั้งแรกในปี ค.ศ. 1880 ภายใต้บริษัทสัญชาติฝรั่งเศสภายใต้การบริหารของนายแฟร์ดินองด์ เดอ เลสเซ็ปส์ แต่ก็ล้มเหลวไป มีคนงานกว่า 21,900 คนเสียชีวิต มักมีสาเหตุจากโรคระบาด (มาลาเรียหรือไข้เหลือง) และดินถล่ม จนกระทั่งสหรัฐอเมริกาเข้ามาดำเนินงานต่อ โดยมีผู้เสียชีวิตราว 5,600 คน จนกระทั่งสามารถเปิดใช้งานได้เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม ค.ศ. 1914 นับเป็นหนึ่งในโครงการวิศวกรรมที่ใหญ่ที่สุดและยากลำบากที่สุดที่เคยมีมา
แผนที่
View คลองปานามา Panama Canal in a larger map
วันเสาร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553
ทะเลเดดซี ทะเลมรณะ Dead Sea จอร์แดนและอิสราเอล Jordan and Israel
ทะเลเดดซี หรือ ทะเลมรณะ (อังกฤษ: Dead Sea; อาหรับ: البَحْر المَيّت, อัลบะฮฺรุ อัลมัยยิต,ฮีบรู: יָם הַמֶּלַח, ; ยัม ฮาเมลาห์ (ทะเลเกลือ)) เป็นทะเลสาบน้ำเค็มที่มีความเข้มข้นของเกลือสูงมาก อยู่ระหว่างเขตจอร์แดนและอิสราเอล ระดับน้ำอยู่ต่ำที่สุดในบรรดาทะเลทั้งหลาย กล่าวคือต่ำกว่าระดับน้ำทะเลปานกลางลง ไปอีกประมาณ 400 เมตร ตอนเหนือเป็นของจอร์แดน ตอนใต้แบ่งเป็นของจอร์แดนและอิสราเอล แต่หลังสงครามอาหรับอิสราเอล กองทัพอิสราเอลยังคงครอบครอบพื้นที่ฝั่งตะวันตกทั้งหมดอยู่
ทะเลเดดซีอยู่ระหว่างเทือกเขายูเดียที่ด้านเหนือ และที่ราบสูงทรานสจอร์แดนที่ด้านตะวันออก แม่น้ำจอร์แดนจะไหลจากทางเหนือมายังทะเลเดดซีนี้ ซึ่งมีความยาว 80 กิโลเมตร และมีความกว้างถึง 18 กิโลเมตร ส่วนพื้นที่นั้น 1,020 ตารางกิโลเมตร แหลมอัลลิซาน (แปลว่า ลิ้น) แบ่งทะเลสาบด้านตะวันออกเป็นสองส่วน ตอนเหนือใหญ่กว่า ล้อมรอบพื้นที่ 3/4 ของพื้นที่ทั้งหมด ส่วนความลึกนั้นประมาณ 400 เมตร แอ่งตอนเหนือนั้นเล็ก และตื้น (ลึกประมาณ 3 เมตร) ในสมัยที่เขียนคัมภีร์ไบเบิล จนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 8 พื้นที่บริเวณตอนเหนือเท่านั้นที่มีผู้อยู่อาศัย และระดับน้ำต่ำกว่าในปัจจุบัน 35 เมตร
[แก้] ประวัติ
ชื่อ ทะเลมรณะ ในภาษาไทยปรากฏครั้งแรก ๆ ในพระคัมภีร์ไบเบิลฉบับ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษถ่ายมาจากภาษาเดิมว่า Dead Sea มีประวัติย้อนไปอย่างน้อยก็สมัยเฮลเลน (323 - 30 ปีก่อนคริสตกาล) เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ในไบเบิล เพราะเป็นยุคสมัยของอับราฮัม (บรรพบุรุษของชาวฮีบรูและอาหรับ) และการทำลายเมืองโสโดมและกอมอร์ราห์ (สองเมืองนี้ปรากฏในพระคัมภีร์เก่า กล่าวว่าถูกทำลายจากไฟสวรรค์ เพราะความชั่วร้ายของผู้คนในดังกล่าวคงจะจมในบริเวณตอนใต้ของทะเลเดดซี) แม่น้ำที่แตกสาขาออกไป เป็นทางหนีของกษัตริย์ดาวิด (กษัตริย์แห่งอิสราเอล) และภายหลังก็เป็นทางหนีของพระเจ้าเฮรอดที่หนึ่งมหาราช กษัตริย์แห่งยูดายทะเลเดดซีกินเนื้อที่ส่วนต่ำสุดของถ้ำในทะเลจอร์แดน-ทะเลเดดซี (ยาว 560 กิโลเมตร) ซึ่งขยายออกไปจากทางเหนือของสันปันน้ำแอฟริกาตะวันออก เป็นภูเขาที่จมลงในเขตรอบเลื่อนทวีปขนานสองรอย คือทางตะวันออก ตามขอบที่ราบสูงโมอาบ ซึ่งมองจากทะเลสาบนี้เห็นได้ง่ายกว่ารอยเลื่อนตะวันตก ซึ่งเป็นเครื่องหมายของการยกตัว
ในยุคจูแรสซิกและครีเทเชียส (คือราว 208 - 66.4 ล้านปีที่ผ่านมา) ก่อนการเกิดถ้ำ [[ทะเลเมดิเตอร์เ คไมโอซีน (23.7 - 5.3 ล้านปีที่ผ่านมา) ก้นทะเลยกตัวขึ้น ทำให้มีระดับสูงกว่าเดิมมาก
ทะเลเดดซีอยู่ในเขตทะเลทราย น้ำเค็ม ฝนตกก็น้อย และไม่สม่ำเสมอ ปีหนึ่งราว 65 มิลลิเมตร และเมืองเสโดม (ใกล้เมืองโสโดมในไบเบิล) ไม่มี
เหตุที่เรียกว่าเดดซีเพราะทะเลสาบนี้ไม่มีทางออกสู่ทะเลแห่งอื่นเลย มีเพียงแม่น้ำจอร์แดนที่ไหลลงสู่ทะเลเท่านั้น เมื่อเวลาผ่านไปน้ำในทะเลนี้ระเหยขึ้นทำให้เกลือในทะเลสาบเดดซีตกค้างอยู่ใน บริเวณเดิมน้ำในทะเลสาบเดดซีจึงมีความเค็มมากกว่าน้ำทะเลปกติถึง6เท่า ด้วยเหตุที่น้ำมีความเค็มมากขนาดนี้ทำให้ไม่มีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่จึงเรียก ทะเลสาบนี้ว่าทะเลสาบเดดซี มีความหมายว่าทะเลสาบมรณะ
แผนที่
View ทะเลเดดซี ทะเลมรณะ Dead Sea in a larger map
มัทเทอร์ฮอร์น Matterhorn สวิตเซอร์แลนด์และอิตาลี Switzerland and Italy
| ||||||
แมตเตอร์ฮอร์น (Matterhorn) เป็นภูเขาที่มีชื่อเสียงมากในเทือกเขาแอลป์ (Alps) ตั้งอยู่ระหว่างประเทศสวิตเซอร์แลนด์และอิตาลี รูปทรงปิรามิดที่งดงามตั้งอยู่บนพื้นที่ Zermatt ในส่วนเมืองของสวิตเซอร์แลนด์ และ Breuil-Cervinia ใน Val Tournanche ในส่วนเมืองของอิตาลี รูปทรงพีระมิด ตั้งตระหง่านเหมือนยื่นไปสู่ท้องฟ้ามากกว่าบยอดเขา ของเทือกเขาแอลป์ยอดอื่นๆ มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ การพยามเข้าสู่ภูเขา ทั้ง Mattertal จากทิศเหนือ ,Valtournanche จากทิศใต้ คนโบราณบอกเล่าเกี่ยวกับเรื่องเล่าแห่งความมืดอันความน่ากลัว ของหายนะว่าจะเกิดขึ้นกับบุคคลที่เข้าใกล้มันอย่างแน่นอน มีเรื่องเกี่ยวกับเมืองที่ถูกทำลายและถูกฝังภายใต้ก้อนหิมะ ความเห็นเพิ่มเติมของไกค์ผู้ผ่านประสบการณ์ใน Zermatt ฝั่งของสวิตเซอร์แลนด์ ว่าภูเขาสูงชัน จากแนวหน้าผาที่ราบเรียบตั้งแต่ฐานถึงจุดยอดทำให้ไม่สามารถปีนได้ ภูเขามีสี่ด้านพื้นหน้าของสูงชันอันตรายมีเพียงแผ่นหิมะและแผ่นน้ำแข็งเล็กๆ เกาะยึด ส่วนใหญ่แมตเตอร์ฮอร์นเป็นภูเขาของเทือกเขาแอลป์สุดท้ายที่จะถูกปีน เพราะต้องใช้เทคนิคยุ่งยากแต่ความน่าเกรงขามจะเป็นดลใจสำหรับนักปีนเขาได้เช่นกัน เริ่มต้นครั้งแรกประมาณปี 1858 จากชาวอิตาเลียนจำนวนมากแม้จะติดขัดจะเกิดขึ้นมากมาย ที่พวกเขาพบบ่อยๆ คือความลำบากกับหินที่ลื่น แชร์มัตต์ (Zermatt) ประเทศสวิตเซอร์แลนด์เป็นที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติตั้งแต่กลาง ศตวรรษที่ 19 เมื่อมองจากฝั่งนี้จะมองเห็นรูปทรงปิรามิดของแมตเตอร์ฮอร์นที่ตั้งอยู่โดดๆ เชื้อเชิญให้มาเยือน และนั่งรถกระเช้าขึ้นไปถึงสถานี Trockener Steg ที่ความสูง 2,939 เมตร เป็นจุดที่เห็นแมตเตอร์ฮอร์นได้ชัดเจนที่สุด มองจากด้านทิศตะวันออกของแมตเตอร์ฮอร์นเป็นภาพสะท้อนผิวน้ำทะเลสาป Riffelsee ปัจจุบันทั้งสันเขาและพื้นหน้าทุกด้านของแมตเตอร์ฮอร์น ถูกปีนขึ้นในทุกฤดู และการแนะนำการการปีน โดยมาตราฐานสมัยใหม่,เทคนิคการปีนที่ง่าย ,การใช้เคเบิ้ลคาร์ |
แผนที่
View มัทเทอร์ฮอร์น Matterhorn in a larger map
ยอดเขาคิลิมันจาโร (Mount Kilimanjaro) แทนซาเนีย Tanzania
ยอดเขาคิลิมันจาโร (Mount Kilimanjaro) ชื่อภูเขามาจากภาษาสวาฮีลี หมายความว่า"ภูเขาที่ทอแสงแวววาว" ยอดเขาคิลิมันจาโรตั้งอยู่ในเขตประเทศแทนซาเนียใกล้พรมแดนประเทศเคนยา ลักษณะเป็นภูเขาไฟยอดเดี่ยวที่สูงที่สุดในโลก และเป็นยอดเขาที่สุดที่สุดในทวีปแอฟริกาอีกด้วย มีความสูงกว่า 5,895 เมตร ตรงบริเวณยอดเขามียอดเขาด้วยกัน 3 ยอด เรียงตามลำดับความสูง คือ
- ยอดคีโบ เป็นยอดที่สูงที่สุดในแอฟริกา มีความสูง 5,895 เมตร มีโพรงลึกเป็นรูปกรวยลึกถึง 113 เมตร (370 ฟุต) แนวลึกด้านตรง 122 เมตร (400 ฟุต) มีร่องรอยของการคุกกร่น ไม่หมดเชื้อ คือยังควันปรากฏกลิ่นกำมะถันอยู่
- ยอดมาเวนซี มีความสูง 5,353 เมตร อยู่ติดกับยอดคีโบ รูปกรวยของยอดมาเวนซี ได้ถูกตบแต่งให้เป็นขั้นเป็นหลืบชั้น สำหรับให้นักไต่เขาได้ฝึกความชำนาญ
- ยอดชีรา มีความสูง 3,778 เมตร
ยอดเขาคิลิมันจาโรได้กำเนิดขึ้นเมื่อหลายล้านปีที่แล้ว โดยมีการคาดการณ์ว่าเคยเกิดระเบิดใหญ่ถึง 3 ครั้ง จึงทำให้มียอดเขา 3 ลูกดังที่กล่าวข้างต้น ถูกค้นพบครั้งแรกโดย โยฮาน เรบมัน และลุดวิก คราปฟ์ หมอสอนศาสนา ชาวเยอรมนี ในปี ค.ศ. 1848
แผนที่
ดู ยอดเขาคิลิมันจาโร ในแผนที่ขนาดใหญ่กว่า
ยอดเขา เอเวอเรสต์ Mount Everest เนปาล Nepal
ยอดเขาเอเวอเรสต์ (อังกฤษ: Mount Everest) เป็นยอดเขาหนึ่งในเทือกเขาหิมาลัย ซึ่งเกิดจากการชนกันของแผ่นเปลือกโลกยูเรเซียนและแผ่นเปลือกโลกอินเดีย ในทางภูมิรัฐศาสตร์ ยอดเขาเอเวอเรสต์ถือเป็นจุดแบ่งพรมแดนระหว่างประเทศเนปาลและทิเบต โดยชาวเนปาลเรียกยอดเขาเอเวอเรสต์ว่า สครมาถา (ภาษาสันสกฤต: सगरमाथा หมายถึง หน้าผากแห่งท้องฟ้า) ส่วนชาวทิเบตขนานนามยอดเขาแห่งนี้ว่า โชโมลังมา (จากภาษาจีน: 珠穆朗玛 [จูมู่หลั่งหม่า] หมายถึง มารดาแห่งสวรรค์)
ชื่อยอดเขาเอเวอเรสต์นั้น ตั้งโดย เซอร์แอนดรูว์ วอ นักสำรวจประเทศอินเดียชาวอังกฤษ เพื่อเป็นเกียรติแก่ เซอร์จอร์จ อีฟเรสต์ นักสำรวจประเทศอินเดียรุ่นก่อนหน้า (คำว่า Everest นี้ คนส่วนมากอ่านออกเสียงเป็น เอเวอเรสต์ ขณะที่เซอร์จอร์จอ่านออกเสียงชื่อสกุลของตัวเองว่า อีฟเรสต์) ซึ่งก่อนหน้านั้นนักสำรวจเรียกยอดเขาแห่งนี้เพียงว่า ยอดที่สิบห้า (Peak XV)
คนทั่วไปจดจำชื่อเอเวอเรสต์ได้ในฐานะยอดเขาที่สูงที่สุดในโลก แต่สำหรับชาวเชอร์ปา(Sherpa) และนักปีนเขา(climber) บางคนแล้ว ยอดเขาเอเวอเรสต์ไม่ได้เป็นเพียงแค่จุดที่สูงที่สุดบนพื้นโลกเท่านั้น หากยังเป็นจุดหมายสูงสุดในชีวิตพวกเขาด้วย การไปให้ถึงยอดเขาเอเวอเรสต์เป็นเรื่องที่ยากลำบาก แต่เมื่อยอดเขาเอเวอเรสต์ถูกพิชิตได้ นั่นหมายความว่าขีดจำกัดของมนุษยชาติได้เพิ่มขึ้นอีกขั้นหนึ่งแล้ว
ที่สุดของความสูง
เมื่อปี ค.ศ. 1952 รัฐนาถ สิกดาร์(Radhanath Sikdar) นักคณิตศาสตร์และนักสำรวจจากเบงกอล(Bengal) เป็นคนแรกที่ประกาศว่าเอเวอเรสต์คือยอดเขาที่สูงที่สุดในโลก จากการคำนวณทางตรีโกณมิติ โดยอาศัยข้อมูลที่วัดด้วยกล้องส่องแนว(theodolite) ในที่ที่ไกลจากยอดเขาไป 150 ไมล์ ณ ประเทศอินเดียในวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2548 ทางการจีนได้ส่งคณะเดินทางสำรวจไปที่ยอดเขา เพื่อคำนวณความสูงของยอดเขา ในวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2548 สำนักงานสำรวจและทำแผนที่แห่งชาติจีน ได้ทำการวัดครั้งล่าสุด พบว่ายอดเขาเอเวอเรสต์มีความสูง 8,844.43 เมตร (29,017 ฟุต 2 นิ้ว) และอาจมีการคลาดเคลื่อนจากการวัดเล็กน้อย
ในปี ค.ศ. 1956 ยอดเขาเอเวอเรสต์วัดความสูงได้ 29,002 ฟุต ต่อมาในช่วงทศวรรษ 1950 การวัดทำได้แม่นยำขึ้น และให้ความสูง 29,028 ฟุต หรือ 8,848 เมตร ซึ่งตัวเลขนี้ถือเป็นความสูงของยอดเขาเอเวอเรสต์ที่ใช้อ้างถึงโดยทั่วไป และได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการจากรัฐบาลเนปาล อย่างไรก็ดี จากการติดตั้งเครื่องมือที่ยอดเขาของทีมสำรวจสหรัฐอเมริกา ในปี ค.ศ. 1999 และทำการวัดความสูงด้วยจีพีเอส (Global Positioning System) แล้ว พบว่าความสูงที่แท้จริงของยอดเขาเอเวอเรสต์ในขณะนั้นคือ 29,035 ฟุต หรือ 8,850 เมตร ทั้งนี้ยอดเขาเอเวอเรสต์เป็นยอดเขาใหม่ที่เกิดขึ้นเพียงไม่กี่แสนปี จึงยังคงสูงขึ้นเรื่อย ๆ ปีละไม่กี่เซนติเมตร เนื่องจากการที่แผ่นเปลือกโลก(Tectonic plate) ยังคงชนกันอยู่
ยอดเขาเอเวอเรสต์เป็นยอดเขาที่สูงที่สุดเมื่อวัดจากระดับน้ำทะเล แต่ก็ยังกล่าวได้ไม่เต็มปากเต็มคำนักว่ายอดเขาเอเวอเรสต์เป็น ยอดเขาที่สูงที่สุดในโลก เนื่องจากมีอีกสองยอดเขาที่ดูจะสูงกว่ายอดเขาเอเวอเรสต์ เมื่อใช้เกณฑ์การวัดที่ต่างกัน ยอดเขาแรกคือ ยอดเขาเมานาโลอา(Mauna Loa) ในหมู่เกาะฮาวาย ซึ่งถ้าวัดความสูงจากฐานที่จมอยู่ในทะเลแล้วจะพบว่ายอดเขานี้สูงกว่า 9 กิโลเมตร เลยทีเดียว แต่เมื่อวัดความสูงจากระดับน้ำทะเล ยอดเขาเมานาโลอาจะสูงเพียง 13,680 ฟุต หรือ 4,170 เมตรเท่านั้น อีกยอดเขาหนึ่งคือ ยอดเขาชิมโบราโซ(Mount Chimborazo) ในประเทศเอกวาดอร์ ที่ถ้าวัดจากจุดศูนย์กลางโลกแล้วจะสูงกว่ายอดเขาเอเวอเรสต์ 2,150 เมตร ทั้งนี้เพราะโลกมีลักษณะป่องตรงกลาง แต่เมื่อวัดความสูงจากระดับน้ำทะเล ยอดเขาชิมโบราโซมีความสูง 6,272 เมตร
เป็นที่น่าสังเกตว่าจุดที่ลึกที่สุดในมหาสมุทร มีความลึกมากกว่าความสูงของยอดเขาเอเวอเรสต์ โดยร่องลึกแชลเลนเจอร์(Challenger Deep)ในร่องลึกบาดาลมาเรียนา(Mariana Trench) นั้นลึกมากเสียจนถ้าวางยอดเขาเอเวอเรสต์ลงไป ยอดเขาเอเวอเรสต์จะยังคงจมอยู่ในน้ำเป็นระยะทางเกือบไมล์
แผนที่
ดู ยอดเขา เอเวอเรสต์ ในแผนที่ขนาดใหญ่กว่า
กุ้ยหลิน Guilin จีน China
| ||||||
ทิวทัศน์โดยรอบเมืองกุ้ยหลิน ในประเทศจีน เป็นดงของยอดดอยสูงที่พุ่งขึ้นมาจากทุ่งราบร่วม 305 เมตร เกิดจาการกัดกร่อนของน้ำฝนมาช้านานนับเป็นพันเป็นหมื่นปี ฤดูร้อนอุณหภูมิสูงเกิน 38 องศาเซลเซียส เร่งให้ผุกร่อนเร็วขึ้น ก่อนเดิมเป็นทุ่งกว้างและหินปูนชั้นล่างหนา 9,000 เมตร ระยะทาง 83 กิโลเมตร ( 51 ไมล์) เป็นแนวของแม่น้ำลิ (Li River ) ระหว่าง กุ้ยหลิน(Guilin) และ แยงโสว(Yangshuo ) เป็นที่ประทับใจนักเขียน และศิลปินหลายต่อหลายคน การเดินทางทุกวันนี้เดินทางใช้เวลาเป็นวัน เป็นการเดินทางที่ยาวนานบนเรือที่เคลื่อนอย่างเงียบ ๆ บนแม่น้ำลิที่สงบ ภาพทิวทัศน์ในความทรงจำที่คลี่ออกมา เป็นสายน้ำเรียบ ๆ งามราวกระจกในเทพนิยาย ภูมิปรเทศของยอดเขารูปกรวยยื่นสู่ท้องฟ้า(มองภาพ) ทิวทัศน์อันมหัศจรรย์ไม่เหมือนที่ไหน เมื่อสายน้ำไหลเป็นคลื่นต่อ ๆ กัน บนแม่น้ำรอบยอดเขาหลายยอดทิวทัศน์ที่ซ่อนไว้ ได้แสดงออกมาในช่วงเวลาชั่วอึดใจหนึ่ง อีกชื่อหนึ่งคือเขางวงช้าง (Elephant Trunk Hill ) ดูคล้ายช้างยักษ์โกะไลแอ็ธ (ยักษ์ใหญ่ในคัมภร์คริสต์ศาสนา) ดูดน้ำจิบ ๆ ไม่รู้จักอิ่มจากแม่น้ำด้วยงวงของมัน ตลอดสายแม่น้ำจะเห็นความงดงามของป่าไผ่มากมาย ชาวนากำลังวเฝ้าดูข้าว และชาวปะมง เลื้อยไหลไปตามน้ำบนแพไม้ไผ่แคบ ๆ เล็ก ๆ ถ้ำรีดฟลูท (Reed Flute Cave) เป็นอีกส่วนหนึ่งของพื้นที่กุ้ยหลิน ที่มีความสวยงามมันเป็นแสงที่มีสีหลายแสงและมีห้องถ้ำที่สามารถบรรจุคนได้เป็นพันคน |
แผนที่
View กุ้ยหลิน Guilin in a larger map
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)