มหาสถูปบุโรพุทโธ หรือ บรมพุทโธ (ภาษาอินโดนีเซีย: Chandi Borobudur) เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงของประเทศอินโดนีเซีย ตั้งอยู่ในภาคกลางของเกาะชวา ห่างจากยอกยาการ์ตาไปทางตะวันตกเฉียงเหนือราว 40 กิโลเมตร สร้างขึ้นระหว่างปี พ.ศ. 1293 - 1393 โดยบุโรพุทโธเป็นศาสนสถานของศาสนาพุทธนิกายมหายาน ถ้าไม่นับนครวัดของกัมพูชาซึ่งเป็นทั้งศาสนสถานของศาสนาพราหมณ์-ฮินดูและศาสนาพุทธ บุโรพุทโธจะเป็นศาสนสถานของศาสนาพุทธที่ใหญ่ที่สุดในโลก
บุโรพุทโธถูกสร้างขึ้นโดยกษัตริย์แห่งราชวงศ์ไศเลนทร เป็นสถูปแบบมหายาน สันนิษฐานว่าสร้างราวคริสต์ศตวรรษที่ 7-9 หรือ พุทธศักราช 1393 ตั้งอยู่ทางภาคกลางของเกาะชวา บนที่ราบเกฑุ ทางฝั่งขวาใกล้กับแม่น้ำโปรโก ห่างจากยอกยาการ์ตา ทางตะวันตกเฉียงเหนือ 40 กิโลเมตร บุโรพุทโธสร้างด้วยหินภูเขาไฟประมาณ 2 ล้านตารางฟุตบนฐานสี่เหลี่ยม กว้างด้านละ 121 เมตร สูง 403 ฟุต เป็นรูปทรงแบบปิรามิด มีลานเป็นชั้งลดหลั่นกัน 8 ชั้น และใน 8 ชั้นนั้น 5 ชั้นล่างเป็นลาน 4 เหลี่ยม 3 ชั้นบนเป็นลานวงกลม และบนลานกลมชั้งสูงสุดมีพระสถูปตั้งสูงขึ้นไปอีก 31.5 เมตร เป็นมหาสถูปที่ระเบียงซ้อนกันเป็นชั้นๆลดหลั่นกันไป
แผนที่
View บุโรพุทโธ Borobudur in a larger map
วันพุธที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2555
มหาสถูป บุโรพุทโธ บรมพุทโธ Chandi Borobudur อินโดนีเซีย Indonesia
วันพุธที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2555
ลายเส้นแห่งนาสก้า Lines of NASCA เปรู Peru
ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%8B%E0%B8%81%E0%B8%B2
เส้นนัซกา (อังกฤษ: Nazca Lines) เป็นลายเส้นลึกลับที่กินอาณาเขตพื้นที่กว่า 520 ตารางกิโลเมตรบนทะเลทรายนัซกา ระหว่างเมืองนัซกากับเมืองปัลปาในแคว้นอีกา ประเทศเปรู สันนิษฐานว่าชาวนัซกาโบราณ (ซึ่งครอบครองดินแดนเปรูมาก่อนยุคจักรวรรดิอินคา) ขุดลายเส้นเหล่านี้ขึ้นเมื่อประมาณ 200 ปีก่อนคริสตกาลถึงประมาณปี ค.ศ. 500 ชาวนัซกาโบราณเป็นเกษตรกรเพาะปลูกอยู่บนที่ราบชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก ไม่ได้ทิ้งหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษรไว้เลย ที่พอจะเข้าใจได้บ้างก็มาจากการศึกษาสุสานและข้าวของเครื่องใช้ในหลุมฝังศพเท่านั้น ซึ่งไม่ทราบแน่ชัดว่าเพราะเหตุใดพวกเขาจึงทำลวดลายเหล่านี้ขึ้น
ลายเส้นนัซกาที่ทำขึ้นเป็นแบบวิธีเดียวกันหมด คือ ขุดเอาหินทรายสีแดงบนพื้นผิวทะเลทรายออก แล้วเปิดให้เห็นชั้นหินสีเหลืองอ่อนที่อยู่ข้างใน ไม่มีร่องรอยการใช้สัตว์ช่วยแม้แต่น้อย และภาพเป็นเส้นเดียวไม่ขาดตอน ภาพของลายเส้นนัซกาแบ่งออกเป็นสองกลุ่มใหญ่ ๆ คือภาพที่เป็นรูปทรงและภาพที่เป็นเส้นลายเฉย ๆ มีภาพสัตว์ นก รูปเรขาคณิต เป็นต้น
เส้นนัซกาได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกในปี พ.ศ. 2537
แผนที่
View ลายเส้นแห่งนาสก้า Lines of NASCA in a larger map
เส้นนัซกา (อังกฤษ: Nazca Lines) เป็นลายเส้นลึกลับที่กินอาณาเขตพื้นที่กว่า 520 ตารางกิโลเมตรบนทะเลทรายนัซกา ระหว่างเมืองนัซกากับเมืองปัลปาในแคว้นอีกา ประเทศเปรู สันนิษฐานว่าชาวนัซกาโบราณ (ซึ่งครอบครองดินแดนเปรูมาก่อนยุคจักรวรรดิอินคา) ขุดลายเส้นเหล่านี้ขึ้นเมื่อประมาณ 200 ปีก่อนคริสตกาลถึงประมาณปี ค.ศ. 500 ชาวนัซกาโบราณเป็นเกษตรกรเพาะปลูกอยู่บนที่ราบชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก ไม่ได้ทิ้งหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษรไว้เลย ที่พอจะเข้าใจได้บ้างก็มาจากการศึกษาสุสานและข้าวของเครื่องใช้ในหลุมฝังศพเท่านั้น ซึ่งไม่ทราบแน่ชัดว่าเพราะเหตุใดพวกเขาจึงทำลวดลายเหล่านี้ขึ้น
ลายเส้นนัซกาที่ทำขึ้นเป็นแบบวิธีเดียวกันหมด คือ ขุดเอาหินทรายสีแดงบนพื้นผิวทะเลทรายออก แล้วเปิดให้เห็นชั้นหินสีเหลืองอ่อนที่อยู่ข้างใน ไม่มีร่องรอยการใช้สัตว์ช่วยแม้แต่น้อย และภาพเป็นเส้นเดียวไม่ขาดตอน ภาพของลายเส้นนัซกาแบ่งออกเป็นสองกลุ่มใหญ่ ๆ คือภาพที่เป็นรูปทรงและภาพที่เป็นเส้นลายเฉย ๆ มีภาพสัตว์ นก รูปเรขาคณิต เป็นต้น
เส้นนัซกาได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกในปี พ.ศ. 2537
แผนที่
View ลายเส้นแห่งนาสก้า Lines of NASCA in a larger map
วันจันทร์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2555
ช้างไถนา เชียงใหม่ สุรินทร์ ไทย Thailand
การไถนาโดยช้างแห่งเดียวในเมืองไทยให้เป็นที่ รู้จักอย่างกว้างขวางตามภูมิปัญญาดั้งเดิมของบรรพบุรุษชาวกะเหรี่ยงบ้านนา เกียน อำเภออมก๋อย ยังคงปรากฏให้เห็นอยู่ และสืบทอดสู่รุ่นลูกหลานในปัจจุบัน ในช่วงประมาณเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม ของทุกปี
ภาคเอกชน จ. เชียงใหม่ นำโดยนางวันเพ็ญ ศักดาทร ผู้บริหารบ้านแสนดอยรีสอร์ท แอนด์สปา ห้องอาหาร แสนคำเทอเรซและนายฮาเก็น เอ.เว เดียร์คเซิน กงสุลกิตติมศักดิ์สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันนี นายเศรษฐพล จินดานนท์ ผู้อำนวยการภูมิภาคภาคเหนือ พร้อมด้วยนายเฉลิมศักดิ์ สุรนันท์ ผู้อำนวยการ ททท. สำนักงานเชียงใหม่ และนางอัญชลี กัลมาพิจิตร ปางช้างแอลลี่ นำช้าง ๘ เชือก แสดงการไถนาบนพื้นที่ ๘ ไร่ เมื่อวันที่ ๘ เดือน ๘ เวลา ๐๘.๐๘ น. โดยมีนายพระนาย สุวรรณรัฐ ผู้อำนวยการศูนย์บริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ อดีตนายอำเภออมก๋อย จัดกิจกรรมช้างไถนาเพื่อสืบสานภูมิปัญญาบรรพบุรุษชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยง และส่งเสริมการท่องเที่ยวของอำเภออมก๋อย ซึ่งเป็นการไถนาโดยช้างแห่งเดียวในเมืองไทยให้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง ตามแนวคิดของนายพลากร สุวรรณรัฐ องคมนตรี และอดีตผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่
นอกจากนี้ ภายในงานได้มีการนำข้าวพันธุ์ดี ๔ สายพันธุ์มาเพาะบนพื้นที่ ๘ ไร่ ได้แก่ ข้าวหอมมะลิสันป่าตอง ข้าวก่ำดอยสะเก็ด ข้าวหอมมะลิแดง และข้าวหอมมะลินิลที่มีสรรพคุณทางยามาซึ่งหลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิต และจำหน่ายเป็นที่เรียบร้อยแล้ว รายได้ส่วนหนึ่งจะนำไปมอบให้โรงพยาบาลอมก๋อย และกิจกรรมการกุศลต่อไป
กิจกรรม “ช้างไถนา” เป็นกิจกรรมที่มีมานานกว่า ๑๐๐ ปี โดยชาวกะเหรี่ยงที่อาศัยอยู่ที่หมู่บ้านนาเกียนซึ่งตั้งห่างจากตัว อำเภออมก๋อยเพียง ๓๙ กิโลเมตร แต่ใช้เวลาเดินทางกว่า ๓ ชั่วโมง ที่ความสูงจากระดับน้ำทะเล ๑,๒๐๐-๑,๖๐๐ เมตร ด้วยระยะทางที่ไกล และทุรกันดารนี้ ทำให้ชาวบ้านยึดอาชีพเกษตรกรรมทำนาแบบขั้นบันได และการปลูกพืชไร่เพื่อเลี้ยงชีพ แต่ด้วยข้อจำกัดทางด้านภูมิศาสตร์ซึ่งเป็นที่ลาดเชิงเขา พื้นดินมีหินปะปนอยู่มาก ทำให้การไถนาด้วยควายได้งานน้อย และเหนื่อยง่าย จึงนำช้างที่เลี้ยงไว้มาไถนา เพราะช้างแข็งแรงกว่าวัว ควาย สามารถไถนาได้จำนวนพื้นที่มากกว่าในระยะเวลาใกล้เคียงกัน โดย ๑ แรงช้าง เท่ากับ ๔ แรงวัว ควาย โดยช้าง ๑ เชือก สามารถลากได้ ๑-๔ คันไถ และไม่ต้องพักเหนื่อยเพราะถือเป็นงานที่เบาเมื่อเทียบกับการลากซุงในอดีต
ปัจจุบัน “ช้างไถนา” ภูมิปัญญาดั้งเดิมของบรรพบุรุษชาวกะเหรี่ยงบ้านนาเกียน อำเภออมก๋อย ยังคงปรากฏให้เห็นอยู่ และสืบทอดสู่รุ่นลูกหลานในปัจจุบัน ในช่วงประมาณเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม ของทุกปี ททท. สำนักงานเชียงใหม่ขอเชิญชวนนักท่องเที่ยวทุกท่านเดินทางมาสัมผัส “ช้างไถนา” แห่งเดียวในเมืองไทย และความงดงามของธรรมชาติแห่งป่าเขาที่อุดมสมบูรณ์มากอีกแห่งหนึ่งของประเทศ ไทย ซึ่งมีที่พักทั้งแบบรีสอร์ท และโฮมสเตย์รองรับอยู่ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ อำเภออมก๋อย โทร. ๐ ๕๓๔๖ ๗๐๖๐ หรือที่ www.omkoi.org
แผนที่
ช้างดำ-ไถนา
นายระพี ผ่องบุพกิจ ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์และนายธงชัย มุ่งเจริญพร นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด จัดกิจกรรมช้างดำ-ไถนา เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวและประชาสัมพันธ์ ศูนย์คชศึกษา ตำบลกระโพ อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ และข้าวหอมมะลิจังหวัดสุรินทร์ โดยสาธิตการไถ-ดำนา ด้วยช้าง เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2553 ณ อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์
แผนที่
ภาคเอกชน จ. เชียงใหม่ นำโดยนางวันเพ็ญ ศักดาทร ผู้บริหารบ้านแสนดอยรีสอร์ท แอนด์สปา ห้องอาหาร แสนคำเทอเรซและนายฮาเก็น เอ.เว เดียร์คเซิน กงสุลกิตติมศักดิ์สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันนี นายเศรษฐพล จินดานนท์ ผู้อำนวยการภูมิภาคภาคเหนือ พร้อมด้วยนายเฉลิมศักดิ์ สุรนันท์ ผู้อำนวยการ ททท. สำนักงานเชียงใหม่ และนางอัญชลี กัลมาพิจิตร ปางช้างแอลลี่ นำช้าง ๘ เชือก แสดงการไถนาบนพื้นที่ ๘ ไร่ เมื่อวันที่ ๘ เดือน ๘ เวลา ๐๘.๐๘ น. โดยมีนายพระนาย สุวรรณรัฐ ผู้อำนวยการศูนย์บริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ อดีตนายอำเภออมก๋อย จัดกิจกรรมช้างไถนาเพื่อสืบสานภูมิปัญญาบรรพบุรุษชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยง และส่งเสริมการท่องเที่ยวของอำเภออมก๋อย ซึ่งเป็นการไถนาโดยช้างแห่งเดียวในเมืองไทยให้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง ตามแนวคิดของนายพลากร สุวรรณรัฐ องคมนตรี และอดีตผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่
นอกจากนี้ ภายในงานได้มีการนำข้าวพันธุ์ดี ๔ สายพันธุ์มาเพาะบนพื้นที่ ๘ ไร่ ได้แก่ ข้าวหอมมะลิสันป่าตอง ข้าวก่ำดอยสะเก็ด ข้าวหอมมะลิแดง และข้าวหอมมะลินิลที่มีสรรพคุณทางยามาซึ่งหลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิต และจำหน่ายเป็นที่เรียบร้อยแล้ว รายได้ส่วนหนึ่งจะนำไปมอบให้โรงพยาบาลอมก๋อย และกิจกรรมการกุศลต่อไป
กิจกรรม “ช้างไถนา” เป็นกิจกรรมที่มีมานานกว่า ๑๐๐ ปี โดยชาวกะเหรี่ยงที่อาศัยอยู่ที่หมู่บ้านนาเกียนซึ่งตั้งห่างจากตัว อำเภออมก๋อยเพียง ๓๙ กิโลเมตร แต่ใช้เวลาเดินทางกว่า ๓ ชั่วโมง ที่ความสูงจากระดับน้ำทะเล ๑,๒๐๐-๑,๖๐๐ เมตร ด้วยระยะทางที่ไกล และทุรกันดารนี้ ทำให้ชาวบ้านยึดอาชีพเกษตรกรรมทำนาแบบขั้นบันได และการปลูกพืชไร่เพื่อเลี้ยงชีพ แต่ด้วยข้อจำกัดทางด้านภูมิศาสตร์ซึ่งเป็นที่ลาดเชิงเขา พื้นดินมีหินปะปนอยู่มาก ทำให้การไถนาด้วยควายได้งานน้อย และเหนื่อยง่าย จึงนำช้างที่เลี้ยงไว้มาไถนา เพราะช้างแข็งแรงกว่าวัว ควาย สามารถไถนาได้จำนวนพื้นที่มากกว่าในระยะเวลาใกล้เคียงกัน โดย ๑ แรงช้าง เท่ากับ ๔ แรงวัว ควาย โดยช้าง ๑ เชือก สามารถลากได้ ๑-๔ คันไถ และไม่ต้องพักเหนื่อยเพราะถือเป็นงานที่เบาเมื่อเทียบกับการลากซุงในอดีต
ปัจจุบัน “ช้างไถนา” ภูมิปัญญาดั้งเดิมของบรรพบุรุษชาวกะเหรี่ยงบ้านนาเกียน อำเภออมก๋อย ยังคงปรากฏให้เห็นอยู่ และสืบทอดสู่รุ่นลูกหลานในปัจจุบัน ในช่วงประมาณเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม ของทุกปี ททท. สำนักงานเชียงใหม่ขอเชิญชวนนักท่องเที่ยวทุกท่านเดินทางมาสัมผัส “ช้างไถนา” แห่งเดียวในเมืองไทย และความงดงามของธรรมชาติแห่งป่าเขาที่อุดมสมบูรณ์มากอีกแห่งหนึ่งของประเทศ ไทย ซึ่งมีที่พักทั้งแบบรีสอร์ท และโฮมสเตย์รองรับอยู่ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ อำเภออมก๋อย โทร. ๐ ๕๓๔๖ ๗๐๖๐ หรือที่ www.omkoi.org
แผนที่
ช้างดำ-ไถนา
นายระพี ผ่องบุพกิจ ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์และนายธงชัย มุ่งเจริญพร นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด จัดกิจกรรมช้างดำ-ไถนา เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวและประชาสัมพันธ์ ศูนย์คชศึกษา ตำบลกระโพ อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ และข้าวหอมมะลิจังหวัดสุรินทร์ โดยสาธิตการไถ-ดำนา ด้วยช้าง เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2553 ณ อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์
แผนที่
วันศุกร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2555
วัดหงษ์ทอง วัดกลางน้ำ กลางทะเล ฉะเชิงเทรา ไทย Thailand
วันศุกร์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2555
พระพุทธรูปแกะสลักเขาชีจรรย์ ชลบุรี ไทย Thailand
เขาชีจรรย์ เป็นเขาหินปูน เดิมมีการระเบิดหินนำไปใช้ในการก่อสร้าง ต่อมาสมเด็จพระญาณสังวร ทรงเสียดายลักษณะภูมิทัศน์อันสง่างามของเขาลูกนี้ จึงมีพระดำริที่จะอนุรักษ์ไว้ และได้ดำเนินการสร้างพระพุทธรูปแกะสลักในลักษณะของพระพุทธฉายที่ใหญ่ที่สุด ในโลก เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสมหามงคลทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี ใน พ.ศ. 2539 โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานนามพระพุทธรูปนี้ว่า “พระพุทธมหาวชิรอุตตโมภาสศาสดา” แปลว่า “พระพุทธเจ้าทรงเป็นศาสดาที่รุ่งเรืองสว่างประเสริฐดุงดังมหาวชิระ”
พระพุทธรูปแกะสลักหน้าผาเขาชีจรรย์เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย เลียนแบบพระพุทธนวราชบพิตร ศิลปะสุโขทัยผสมล้านนา มีความสูง 109 เมตร หน้าตักกว้าง 70 เมตร ฐานบัวหรือบัลลังก์สูง 21 เมตร รวมความสูงขององค์พระและบัลลังก์ทั้งสิ้น 130 เมตร โดยเป็นการระเบิดเจาะเนื้อหินให้เป็นลายเส้น แล้วใช้โมเสกทองประดับเข้าไปตามรอยเส้น เมื่อแสงอาทิตย์ส่องมาต้องหน้าผา จึงเกิดประกายสีทองราวกับองค์พระกำลังเปล่งประกาย ด้านหน้าองค์พระมีลานอเนกประสงค์ สวนร่มรื่น สระบัว และสวนหิน ในเนื้อที่ 15 ไร่
พระพุทธรูปแกะสลักหน้าผาเขาชีจรรย์เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย เลียนแบบพระพุทธนวราชบพิตร ศิลปะสุโขทัยผสมล้านนา มีความสูง 109 เมตร หน้าตักกว้าง 70 เมตร ฐานบัวหรือบัลลังก์สูง 21 เมตร รวมความสูงขององค์พระและบัลลังก์ทั้งสิ้น 130 เมตร โดยเป็นการระเบิดเจาะเนื้อหินให้เป็นลายเส้น แล้วใช้โมเสกทองประดับเข้าไปตามรอยเส้น เมื่อแสงอาทิตย์ส่องมาต้องหน้าผา จึงเกิดประกายสีทองราวกับองค์พระกำลังเปล่งประกาย ด้านหน้าองค์พระมีลานอเนกประสงค์ สวนร่มรื่น สระบัว และสวนหิน ในเนื้อที่ 15 ไร่
ที่ตั้ง : บ้านเขาชีจรรย์ อำเภอสัตหีบ ห่างจากวัดญาณสังวราราม ไปประมาณ 5 กิโลเมตร
การเดินทาง : จากวัดญาณสังวราราม ไปตามทางเดียวกับวิหารเซียน ผ่านวิหารเซียนไปตามเส้นทางหลัก และมีป้ายบอกทางไปอีก 3 กิโลเมตร หรือจากถนนสุขุมวิท เข้าทางแยกที่เลยแยกวัดญาณสังวรารามไปราว 500 เมตร เส้นทางจะตรงถึงเขาชีจรรย์ ระยะทางจากถนนสุขุมวิท 6 กิโลเมตร
เวลาทำการ : 06.00-18.00 น. ทุกวัน
ค่าเข้าชม : ไม่เสียค่าเข้าชม
การเดินทาง : จากวัดญาณสังวราราม ไปตามทางเดียวกับวิหารเซียน ผ่านวิหารเซียนไปตามเส้นทางหลัก และมีป้ายบอกทางไปอีก 3 กิโลเมตร หรือจากถนนสุขุมวิท เข้าทางแยกที่เลยแยกวัดญาณสังวรารามไปราว 500 เมตร เส้นทางจะตรงถึงเขาชีจรรย์ ระยะทางจากถนนสุขุมวิท 6 กิโลเมตร
เวลาทำการ : 06.00-18.00 น. ทุกวัน
ค่าเข้าชม : ไม่เสียค่าเข้าชม
แผนที่
View พระพุทธรูปแกะสลักเชาชีจรรย์ in a larger map
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)