อ้างถึึง http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%B3%E0%B9%81%E0%B8%9E%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%88%E0%B8%B5%E0%B8%99
กำแพงเมืองจีน (จีนตัวเต็ม: 長城; จีนตัวย่อ: 长城; พิน อิน: Chángchéng ฉางเฉิง) เป็นกำแพงที่มีป้อมคั่นเป็นช่วง ๆ ของจีนสมัยโบราณ สร้างในสมัย พระเจ้าจิ๋นซีฮ่องเต้เป็นครั้งแรก กำแพงส่วนใหญ่ที่ปรากฏในปัจจุบันสร้างขึ้นในสมัยราช วงศ์หมิง ทั้งนี้เพื่อป้องกันการรุกรานจากพวกมองโกล และพวกเติร์ก หลังจากนั้นยังมีการสร้างกำแพงต่ออีกหลายครั้งด้วยกัน แต่ภายหลังก็มีเผ่าเร่ร่อนจากมองโกเลียและแมนจูเรียสามารถบุกฝ่ากำแพงเมือง จีนได้สำเร็จ
กำแพงเมืองจีนยังคงเรียกว่า กำแพงหมื่นลี้ (จีนตัวเต็ม: 萬里長城; จีนตัวย่อ: 万里长城; พิน อิน: Wànlĭ Chángchéng ว่าน หลี่ฉางเฉิง) กำแพงเมืองจีนมีความยาวทั้งหมดถึง 6,350 กิโลเมตร และนับเป็นหนึ่งในเจ็ด สิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคกลางด้วย มีความเชื่อกันว่า หากมองเมืองจีนจากอวกาศจะสามารถเห็นกำแพงเมืองจีนได้ ซึ่งในความเป็นจริงไม่สามารถมองเห็นจากอวกาศได้[1]
แผนที่
View กำแพงเมืองจีน in a larger map
วันอาทิตย์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554
กำแพงเมืองจีน The Great Wall of China จีน China
วันศุกร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554
โลหะปราสาท วัดราชนัดดารามวรวิหาร กรุงเทพมหานคร ไทย Thailand
อ้างถึง http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%AB%E0%B8%B0%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%97_%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3
โลหะปราสาทสร้างในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นโลหะปราสาทองค์แรกและองค์เดียวของไทย และถือเป็นองค์ที่ 3 ของโลก(
โลหะปราสาท ตั้งอยู่ ณ ด้านตะวันตกของพระอุโบสถ ก่อสร้างขึ้นโดยพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว แทนการสร้างเจดีย์ โลหะปราสาทนี้ สร้างขึ้นตามประวัติพระพุทธศาสนา ถือเป็นโลหะปราสาทองค์ที่ 3 ของโลก โดยโลหะปราสาทหลังแรก สร้างขึ้นในสมัยพุทธกาลโดยนางวิสาขามหาอุบาสิกา บุตรีธนัญชัยเศรษฐีแห่งเมืองสาวัตถี เป็นปราสาท 2 ชั้น 1,000 ห้อง ยอดปราสาททำด้วยทองคำ ที่ชื่อว่า "มิคารมาตุปราสาท" ส่วนโลหะปราสาทหลังที่ 2 สร้างโดยพระเจ้าทุฏฐคามณี กษัตริย์แห่งกรุงอนุราธปุระลังกา ในราวปีพุทธศักราช 382 เป็นปราสาท 9 ชั้น 1,000 ห้อง มีความกว้างและความสูงแต่ละด้าน 100 ศอก หลังคามุงด้วยแผ่นทองแดง ผนังเป็นไม้ประดับด้วยหินมีค่าและงาช้าง
โลหะปราสาทวัดราชนัดดารามวรวิหาร มีลักษณะศิลปสถาปัตยกรรมไทยเป็นปราสาท 3 ชั้น มียอด 37 ยอด หมายถึงพระโพธิปักขิยธรรม 37 ประการ กลางปราสาทเป็นช่องกลวงจากฐานตลอดยอด มีซุงต้นใหญ่สูงถึงยอดปราสาทเป็นแกนกลาง เจาะลำต้นตอกเป็นบันไดเวียนขึ้น 67 ขั้น เริ่มก่อสร้างในปี พ.ศ. 2394 นับจากปีที่เริ่มก่อสร้างวัดราชนัดดารามได้ 5 ปี แต่ก่อสร้างสำเร็จเป็นเพียงปราสาทโกลน ก็สิ้นรัชกาล
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ไม่ปรากฏหลักฐานเกี่ยวกับการก่อสร้างโลหะปราสาท จนมารัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระประสิทธิ์สุตคุณ (แดง เขมทตฺโต) เจ้าอาวาส ได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตบูรณะปฏิสังขรณ์หลายครั้งตามแต่กำลัง ทุนทรัพย์ที่หาได้ โดยบูรณะตั้งแต่ชั้นบนลงมา คือ ทำพื้น ก่อมณฑปโบกปูนสีแดง ยกฉัตร ยอดเจดีย์ที่ชั้นบนสุดและชั้นที่ 2 ทั้งหมด ยังเหลือแต่ชั้นล่างสุดที่ไม่ได้บูรณะ
การบูรณะโลหะปราสาทครั้งใหญ่ ดำเนินการในสมัยพระราชปัญญาโสภณ (สุข ปุญญรํสี) ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส ร่วมกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ในปี พ.ศ. 2506 ทั้งนี้ได้พยายามรักษาแบบแผนดั้งเดิมของโลหะปราสาทในสมัยรัชกาลที่ 3 ไว้ให้มากที่สุด นับว่าโลหะปราสาทได้บูรณปฏิสังขรณ์จนเสร็จสมบูรณ์ในครั้งนี้ โดยกรมโยธาเทศบาลเป็นผู้รับผิดชอบในครั้งนี้
เมื่อครั้งที่รัฐบาลจัดงานฉลองศิริราชสมบัติครบ 50 ปี ระหว่างปี พ.ศ. 2538-2539 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กำหนดการพระราชพิธีบรรจุพระบรมสารีริกธาตุประดิษฐาน ณ พระเจดีย์บุษบกโลหะปราสาทเป็นพระราชพิธีแรก แห่งการทรงบำเพ็ญพระราชกุศลและได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงประดิษฐานพระบรม สารีริกธาตุ เมื่อวันจันทร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2538
สืบเนื่องจากโอกาสดังกล่าว โครงการบูรณะโลหะปราสาทครั้งล่าสุดจึงได้เกิดขึ้นใน พ.ศ. 2539 สาระสำคัญของโครงการนี้ประกอบด้วย งานบูรณปฏิสังขรณ์โลหะปราสาท เริ่มจากยอดมณฑปกลาง เปลี่ยนวัสดุมุงและเครื่องประดับหลังคาเป็นโลหะและทองแดงรมดำ โดยมีนาวาอากาศเอก อาวุธ เงินชูกลิ่น ศิลปินแห่งชาติเป็นสถาปนิก นายสุทิน เจริญสวัสดิ์ เป็นวิศวกรโยธา และ นายประพิศ แก้วสุริยาเป็นผู้ควบคุมงานก่อสร้าง
แผนที่
View โลหะปราสาท วัดราชนัดดารามวรวิหาร in a larger map
โลหะปราสาทสร้างในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นโลหะปราสาทองค์แรกและองค์เดียวของไทย และถือเป็นองค์ที่ 3 ของโลก(
- มิคารมาตุปราสาท โลหะปราสาท ณ ประเทศอินเดีย
- โลหะปราสาท ณ ประเทศศรีลังกา
- โลหะปราสาท ณ วัดราชนัดดารามวรวิหาร ประเทศไทย
โลหะปราสาท ตั้งอยู่ ณ ด้านตะวันตกของพระอุโบสถ ก่อสร้างขึ้นโดยพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว แทนการสร้างเจดีย์ โลหะปราสาทนี้ สร้างขึ้นตามประวัติพระพุทธศาสนา ถือเป็นโลหะปราสาทองค์ที่ 3 ของโลก โดยโลหะปราสาทหลังแรก สร้างขึ้นในสมัยพุทธกาลโดยนางวิสาขามหาอุบาสิกา บุตรีธนัญชัยเศรษฐีแห่งเมืองสาวัตถี เป็นปราสาท 2 ชั้น 1,000 ห้อง ยอดปราสาททำด้วยทองคำ ที่ชื่อว่า "มิคารมาตุปราสาท" ส่วนโลหะปราสาทหลังที่ 2 สร้างโดยพระเจ้าทุฏฐคามณี กษัตริย์แห่งกรุงอนุราธปุระลังกา ในราวปีพุทธศักราช 382 เป็นปราสาท 9 ชั้น 1,000 ห้อง มีความกว้างและความสูงแต่ละด้าน 100 ศอก หลังคามุงด้วยแผ่นทองแดง ผนังเป็นไม้ประดับด้วยหินมีค่าและงาช้าง
โลหะปราสาทวัดราชนัดดารามวรวิหาร มีลักษณะศิลปสถาปัตยกรรมไทยเป็นปราสาท 3 ชั้น มียอด 37 ยอด หมายถึงพระโพธิปักขิยธรรม 37 ประการ กลางปราสาทเป็นช่องกลวงจากฐานตลอดยอด มีซุงต้นใหญ่สูงถึงยอดปราสาทเป็นแกนกลาง เจาะลำต้นตอกเป็นบันไดเวียนขึ้น 67 ขั้น เริ่มก่อสร้างในปี พ.ศ. 2394 นับจากปีที่เริ่มก่อสร้างวัดราชนัดดารามได้ 5 ปี แต่ก่อสร้างสำเร็จเป็นเพียงปราสาทโกลน ก็สิ้นรัชกาล
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ไม่ปรากฏหลักฐานเกี่ยวกับการก่อสร้างโลหะปราสาท จนมารัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระประสิทธิ์สุตคุณ (แดง เขมทตฺโต) เจ้าอาวาส ได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตบูรณะปฏิสังขรณ์หลายครั้งตามแต่กำลัง ทุนทรัพย์ที่หาได้ โดยบูรณะตั้งแต่ชั้นบนลงมา คือ ทำพื้น ก่อมณฑปโบกปูนสีแดง ยกฉัตร ยอดเจดีย์ที่ชั้นบนสุดและชั้นที่ 2 ทั้งหมด ยังเหลือแต่ชั้นล่างสุดที่ไม่ได้บูรณะ
การบูรณะโลหะปราสาทครั้งใหญ่ ดำเนินการในสมัยพระราชปัญญาโสภณ (สุข ปุญญรํสี) ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส ร่วมกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ในปี พ.ศ. 2506 ทั้งนี้ได้พยายามรักษาแบบแผนดั้งเดิมของโลหะปราสาทในสมัยรัชกาลที่ 3 ไว้ให้มากที่สุด นับว่าโลหะปราสาทได้บูรณปฏิสังขรณ์จนเสร็จสมบูรณ์ในครั้งนี้ โดยกรมโยธาเทศบาลเป็นผู้รับผิดชอบในครั้งนี้
เมื่อครั้งที่รัฐบาลจัดงานฉลองศิริราชสมบัติครบ 50 ปี ระหว่างปี พ.ศ. 2538-2539 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กำหนดการพระราชพิธีบรรจุพระบรมสารีริกธาตุประดิษฐาน ณ พระเจดีย์บุษบกโลหะปราสาทเป็นพระราชพิธีแรก แห่งการทรงบำเพ็ญพระราชกุศลและได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงประดิษฐานพระบรม สารีริกธาตุ เมื่อวันจันทร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2538
สืบเนื่องจากโอกาสดังกล่าว โครงการบูรณะโลหะปราสาทครั้งล่าสุดจึงได้เกิดขึ้นใน พ.ศ. 2539 สาระสำคัญของโครงการนี้ประกอบด้วย งานบูรณปฏิสังขรณ์โลหะปราสาท เริ่มจากยอดมณฑปกลาง เปลี่ยนวัสดุมุงและเครื่องประดับหลังคาเป็นโลหะและทองแดงรมดำ โดยมีนาวาอากาศเอก อาวุธ เงินชูกลิ่น ศิลปินแห่งชาติเป็นสถาปนิก นายสุทิน เจริญสวัสดิ์ เป็นวิศวกรโยธา และ นายประพิศ แก้วสุริยาเป็นผู้ควบคุมงานก่อสร้าง
แผนที่
View โลหะปราสาท วัดราชนัดดารามวรวิหาร in a larger map
วันพุธที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554
ธาตุก่อง(กล่อง)ข้าวน้อย ยโสธร ไทย Thailand
ธาตุก่องข้าวน้อย เป็นเจดีย์สมัยขอม ตั้งอยู่ในทุ่งนา ต.ตาดทอง อ.เมือง จ.ยโสธร ห่างจากตัวจังหวัด 9 ก.ม. ไปตามทางหลวง หมายเลย 23 (ยโสธร - อุบลราชธานี) ประมาณหลักกิโลเมตรที่ 194 เลี้ยวซ้ายไปอีก 1 กิโลเมตร
ธาตุก่องข้าวน้อยก่อสร้างตั้งแต่เมื่อใด ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดจากลักษณะที่ปรากฏเป็นสถาปัตยกรรมแบบศิลปะล้านช้างที่ พบอยู่ทั่วไปในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอายุระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๒๓ – ๒๕ สมัยอยุธยาตอนปลาย กรุงธนบุรี ซึ่งอาจจะเป็นกลุ่มชนเชื้อสายลาวที่จะอพยพมาจากเวียงจันทร์ในสมัยธนบุรี ที่มาตั้งถิ่นฐานอยู่ในเขตจังหวัดยโสธรในปัจจุบัน เป็นผู้ก่อสร้างธาตุเจดีย์ไว้เป็นปูชนียสถาน
จากการศึกษาทางโบราณคดี พบว่าบริเวณบ้านตาดทอง เป็นชุมชนโบราณ มาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย จนรับวัฒนธรรมแบบทวารวดี โดยพบใบเสมาปักอยู่ทั่วไปในบริเวณหมู่บ้านและเป็นเมืองโบราณในสมัยขอม โดยพบจารึกที่มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๕ กล่าวถึง พระเจ้าอีสานวรมันที่ ๒ (พ.ศ.๑๔๖๘ – ๑๔๗๑) ได้ส่งพระราชธิดาพร้อมด้วยทาสชายหญิง และทรัพย์สิ่งของเป็นจำนวนมาก เพื่อให้มาเป็นมเหสีของเจ้าชายเมืองนี้ ซึ่งสันนิฐานว่าจะตั้งอยู่ในบริเวณบ้านตาดทอง ต่อมาในสมัยกรุงธนบุรีลูกหลานของพระวอ พระตา ได้อพยพมาตั้งที่บ้านสิงห์ท่า ซึ่งภายหลังยกฐานะเป็นเมืองยโสธร ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ลักษณะทางศิลปกรรม
ธาตุก่องข้าวน้อย หรือ ธาตุตาดทอง มีโครงสร้างเป็นเจดีย์รูปสี่เหลี่ยมก่อด้วยอิฐมีฐาน ๒ ชั้น ทำเป็นแอวขันตามแบบสถาปัตยกรรมล้านช้าง มีเรือนธาตุเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมมีซุ้มจระนำอยู่ทั้งสี่ทิศ ตัวธาตุสูงประมาณ ๑๐ เมตร โดยแบ่งออกเป็น ๓ ส่วน คือ
ส่วนฐาน กว้าง ด้านละประมาณ ๒ เมตร ทำบัวคว่ำบัวหงายลดหลั่นกันเป็นแอวขันปากพานและย่อมุมไม้สิบสองทั้งสี่มุม ส่วนบนของฐานจะผายออกเพื่อรับเรือนธาตุ ส่วนฐานสูงประมาณ ๓ เมตร
เรือนธาตุ เป็น ทรงสี่เหลี่ยม ทำซุ้มจระนำประดับพระพุทธรูปยืนทั้งสี่ทิศ เหนือซุ้มจระนำทำเป็นลายกระหนกประดับ ที่เสาซุ้มจระนำมีดอกจันทร์เทศขนาดใหญ่ประดับเสาละ ๑ ดอก ส่วนที่เป็นเรือนธาตุผายออกไปเพื่อรับกับส่วนยอดพระธาตุ
ส่วนยอดธาตุ ทำ แปลกกว่าสถาปัตยกรรมล้านช้างทั่วไป คือ มีปลียอดเล็กๆ แซมอยู่ทั้งสี่ด้าน โดยเสริมให้ยอดกลางโดดเด่นขึ้น ตัวยอดแซมไม่ได้เป็นซุ้มแต่ทำเพียงอิงฐานของยอดกลางไว้เท่านั้น ลักษณะยอดทำทรงหีบมีกลีบบัวอยู่ที่โคนหีบสูงชะลูดไปสู่คอขวด แล้วหยักเป็นแอวขันคั่นกับยอดสุดเพื่อให้ยอดสุดดูโดดเด่นยิ่งขึ้นส่วนยอด ธาตุสูงประมาณ ๔ เมตร บริเวณรอบธาตุทำเป็นกำแพงแก้วเตี้ยๆ โอบรอบอยู่ทั้ง ๔ ด้านยาวประมาณด้านละ ๕ เมตร บริเวณด้านตะวันออกของธาตุติดกับกำแพงแก้วมีวิหารก่ออิฐหลังเล็กๆ ประดิษฐานพระพุทธรูป ๑ องค์ ก่อขึ้นใน พ.ศ.๒๔๙๕ โดยช่างบ้านตาดทองบริเวณโดยรอบธาตุมีใบเสมาปักอยู่เป็นกลุ่มๆ ลักษณะใบเสมาเป็นหินทรายแดงแกนกลางสลักเป็นภาพสถูป แบบศิลปะทวารวดี และยังมีธาตุที่สร้างในสมัยหลัง เพื่อเก็บอัฐิตามคตินิยมของชาวอีสานตั้งอยู่รายรอบตัวธาตุด้วย
ธาตุตาดทอง นี้มีเรื่องเล่าเป็นนิทานสืบต่อกันมา อธิบายการสร้างธาตุโดยนำไปเชื่อมโยงกับการสร้างพระธาตุพนม ว่ามีผู้คนกลุ่มหนึ่งทราบข่าวว่าจะมีการบูรณะพระธาตุพนม จึงได้พากันรวบรวมของมีค่าจะนำไปบรรจุไว้ในพระธาตุพนม ได้เดินทางมาถึงบริเวณบ้านตาดทอง พบกับชาวบ้านที่ไปช่วยกันก่อสร้างธาตุ จึงนำถาดทองที่ใช้ใส่ของมีค่าที่จะไปบรรจุไว้ในพระธาตุพนมมาใส่ไว้ในธาตุนี้ ด้วย จึงเป็นที่มาของชื่อ “ธาตุตาดทอง”
( ที่มา : www.thadthong.com )
นิทาน ก่องข้าวน้อยฆ่าแม่
ครั้งหนึ่ง เมื่อหลายร้อยปีมาแล้วที่บ้านตาดทอง ในฤดูฝนมีการเตรียมปักดำกล้าข้าวทุกครอบครัวจะออกไปไถนาเตรียมการเพราะปลูก ครอบครัวของชายหนุ่มคนหนึ่งกำพร้าพ่อ ไม่ปรากฏชื่อหลักฐาน ก็ออกไปปฏิบัติภารกิจเช่นเดียวกัน
วันหนึ่งเขาไถนาอยู่นานจนสาย ตะวันขึ้นสูงแล้วรู้สึกเหน็ดเหนื่อยอ่อนเพลียมากกว่าปกติ และหิวข้าวมากกว่าทุกวัน ปกติแล้วแม่ผู้ชราจะมาส่งก่องข้าวให้ทุกวัน แต่วันนี้กลับมาช้าผิดปกติ
เขาจึงหยุดไถนาเข้าพักผ่อนอยู่ใต้ ต้นไม้ ปล่อยเจ้าทุยไปกินหญ้าสายตาเหม่อมองไปทางบ้าน รอคอยแม่ที่จะมาส่งข้าวตามเวลาที่ควรจะมา ด้วยความรู้สึกกระวนกระวายใจยิ่งสายตะวันขึ้นสูงแดดยิ่งร้อนความหิวกระหาย ยิ่งทวีคูณขึ้น
ทันใดนั้นเขามองเห็นแม่เดินเลียบมาตามคันนาพร้อมก่อง ข้าวน้อยๆ ห้อยต่องแต่งอยู่บนเสาแหรกคาน เขารู้สึกไม่พอใจที่แม่เอาก่องข้าวน้อยนั้นมาช้ามาก ด้วยความหิวกระหายจนตาลาย อารมณ์พลุ่งพล่าน เขาคิดว่าข้าวในก่องข้าวน้อยนั้นคงกินไม่อิ่มเป็นแน่ จึงเอ่ยต่อว่าแม่ของตนว่า
"อีแก่ มึงไปทำอะไรอยู่จึงมาส่งข้าวให้กูกินช้านัก
ก่องข้าวก็เอามาแต่ก่องน้อยๆ กูจะกินอิ่มหรือ?"
ผู้เป็นแม่เอ่ยปากตอบลูกว่า "ถึงก่องข้าวจะน้อยก็น้อยต้อนแต้นแน่นในดอกลูกเอ๋ย ลองกินเบิ่งก่อน"
ความ หิว ความเหน็ดเหนื่อย ความโมโห หูอื้อตาลาย ไม่ยอมฟังเสียงใดๆ เกิดบันดาลโทสะอย่างแรงกล้า คว้าได้ไม้แอกน้อยเข้าตีแม่ที่แก่ชราจนล้มลงแล้วก็เดินไปกินข้าว กินข้าวจนอิ่มแล้วแต่ข้าวยังไม่หมดกล่อง จึงรู้สึกผิดชอบชั่วดี รีบวิ่งไปดูอาการของแม่และเข้าสวมกอดแม่ อนิจจา แม่สิ้นใจไปเสียแล้ว..
ชายหนุ่มร้อย ไห้โฮ สำนึกผิดที่ฆ่าแม่ของตนเองด้วยอารมณ์เพียงชั้ววูบ ไม่รู้จะทำประการใดดี จึงเข้ากราบ นมัสการสมภารวัดเล่าเรื่องให้ท่านฟังโดยละเอียด
สมภารสอนว่า "การฆ่าบิดามารดาผู้บังเกิดเกล้าของตนเองนั้นเป็นบาปหนัก เป็นมาตุฆาต ต้องตกนรกอเวจีตายแล้วไม่ได้ผุดไม่ได้เกิดเป็นคนอีก มีทางเดียวจะให้บาปเบาลงได้ก็ด้วยการสร้างธาตุก่อกวมกระดูกแม่ไว้ ให้สูงเท่านกเขาเหิน จะได้เป็นการไถ่บาปหนักให้เป็นเบาลงได้บ้าง"
เมื่อ ชายหนุ่มปลงศพแม่แล้ว ขอร้องชักชวนญาติมิตรชาวบ้านช่วยกันปั้นอิฐก่อเป็นธาตุเจดีย์บรรจุอัฐิแม่ ไว้ จึงให้ชื่อว่า "ธาตุก่องข้าวน้อยฆ่าแม่" จนตราบทุกวันนี้
ทุกวัน นี้มีผู้มากราบธาตุก่องข้าวน้อยฯทุกวันเพื่อขอขมาลาโทษเหมือนเป็นการไถ่บาป ที่ทำให้พ่อแม่เสียใจ บางคนเมื่อมีลูกแล้วถึงรู้ว่าบุญคุณแม่มากสุดเหลือคณานับ เพิ่งรู้ว่าเลี้ยงดูลูกนั้นยากหนักหนาขนาดไหน จึงมาสำนึกที่ทำให้แม่ต้องเสียใจ บ้างก็มากราบไหว้เพื่อรำลึกถึงบุญคุณแม่
แผนที่
View พระธาตุก่องข้าวน้อย in a larger map
วันอาทิตย์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554
ปราสาทสัจธรรม ปราสาทไม้สัจธรรม พัทยา ชลบุรี ไทย Thailand
ปราสาทไม้สัจธรรม ณ บริเวณแหลมราชเวช ตำบลนาเกลือ อำเภอบางละมุงจังหวัดชลบุรีในเนื้อที่ประมาณ 60 ไร่
เป็นที่ตั้งของ สถาปัตยกรรมไม้ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของสยามประเทศสถาปัตยกรรมไม้แห่งนี้ ชาวบ้านโดยทั่วไป
เรียกว่า " วังโบราณ "บ้างก็เรียกตามวัสดุของตัวอาคารที่สร้างด้วยไม้ว่า.." ปราสาทไม้ " ..แต่เจ้าของความคิด
และผู้ดำเนินการก่อ สร้างคือ คุณเล็ก วิระยะพันธุ์ เรียกอาคารแห่งนี้ว่า " ปราสาทสัจธรรม "
ข้อมูลจำเพาะ
ชื่อ : ปราสาทสัจธรรม คือ สถาปัตยกรรมที่ทำด้วยไม้แกะสลักทั้งหลัง ซึ่งมีขนาดใหญ่สุดในโลก
ที่ตั้ง : ตั้งอยู่บริเวณแหลมราชเวช ตำบลนาเกลือ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี
ออกแบบสร้าง : โดยคุณเล็ก วิริยะพันธุ์ เริ่มสร้างตั้งแต่ พ.ศ. 2524 ทั้งยังเป็นผู้สร้างเมืองโบราณ
และพิพิธภัณฑ์ช้างสาม เศียร สมุทรปราการ
พื้นที่ : 80 ไร่
รูปร่าง : ก่อสร้างตัวอาคารด้วยไม้ได้ขนาดของ 100 x100x100 m3.
ในช่องว่างประตู : 2,155square meters ความสูง : 100 เมตร
ความยาว : 100 เมตร
ก่อสร้างเมื่อ : พ.ศ. 2524
แผนที่
View ปราสาทไม้สัจธรรม in a larger map
ผาแต้ม อุบลราชธานี ไทย Thailand
อุทยานแห่งชาติผาแต้ม เป็นอุทยานแห่งชาติที่ตั้งอยูทางตะวันออกสุดของประเทศไทย สามารถรับชมพระอาทิตย์ขึ้นได้เป็นจุดแรกของประเทศไทย ปัจจุบันอยู่ในพื้นที่ของจังหวัดอุบลราชธานี จุดที่น่าสนใจคือภาพเขียนสีก่อนประวัติศาสตร์ผาแต้ม ผาหมอน ผาลาย ประติมากรรมธรรมชาติเสาเฉลียง และจุดชมพระอาทิตย์แสงแรกแห่งสยาม อุทยานแห่งชาติผาแต้มมีพื้นที่ราว 340 ตารางกิโลเมตร (212,500 ไร่)
แผนที่
View ผาแต้ม in a larger map
เสาเฉลียง อุบลราชธานี ไทย Thailand
เสาเฉลียง
เสาเฉลียง
เมื่อประมาณ 4,600 ล้านปี ที่ผ่านมา ซึ่งนักดาราศาสตร์ สันนิษฐานว่าเกิดจากการรวมตัวของ กลุ่มก๊าซในอวกาศ ด้วยความกดดันที่สูงมาก และเกิดพลังงานความร้อนมหาศาลจนมวลสารที่รวมตัวกันหลอมละลาย ซึ่งใช้เวลานับล้านปี จึงเย็นตัวลงเป็นเปลือกโลก แต่ว่าสภาพบรรยากาศที่ปกคลุมโลกอยู่ เต็มไปด้วยก๊าซชนิดต่าง สภาพลมฟ้าอากาศแปรปรวน ก๊าซที่ปกคลุมผิวโลกอยู่รวมตัวกัน ความหนาแน่นมากขึ้น จนกลั่นตัวลงมาเป็นฝนนานนับหมื่นปี เมื่อสิ้นสุดฝนในครั้งนั้น โลกก็เย็นตัวลง มากขึ้น เกิดผืนน้ำ แม่น้ำลำธารมากมาย เกิดการกัดเซาะพังทลายของเปลือกโลก (กษัยการ) เกิดวัฏจักรของหิน ต่อมาเมื่อประมาณ 3,500 ล้านปี ที่ผ่านมา จึงกำเนิดชีวิตแรกในท้องน้ำ เป็นสิ่งมีชีวิต เซลล์เดียว ประเภท โปรคารีโอต ซึ่งเป็นจุดกำเนิดของพืช และสัตว์ทุกชนิด ตามสายวิวัฒนาการ เสาเฉลียง.…เป็นประติมากรรมหินทรายที่ธรรมชาติสร้างขึ้นเป็นหน่วยหิน “ภูพาน” ที่เกิดขึ้นในยุค ครีเตเชียส (Cretaceous Period) เมื่อประมาณ 130 ล้านปี เสาเฉลียงประกอบด้วย หินสองส่วน หินทรายต้นถึงกลางยุค หินส่วนบนเกิดจากการสะสมตะกอนของหินทราย ช่วงปลายยุคครีเตเชียส โดยผ่านกระบวนการการกัดกร่อนทางธรรมชาติที่ยาวนานหลายล้านปี อันมีสาเหตุมาจากกระแสน้ำ แรงลม และ ความแปรปรวนของลมหลายล้านปีอันมีสาเหตุมาจากกระแสน้ำ แรงลมและความแปรปรวนของลมฟ้าอากาศ กระทั่งเกิดการเปลี่ยนแปลงพื้นผิวของเปลือกโลกครั้งสำคัญ(การเคลื่อนตัว การโก่งตัว และการทรุดตัว ) เป็นผลให้เกิดการกัดกร่อนของชั้นหินส่วนล่างที่เหลือจากการกัดกร่อนซ้อนอยู่ ในแนวดิ่ง และหินส่วนบนที่เหลือจากการกัดกร่อนซ้อนอยู่ในแนวนอน เมื่อมองดูหินทั้งสองส่วนประกอบด้วยความแตกต่างของช่วงเวลาการสะสมของหิน ทรายที่ได้สร้างประติมากรรมหินทรายอันทรงคุณค่า และน่าทึ่งไว้ให้เราได้ชื่นชม
* หมายเหตุ เสาเฉลียง เป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ ที่เกิดจากการกัดเซาะของน้ำสายลม และแสงแดดต่อเนื่องเป็นเวลาหลายร้อยล้านปี มีลักษณะเป็นแท่งหินตั้งขึ้น มีส่วนบนเป็น แผ่นหินวางอยู่โดยไม่ติดกันมองดูคล้ายดอกเห็ดนับเป็นประติมากรรมชิ้นเอกของ ธรรมชาติ ชาวท้องถิ่นเรียกเสาหินลักษณะนี้ว่า“เสาเฉลียง”ซึ่งแผลงมาจากคำว่า“สะ เลียง”เป็นภาษาส่วยหมายถึง “เสาหินที่มีลักษณะแปลก” นั่นเอง*
แผนที่
View เสาเฉลียง in a larger map
วันเสาร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554
อนุสาวรีย์เทพีเสรีภาพ Statue of Liberty สหรัฐอเมริกา United States of America
อนุสาวรีย์เทพีเสรีภาพ หรือ เทพีเสรีภาพ เป็นอนุสาวรีย์ที่ยิ่งใหญ่ และมีคุณค่าทางจิตใจ ในภาษาอังกฤษ เรียกว่า Statue of Liberty แต่เดิมชื่อว่า Liberty Enlightening the World ตั้งอยู่ ณ เกาะลิเบอร์ตี อ่าวนิวยอร์ก ที่นครนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นของขวัญที่ชาวฝรั่งเศสมอบให้แก่ชาวอเมริกัน ในวันที่อเมริกาเฉลิมฉลองวันชาติครบ 100 ปี ณ วันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2419 โดยส่งมอบอย่างเป็นทางการ โดยมี ประธานาธิบดีโกรเวอร์ คลีฟแลนด์ ในวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2429
เทพีเสรีภาพ เป็นประติมากรรมโลหะสำริด รูปเทพีห่มเสื้อคลุม มือขวาชูคบเพลิง มือซ้ายถือถือแผ่นจารึกคำประกาศอิสรภาพของสหรัฐฯ และมีอักษรสลักว่า "JULY IV MDCCLXXVI" หรือ วันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2319(ค.ศ. 1776) เท้าข้างหนึ่งมีโซ่ที่ขาด แสดงถึงความหลุดพ้นจากการเป็นทาส สวมมงกุฎ 7 แฉกซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของทะเลทั้งเจ็ด หรือทวีปทั้งเจ็ด ภายในมีบันไดวนรวมทั้งสิ้น 162 ขั้น เกิดขึ้นตามแนวคิดของเอดูอาร์ด เดอ ลาบูลาเย นักประวัติศาตร์ ชาวฝรั่งเศส เพื่อระลึกถึงความสัมพันธ์ของสหรัฐอเมริกา และ ฝรั่งเศส ระหว่างการปฏิวัติอเมริกัน ออกแบบโดยเฟรเดรีค โอกุสต์ บาร์โทลดี โครงร่างเหล็กออกแบบโดย เออแชน วียอเลต์-เลอ-ดุค และกุสตาฟ ไอเฟล ซึ่งเป็นผู้ออกแบบหอไอเฟล ในกรุงปารีส ส่วนฐานอนุสาวรีย์ สร้างโดยสหรัฐอเมริกา จารึกโคลงซอนเนต์ของกวีชาวอเมริกัน เอมมา ลาซารัส ซึ่งมีเนื้อหาต้อนรับผู้อพยพที่เข้าอยู่มาในอเมริกา
สาเหตุที่ทำให้ชาวฝรั่งเศสมอบเทพีเสรีภาพให้แก่สหรัฐอเมริกา เพราะว่า พวกเขาชื่นชมชาวอเมริกันที่หาญกล้าหาญ ที่ลุกขึ้นสู้กับสหราชอาณาจักร และประกาศอิสรภาพ จากสหราชอาณาจักรสำเร็จ เป็นชาติเอกราชในที่สุด ชาวฝรั่งเศส จึงรณรงค์หาเงินบริจาคจากทั่วประเทศ
ในการขนส่งจากฝรั่งเศส มายังสหรัฐอเมริกา เนื่องจากความใหญ่โตของอนุสาวรีย์ ทำให้ต้องแยกส่วนแล้วมาประกอบที่อเมริกา มีชิ้นส่วนรวมทั้งหมด 350 ชิ้น และนำมาประกอบขึ้นใหม่โดยใช้ระยะเวลาประมาณ 4 เดือน แต่ส่วนฐาน พบว่ามีการสร้างเสร็จ ในวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2429 โดยหมุดตัวสุดท้ายถูกประกอบเสร็จ ในวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2429
ปี พ.ศ. 2527 องค์การยูเนสโก ประกาศให้อนุสาวรีย์เทพีเสรีภาพ เป็นมรดกของโลก ปัจจุบันมีนักท่องเที่ยวไปเยี่ยมชมไม่น้อยกว่า 800,000 คน
ตามปกติแล้ว ประชาชนสามารถขึ้นไปชมวิวบนส่วนหัวมงกุฎของเทพีได้ แต่หลังเหตุวินาศกรรม 11 กันยายน พ.ศ. 2544 ทางการได้สั่งปิดอนุสาวรีย์ดังกล่าว ล่าสุด มีการเปิดให้นักท่องเที่ยว สามารถเดินทางไปที่เกาะ เพื่อชมความสวยงามของอนุสาวรีย์จากด้านล่างได้ แต่ยังตัวอนุสาวรีย์ยังปิดอยู่ รวมถึงพิพิธภัณฑ์ที่ส่วนฐานของอนุสาวรีย์ ด้วยเหตุผลทางด้านความปลอดภัย
แผนที่
View อนุสาวรีย์เทพีเสรีภาพ Statue of Liberty in a larger map
โรงอุปรากรซิดนีย์ ซิดนีย์โอเปร่าเฮาส์ Sydney Opera House ออสเตรเลีย Australia
โรงอุปรากรซิดนีย์ หรือ ซิดนีย์โอเปร่าเฮาส์ (อังกฤษ: Sydney Opera House) เป็นหนึ่งในสิ่งก่อสร้างสมัยใหม่ที่รู้จักกันดีทั่วโลก ออกแบบโดยสถาปนิกชาวเดนมาร์ก ยอร์น อุตซอน (Jørn Utzon) ตั้งอยู่บริเวณปากอ่าวซิดนีย์ นครซิดนีย์ รัฐนิวเซาท์เวลส์ ประเทศออสเตรเลีย และเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2550 องค์การยูเนสโกได้รับลงทะเบียนให้โรงอุปรากรซิดนีย์เป็นมรดกโลก
แผนที่
View โรงอุปรากรซิดนีย์ Sydney Opera House in a larger map
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)