วันเสาร์ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2553
หุบป่าตาด จ.อุทัยธานี ไทย Thailand
ตั้งอยู่ที่ตำบลทุ่งนางาม เข้าทางเดียวกับกับเขาปลาร้า อยู่ก่อนถึงเขาปลาร้าประมาณ 1 กิโลเมตร ถ้ำนี้ถูกค้นพบโดยพระครูสันติธรรมโกศล (หลวงพ่อทองหยด) เจ้าอาวาสวัดถ้ำทอง เมื่อปี พ.ศ. 2522 พระครูได้ปีนลงไปในหุบเขานี้ จึงพบว่ามีต้นตาดเต็มไปหมด (ต้นตาดเป็นไม้ดึกดำบรรพ์ตระกูลเดียวกับปาล์ม) จึงเจาะปากถ้ำเพื่อเป็นทางเข้าในปี พ.ศ. 2527 ต่อมากรมป่าไม้ได้ประกาศเป็นพื้นที่อนุรักษ์ เพราะที่นี่มีสภาพทางภูมิศาสตร์ที่แปลก และมีพันธุ์ไม้หายาก
อยู่ในความดูแลของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าถ้ำประทุน และมีการจัดทำเป็นเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติระยะทาง 700 เมตร ใช้เวลาเดินชมประมาณครึ่งชั่วโมง ถ้ำที่เป็นทางเดินเข้าหุบป่าตาดนั้นมืดสนิท เดินไม่นานจะถึงบริเวณปล่องขนาดใหญ่ที่แสงส่องลงมาได้และจะพบป่าตาด ให้ความรู้สึกเหมือนว่าได้มาอยู่ในโลกยุคดึกดำบรรพ์ นอกจากต้นตาดแล้วที่นี่ยังพบไม้หายากพันธุ์อื่น ๆ เช่น เต่าร้าง เปล้า คัดค้าวเล็ก เป็นต้น ในบริเวณหุบเขานี้มีลักษณะคล้ายป่าดงดิบและยังมีความชุ่มชื้นสูง แสงจะส่องถึงพื้นได้เฉพาะตอนเที่ยงวัน เพราะมีเขาหินปูนสูงชันล้อมรอบ มีความร่มรื่นเหมาะแก่การเดินชมธรรมชาติ
การเตรียมตัวไปหุบป่าตาด ควรพกไฟฉายและยาทากันยุงไปด้วย สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ เขตห้ามล่าสัตว์ป่าถ้ำประทุน โทร. 05698 9128
การเดินทาง จากจังหวัดอุทัยธานี ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 333 ผ่านอำเภอหนองฉาง จากนั้นต่อด้วยทางหมายเลข 3438 ทางไปอำเภอลานสักอีก 21.5 กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายตามทางลาดยางอีก 6 กิโลเมตร ก็จะถึงหุบป่าตาด ซึ่งเป็นทางเดียวกับทางไปเขาปลาร้า แต่อยู่ก่อนถึงเขาปลาร้าประมาณ 1 กิโลเมตร
แผนที่
ดู หุบป่าตาด ในแผนที่ขนาดใหญ่กว่า
วันศุกร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2553
หอไอเฟล Eiffel Tower ฝรั่งเศส France
หอไอเฟล (ฝรั่งเศส: Tour Eiffel, ตูร์แอฟแฟล; อังกฤษ: Eiffel Tower) หอคอยโครงสร้างเหล็กตั้งอยู่บนชองป์ เดอ มารส์ บริเวณแม่น้ำแซน ในกรุงปารีส หอไอเฟลเป็นสัญลักษณ์ของประเทศฝรั่งเศสที่เป็นที่รู้จักกันทั่วโลก ทั้งยังเป็นหนึ่งในสิ่งก่อสร้างที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลกอีกด้วย
หอไอเฟลเป็นหนึ่งในสิ่งก่อสร้างที่โด่งดังที่สุดแห่งหนึ่งของโลก โดยตั้งชื่อตามสถาปนิกผู้ออกแบบ "กุสตาฟ ไอเฟล" ในปี พ.ศ. 2549 นักท่องเที่ยวกว่า 6,719,200 คนได้เข้าเยี่ยมชมสถานที่แห่งนี้ และกว่า 200,000,000 คนตั้งแต่เริ่มก่อสร้าง ส่งผลให้หอไอเฟลเป็นสิ่งก่อสร้างที่มีคนเข้าชมมากที่สุดต่อปีอีกด้วย หอไอเฟลมีความสูง 324 เมตร (1,063 ฟุต) (รวมเสาอากาศสูง 24 เมตร (79 ฟุต)) ซึ่งก็สูงเท่ากับตึก 81 ชั้น
เมื่อหอไอเฟลสร้างเสร็จในปี พ.ศ. 2432 (ค.ศ. 1889) หอไอเฟลกลายเป็นสิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในโลกแทนที่อนุสาวรีย์วอชิงตัน และได้ครองตำแหน่งนี้มาเรื่อยๆ จนกระทั่งปี พ.ศ. 2473 (ค.ศ. 1930) ก็ได้เสียตำแหน่งให้แก่ตึกไครส์เลอร์ (319 เมตร หรือ 1,047 ฟุต) ที่เพิ่งสร้างเสร็จ ปัจจุบันฟอไอเฟลสูงเป็นอันดับที่ 5 ในประเทศฝรั่งเศสและสูงที่สุดในกรุงปารีส ซึ่งอันดับสองคือหอมงต์ปาร์นาสส์ (Tour Montparnasse - 210 เมตร หรือ 689 ฟุต) ซึ่งในไม่ช้าจะถูกแทนที่โดยหออาอิกซ์อา (Tour AXA - 225.11 เมตร หรือ 738.36 ฟุต)
แผนที่
View หอไอเฟล in a larger map
หอเอน เมืองปิซา Leaning Tower of Pisa อิตาลี Italy
หอเอนเมืองปิซา (อิตาลี: Torre pendente di Pisa หรือ La Torre di Pisa, อังกฤษ: Leaning Tower of Pisa) ตั้งอยู่ที่เมืองปิซา ในจัตุรัสเปียซซา เดล ดูโอโม (Piazza Del Duomo) หอระฆังของศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก เป็นหอทรงกระบอก 8 ชั้น สร้างด้วยหินอ่อนสีขาว สูง 183.3 ฟุต (55.86 เมตร) น้ำหนักรวม 14,500 ตันโดยประมาณ มีบันได 293 ขั้น เอียง 3.97 องศา ยอดของหอห่างจากแนวตั้งฉาก 3.9 เมตร
แผนที่
View หอเอน เมืองปิซา in a larger map
วันอังคารที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2553
แผนงานป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วม กรุงเทพมหานคร ไทย Thailand
6. โครงการก่อสร้างอุโมงค์ระบายน้ำในพื้นที่กรุงเทพมหานคร
ปัจจุบันการก่อสร้างเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพระบบระบายน้ำในพื้นที่เป็นไปด้วยความยากลำบาก ถึงแม้ว่า
กรุงเทพมหานครจะได้ก่อสร้างสถานีสูบน้ำขนาดใหญ่ตามริมแม่น้ำ ซึ่งมีขีดความสามารถระบายน้ำลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยาสูง ก็ตาม แต่ระบบระบายน้ำหลักที่เป็นเส้นทางลำเลียงน้ำมาสู่สถานีสูบน้ำมีขีดความ สามารถการระบายน้ำที่จำกัด ได้แก่
- ท่อระบายน้ำที่มีอายุการใช้งานนานกว่า 20 ปี ส่วนใหญ่มีขนาดเล็ก หากจะก่อสร้างเพื่อเปลี่ยนขนาดใหม่
จะต้องใช้งบปริมาณสูง และการก่อสร้างจะก่อให้เกิดปัญหาการจราจรติดขัด
- คูคลองสาธารณะที่เป็นเส้นทางระบายน้ำหลักนำน้ำจากท่อระบายน้ำไปสู่สถานีสูบน้ำมีขนาดจำกัดไม่เพียงพอ
ต่อประมาณน้ำฝนที่ตกในพื้นที่ หากจะทำการขยายและปรับปรุงขุดลอกให้ลึกกว่าเดิมก็มีความยากลำบากเนื่องจาก
บ้านเรือนประชาชนปลูกที่พักอาศัยอยู่ริมฝั่งคลองเป็นจำนวนมาก รวมทั้งพื้นที่น้ำท่วมขังบางแห่งมีระยะทางไกลจาก
สถานีสูบน้ำริมแม่น้ำมาก ทำให้การระบายน้ำท่วมขังเป็นไปได้ช้า
- พื้นที่รับรองและเก็บกักน้ำชั่วคราวเพื่อป้องกันน้ำท่วม (แก้มลิง)ที่กรุงเทพมหานครได้จัดหาไว้ มีไม่เพียงพอที่จะ
รับปริมาณน้ำฝนที่ท่วมขังในพื้นที่ได้
ดังนี้
1. โครงการก่อสร้างอุโมงค์ใต้คลองบางซื่อจากคลองลาดพร้าวลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยาที่ ก่อสร้างสถานีสูบน้ำขนาด
60 ลบ.ม./วินาที และอุโมงค์ใต้ดินขนาด 5.00 ม. ยาวประมาณ 6.40 กม. งบประมาณ 2,500 ล้านบาท
2. โครงการก่อสร้างอุโมงค์คลองบางเขนจากคลองลาดพร้าวลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณปากคลองบางเขนใหม่
ก่อสร้างสถานีสูบน้ำขนาด 60 ลบ.ม./วินาที และก่อสร้างท่อระบายน้ำใต้ดิน ขนาด 5.00 ม. ยาวประมาณ 10 กม.
งบประมาณ 3,000 ล้านบาท
ปัจจุบันการก่อสร้างเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพระบบระบายน้ำในพื้นที่เป็นไปด้วยความยากลำบาก ถึงแม้ว่า
กรุงเทพมหานครจะได้ก่อสร้างสถานีสูบน้ำขนาดใหญ่ตามริมแม่น้ำ ซึ่งมีขีดความสามารถระบายน้ำลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยาสูง ก็ตาม แต่ระบบระบายน้ำหลักที่เป็นเส้นทางลำเลียงน้ำมาสู่สถานีสูบน้ำมีขีดความ สามารถการระบายน้ำที่จำกัด ได้แก่
- ท่อระบายน้ำที่มีอายุการใช้งานนานกว่า 20 ปี ส่วนใหญ่มีขนาดเล็ก หากจะก่อสร้างเพื่อเปลี่ยนขนาดใหม่
จะต้องใช้งบปริมาณสูง และการก่อสร้างจะก่อให้เกิดปัญหาการจราจรติดขัด
- คูคลองสาธารณะที่เป็นเส้นทางระบายน้ำหลักนำน้ำจากท่อระบายน้ำไปสู่สถานีสูบน้ำมีขนาดจำกัดไม่เพียงพอ
ต่อประมาณน้ำฝนที่ตกในพื้นที่ หากจะทำการขยายและปรับปรุงขุดลอกให้ลึกกว่าเดิมก็มีความยากลำบากเนื่องจาก
บ้านเรือนประชาชนปลูกที่พักอาศัยอยู่ริมฝั่งคลองเป็นจำนวนมาก รวมทั้งพื้นที่น้ำท่วมขังบางแห่งมีระยะทางไกลจาก
สถานีสูบน้ำริมแม่น้ำมาก ทำให้การระบายน้ำท่วมขังเป็นไปได้ช้า
- พื้นที่รับรองและเก็บกักน้ำชั่วคราวเพื่อป้องกันน้ำท่วม (แก้มลิง)ที่กรุงเทพมหานครได้จัดหาไว้ มีไม่เพียงพอที่จะ
รับปริมาณน้ำฝนที่ท่วมขังในพื้นที่ได้
การแก้ไขปัญหาดังกล่าว กรุงเทพมหานครจึงได้ก่อสร้างอุโมงค์ระบายน้ำ เพื่อระบายน้ำจากพื้นที่น้ำ ท่วมขังให้ระบาย ลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยาโดยตรง โดยไม่ผ่านระบบระบายน้ำในปัจจุบันซึ่งมีขีด ความสามารถที่จำกัด โดยจนถึงปัจจุบันได้มี การดำเนินการก่อสร้างอุโมงค์ระบายน้ำแล้ว ได้แก่
1. โครงการก่อสร้างสถานีสูบน้ำและอุโมงค์ระบายน้ำซอยสุขุมวิท 26 โดยก่อสร้างสถานีสูบน้ำปากซอยสุขุมวิท 26
และสร้างอุโมงค์ลอดซอยสุขุมวิท 26 ไปคลองเตย บริเวณถนนเกษมราษฎร์ โดยก่อสร้างสถานีสูบน้ำขนาด 4 ลบ.ม./วินาที และอุโมงค์ขนาด 1.00 ม. ยาวประมาณ 1,100 ม. งบประมาณ 30 ล้านบาท ก่อสร้างแล้วเสร็จ เมื่อ พ.ศ. 2526
2. โครงการก่อสร้างระบบผันน้ำคลองเปรมประชากร จากคลองเปรมประชากร บริเวณบริษัทปูนซีเมนต์ไทย
ลอดใต้ถนนประชาราษฎร์ 2 ไปลงแม่น้ำเจ้าพระยา ก่อสร้างสถานีสูบน้ำขนาด 30 ลบ.ม./วินาที อุโมงค์ใต้ดินขนาด 3.40 ม. ยาวประมาณ 1,880 ม. งบประมาณ 495.45 ล้านบาท ก่อสร้างแล้วเสร็จกลางปี 2544
3. โครงการก่อสร้างระบบระบายน้ำพื้นที่เขตพญาไท โดยสร้างอุโมงค์รับน้ำจากถนนพหลโยธิน ลอดใต้ซอย
พหลโยธิน 7 (อารีย์) เก็บน้ำในบึงพิบูลวัฒนา(แก้มลิง) และสร้างอุโมงค์ลอดหมู่บ้านพิบูลวัฒนา คลองประปา
ซอยระนอง 1 ไปลงคลองเปรมประชากร โดยก่อสร้างสถานีสูบน้ำที่บึงพิบูลวัฒนา ขนาด 6 ลบ.ม./วินาที และสร้าง อุโมงค์ใต้ดิน ขนาด 2.40 ม. ยาวประมาณ 679 ม. และขนาด 1.50 ม. ยาวประมาณ 1,900 ม. งบประมาณ 339.12 ล้านบาท ก่อสร้างแล้วเสร็จเมษายน 2546
4. โครงการก่อสร้างสถานีสูบน้ำและอุโมงค์ระบายน้ำซอยสุขุมวิท 36 โดยก่อสร้าง สถานีสูบน้ำปากซอยสุขุมวิท 36 และสร้างอุโมงค์ลอดซอยสุขุมวิท 36 ถนนพระราม 4 ถนนทางรถไฟสายเก่าไปลงคลองเตย โดยก่อสร้างสถานีขนาด 6 ลบ.ม./วินาที และอุโมงค์ขนาด 1.75 ม. ยาว 1,320 ม. งบประมาณ 129 ล้านบาท ก่อสร้างแล้วเสร็จกันยายน 2544
5. โครงการก่อสร้างสถานีสูบน้ำและอุโมงค์ระบายน้ำซอยสุขุมวิท 42 โดยก่อสร้างสถานีสูบน้ำปากซอยสุขุมวิท 42 และสร้างอุโมงค์ลอดซอยสุขุมวิท 42 ถนนพระราม 4 ถนนทางรถไฟสายเก่าไปลงคลองเตย โดยก่อสร้างสถานีสูบน้ำขนาด 6 ลบ.ม./วินาที และอุโมงค์ขนาด 1.75 ม. ยาว 1,100 ม. งบประมาณ 109 ล้านบาท ก่อสร้างแล้วเสร็จเมษายน 2545
6. โครงการก่อสร้างอุโมงค์ระบายน้ำคลองแสนแสบ และคลองลาดพร้าวลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา จากบึงพระราม 9
ใต้คลองแสนแสบซอยสุขุมวิท 71 ถนนสุขุมวิทและคลองพระโขนง ไปลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณคลองพระโขนง ก่อสร้างสถานีสูบน้ำขนาด 60 ลบ.ม./วินาที ก่อสร้างท่อระบายน้ำใต้ดินขนาดไม่น้อยกว่า 5.00 ม. ยาวประมาณ 5.1 กม.
งบประมาณ 2,336 ล้านบาท ระยะเวลาก่อสร้าง 5 ปี ปัจจุบันอยู่ระหว่างก่อสร้าง คาดว่าจะแล้วเสร็จปลายปี 2550
7. โครงการก่อสร้างอุโมงค์ระบายน้ำบึงมักกะสัน ลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา จากบึงมักกะสันลอดใต้ขนานทางรถไฟ
สายช่องนนทรีย์ ลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยาที่คลองขุดวัดช่องลม โดยก่อสร้างสถานีสูบน้ำขนาด 45 ลบ.ม./วินาที และท่อระบาย
น้ำใต้ดินขนาด 4.60 ม. ประมาณ 5.98 กม. งบประมาณค่าก่อสร้าง 2,166 ล้านบาท ระยะเวลาก่อสร้าง 4 ปี ก่อสร้างแล้วเสร็จ เมื่อกันยายน 2550
ถึงแม้ว่าได้มีการก่อสร้างอุโมงค์ระบายน้ำทั้ง 7 แห่ง ดังกล่าวแล้ว ก็ยังไม่เพียงพอต่อที่จะระบายน้ำท่วมขังที่ยังคงมี อยู่ในพื้นที่ ดังนั้นกรุงเทพมหานครจึงมีแผนที่จะก่อสร้างอุโมงค์ระบายน้ำขนาดใหญ่ เพิ่มเติมอีก 2 แห่ง แต่เนื่องจากงบ ประมาณในการก่อสร้างสูงมากจึงจะได้ดำเนินการตามลำดับต่อไป โดยมีรายละเอียดอุโมงค์ระบายน้ำที่มีแผนจะก่อสร้าง1. โครงการก่อสร้างสถานีสูบน้ำและอุโมงค์ระบายน้ำซอยสุขุมวิท 26 โดยก่อสร้างสถานีสูบน้ำปากซอยสุขุมวิท 26
และสร้างอุโมงค์ลอดซอยสุขุมวิท 26 ไปคลองเตย บริเวณถนนเกษมราษฎร์ โดยก่อสร้างสถานีสูบน้ำขนาด 4 ลบ.ม./วินาที และอุโมงค์ขนาด 1.00 ม. ยาวประมาณ 1,100 ม. งบประมาณ 30 ล้านบาท ก่อสร้างแล้วเสร็จ เมื่อ พ.ศ. 2526
2. โครงการก่อสร้างระบบผันน้ำคลองเปรมประชากร จากคลองเปรมประชากร บริเวณบริษัทปูนซีเมนต์ไทย
ลอดใต้ถนนประชาราษฎร์ 2 ไปลงแม่น้ำเจ้าพระยา ก่อสร้างสถานีสูบน้ำขนาด 30 ลบ.ม./วินาที อุโมงค์ใต้ดินขนาด 3.40 ม. ยาวประมาณ 1,880 ม. งบประมาณ 495.45 ล้านบาท ก่อสร้างแล้วเสร็จกลางปี 2544
3. โครงการก่อสร้างระบบระบายน้ำพื้นที่เขตพญาไท โดยสร้างอุโมงค์รับน้ำจากถนนพหลโยธิน ลอดใต้ซอย
พหลโยธิน 7 (อารีย์) เก็บน้ำในบึงพิบูลวัฒนา(แก้มลิง) และสร้างอุโมงค์ลอดหมู่บ้านพิบูลวัฒนา คลองประปา
ซอยระนอง 1 ไปลงคลองเปรมประชากร โดยก่อสร้างสถานีสูบน้ำที่บึงพิบูลวัฒนา ขนาด 6 ลบ.ม./วินาที และสร้าง อุโมงค์ใต้ดิน ขนาด 2.40 ม. ยาวประมาณ 679 ม. และขนาด 1.50 ม. ยาวประมาณ 1,900 ม. งบประมาณ 339.12 ล้านบาท ก่อสร้างแล้วเสร็จเมษายน 2546
4. โครงการก่อสร้างสถานีสูบน้ำและอุโมงค์ระบายน้ำซอยสุขุมวิท 36 โดยก่อสร้าง สถานีสูบน้ำปากซอยสุขุมวิท 36 และสร้างอุโมงค์ลอดซอยสุขุมวิท 36 ถนนพระราม 4 ถนนทางรถไฟสายเก่าไปลงคลองเตย โดยก่อสร้างสถานีขนาด 6 ลบ.ม./วินาที และอุโมงค์ขนาด 1.75 ม. ยาว 1,320 ม. งบประมาณ 129 ล้านบาท ก่อสร้างแล้วเสร็จกันยายน 2544
5. โครงการก่อสร้างสถานีสูบน้ำและอุโมงค์ระบายน้ำซอยสุขุมวิท 42 โดยก่อสร้างสถานีสูบน้ำปากซอยสุขุมวิท 42 และสร้างอุโมงค์ลอดซอยสุขุมวิท 42 ถนนพระราม 4 ถนนทางรถไฟสายเก่าไปลงคลองเตย โดยก่อสร้างสถานีสูบน้ำขนาด 6 ลบ.ม./วินาที และอุโมงค์ขนาด 1.75 ม. ยาว 1,100 ม. งบประมาณ 109 ล้านบาท ก่อสร้างแล้วเสร็จเมษายน 2545
6. โครงการก่อสร้างอุโมงค์ระบายน้ำคลองแสนแสบ และคลองลาดพร้าวลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา จากบึงพระราม 9
ใต้คลองแสนแสบซอยสุขุมวิท 71 ถนนสุขุมวิทและคลองพระโขนง ไปลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณคลองพระโขนง ก่อสร้างสถานีสูบน้ำขนาด 60 ลบ.ม./วินาที ก่อสร้างท่อระบายน้ำใต้ดินขนาดไม่น้อยกว่า 5.00 ม. ยาวประมาณ 5.1 กม.
งบประมาณ 2,336 ล้านบาท ระยะเวลาก่อสร้าง 5 ปี ปัจจุบันอยู่ระหว่างก่อสร้าง คาดว่าจะแล้วเสร็จปลายปี 2550
7. โครงการก่อสร้างอุโมงค์ระบายน้ำบึงมักกะสัน ลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา จากบึงมักกะสันลอดใต้ขนานทางรถไฟ
สายช่องนนทรีย์ ลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยาที่คลองขุดวัดช่องลม โดยก่อสร้างสถานีสูบน้ำขนาด 45 ลบ.ม./วินาที และท่อระบาย
น้ำใต้ดินขนาด 4.60 ม. ประมาณ 5.98 กม. งบประมาณค่าก่อสร้าง 2,166 ล้านบาท ระยะเวลาก่อสร้าง 4 ปี ก่อสร้างแล้วเสร็จ เมื่อกันยายน 2550
ดังนี้
1. โครงการก่อสร้างอุโมงค์ใต้คลองบางซื่อจากคลองลาดพร้าวลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยาที่ ก่อสร้างสถานีสูบน้ำขนาด
60 ลบ.ม./วินาที และอุโมงค์ใต้ดินขนาด 5.00 ม. ยาวประมาณ 6.40 กม. งบประมาณ 2,500 ล้านบาท
2. โครงการก่อสร้างอุโมงค์คลองบางเขนจากคลองลาดพร้าวลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณปากคลองบางเขนใหม่
ก่อสร้างสถานีสูบน้ำขนาด 60 ลบ.ม./วินาที และก่อสร้างท่อระบายน้ำใต้ดิน ขนาด 5.00 ม. ยาวประมาณ 10 กม.
งบประมาณ 3,000 ล้านบาท
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)