Right Up Corner

ad left side

วันอังคารที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

ชาวน้ำ ชาวอินทา (Intha) ทะเลสาบอินเล พม่า Myanmar

ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%97%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%A5

ทะเลสาบอินเล (พม่า: အင်းလေးကန်, เสียงอ่านภาษาพม่า: [ʔɪ́ɴlé kàɴ] อี๊นเล้ก่าน) เป็นทะเลสาบน้ำจืดตั้งอยู่ในรัฐฉาน อยู่ห่างจากเมืองตองยีประมาณ 25 กิโลเมตร ในประเทศพม่า เป็นทะเลสาบที่ใหญ่เป็นอันดับสองของพม่า
ทะเลสาบแห่งนี้เป็นที่อยู่อาศัยของกลุ่มชนที่เรียกตนเองว่า ชาวอินทา (Intha) ชนเผ่านี้อาศัยอยู่ในทะเลสาบอินเลมานานนับร้อยปีแล้ว โดยใช้ชีวิตอยู่ท่ามกลางการทำการเกษตรบนเกาะวัชพืชที่พวกเขาสร้างขึ้นมาเอง กลางลำน้ำในทะเลสาบ



การพายเรือด้วยเท้าอันเป็นวิถีชีวิตของชาวประมงชาวอินทา


ที่มา http://www.oknation.net/blog/print.php?id=646578

เ ก ษ ต ร ก ร ร ม บ น ผื น น้ำ ภูมิปัญญาจากหลายร้อยปีของชาวอินทา ต้นแบบของการปลูกพืชแบบไฮโดรโฟนิก ในปัจจุบัน


October 03, 2010
เกษตรกรรมบนผืนน้ำ ภูมิปัญญาจากหลายร้อยปีของชาวอินทา ต้นแบบของการปลูกพืชแบบไฮโดรโฟนิก ในปัจจุบัน
ภาพ ชีวิตของลูกทะเลสาบที่ยืนขาเดียวบนเรือ แล้วใช้เท้าอีกข้างต่างมือในการจ้วงพาย บังคับเรือให้แล่นไปข้างหน้า ถอยหลัง เบี่ยงซ้าย ป่ายขวาได้ดังใจ ขณะที่อีกมือหนึ่งขยับสุมเตรียมจับปลา … ดูแปลกตาสำหรับเรา เหมือนกับพวกเขากำลังเต้นบัลเล่ย์บนผิวน้ำด้วยท่วงท่าที่สง่างาม
ลีลาที่พริ้วไหว ทำให้เราต้องเบนทิศทางของกล้องระดมถ่ายรูปเก็บไว้มากมาย ด้วยจุดมุ่งหมายที่จะนำไปเผยแพร่ในวงกว้าง ด้วยเหตุที่การแจวเรือด้วยเท้าไม่มีที่ไหนในโลก มีเพียงที่นี่แห่งเดียว
ภาพที่เห็นในสายตา ทำให้ฉันคิดถึงบทความที่เคยอ่านผ่านตามาบ้าง
สมัย บรรพชนของชาวอินทา ที่เข้ามาตั้งรกรากใหม่ๆ พื้นที่ราบตามธรรมชาติมีอยู่น้อยนิดตามชายขอบ ที่พวกเขาลงแรงปลูกผักเอาไว้ แต่พอถึงหน้าฝน น้ำที่หลากลงมาจากภูเขาพัดพาพืชผักเสียหายหมด ถึงจะท้อใจบ้าง แต่พวกเขาไม่ท้อถอย ด้วยความหวังว่าจะมีชีวิตที่ดีกว่า ด้วยการประนีประนอมกับสภาพธรรมชาติรอบข้าง
การ พยายามรอมชอมกับสิ่งแวดล้อมรอบตัว มีตั้งแต่การเรียนรู้ที่จะต้องปลูกบ้านที่ใต้ถุนสูงมากๆไว้ก่อน เพื่อป้องกันน้ำท่วมในหน้าน้ำหลาก ที่อาจจะยกระดับน้ำในทะเลสาบให้สูงกว่าปกติถึง 2 เมตร และการค้นหาหนทางที่จะเพาะปลูก ทำการเกษตรให้ประสบผลสำเร็จบนพื้นที่น้อยนิดที่มีอยู่ให้จงได้
ชาวอินทา มองเห็นว่าหน้าดินที่ไหลลงสู่ก้นทะเลสาบนั้นมีจำนวนมหาศาล จนทำให้ทะเลสาบตื้นเขิน ดินเหล่านี้ประกอบด้วยสารอินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อการเจริญเติบโตของพืช เป็นปุ๋ยชั้นยอดตามธรรมชาติ อีกทั้งในทะเลสาบที่ลึกเพียง 1-2 เมตรยังมีวัชพืชมากมาย
สาหร่ายและวัชพืชน้ำ เป็นส่วนเกินที่ไร้คุณค่าและประโยชน์ในหลายชุมชนทั่วโลก หากแต่ที่นี่ วัชพืชเหล่านี้คือ ขุมทองและชีวิต” … ผืน แผ่นดินดั้งเดิมคือดินตะกอนที่ไหลจากภูเขาลงมาทับถมกันด้วยเวลายาวนาน แต่มันไม่เพียงพอสำหรับชาวอินทาทุกคนในการสร้างบ้านแปงเมืองเป็นที่อยู่ อาศัย และปลูกผักเลี้ยงชีพ
บรรพบุรุษของชาวอินทาจึงได้ทดลองนำเอาวัชพืชน้ำเหล่านั้นมามัดรวมกันเป็นแพที่กว้างสัก 2 ฟุต ยาว 50-60 เมตร แล้วตักดินโคลนมาโปะลงบนแพวัชพืช เอาไม้ไผ่มาปักเป็นหลัก ดักหัวดักท้าย เพื่อกันไม่ให้ลอยไปตามกระแสน้ำ
แปลงผักมีการพัฒนาต่อมาเรื่อยๆ บางครั้งลมมรสุมที่โหมกระหน่ำนั้นมีพลังมากมาย จนไม้ไผ่ทานไม่อยู่ แปลงผักจึงหลุดลอยไปตามกระแสน้ำ สำหรับ ชาวอินทาแล้ว แปลงผักเหล่านี้ไม่ใช่เพียงวัชพืชที่ไร้ค่ากับดินโคลนอันต่ำต้อย ทว่าคืออู่ข้าวอู่น้ำ คือรายได้เลี้ยงปากท้องของครอบครัวอีกหลายชีวิต
ชาวอินทาทุ่มเทพละกำลัง จ้วงแขนพายเรือเพื่อตามแปลงผักที่หลุดลอยไปให้ทัน แต่ ช่วงแรกมันเหนื่อยเปล่า มองไม่เห็นว่าแปลงผักลอยไปทางไหน พวกเขาจึงลุกขึ้นยืนสอดส่ายสายตาหาแปลงผัก ในขณะที่เปลี่ยนมาใช้เท้าพายและบังคับเรือแทน
ใน ที่สุดก็กลายเป็นการพัฒนามาสู่การใช้มือจับด้ามพาย คล้ายเป็นหลักแจว แล้วใช้ขาข้างหนึ่งตวัดใบพายให้พลิกพริ้ว เพื่อพุ้ยน้ำไปข้างหน้า ส่วนอีกขาเหยียบหัวเรือรักษาสมดุลของร่างกายเอาไว้ในยามที่โยกตัวใช้ขาจ้วง ใบพาย จนคล้ายการเต้นบัลเลย์ในสายน้ำ ในสายตาของผู้มาพบเห็น
ใน ปัจจุบัน แม้ว่าชาวอินทาจะมีวิธีการป้องกันไม่ให้แปลงผักหลุดลอยไปตามน้ำแล้วก็ตาม แต่การพายเรือด้วยเท้ากลับฝังลึกกลายเป็นสัญชาตญาณ จนพัฒนาเป็นความชำนาญเมื่อลอยเรืออยู่ในน้ำไปแล้ว
โดย เฉพาะเมื่อเวลาออกไปหาปลาโดยใช้สุ่ม ที่มีขนาดใหญ่เกินกว่าที่จะยกขึ้นได้ด้วยมือเพียงข้างเดียว ชาวประมงจะใช้แค่รักแร้หนีบด้ามพายเอาไว้ และบังคับเรือให้หยุดนิ่งได้เหมือนเสกมนต์ และเมื่อกดสุ่มปักลงไปถึงท้องน้ำแล้วก็ใช้ฉมวกแทงลงไปในสุ่ม สำรวจดูว่ามีปลาหลุดเข้ามาหรือไม่ หากปลาตกใจว่ายมาชนสุ่ม ชาวประมงจะกระตุกเงื่อนปล่อยแหในสุ่มลงไปครอบปลาไว้ ก่อนที่จะยกสุ่มขึ้น แล้วค่อยๆสาวแหขึ้นมา แกะปลาออก
แม้ ปัจจุบัน ชาวอินทาจะมีอาชีพอื่นเพื่อสร้างรายได้ แต่ทุกบ้านมักจะมีใครสักคนออกทะเลสาบหาปลา เอามาต้มแกงกินในครอบครัว เป็นวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของลูกทะเลสาบตลอดมา

บริเวณ รอบๆทะเลสาบที่ถึงแม้จะไม่ลึก และเป็นแหล่งการประมงที่สำคัญ สร้างเศรษฐกิจและรายได้ให้คนในชุมชนมหาศาล แต่ที่ราบมีน้อยมากๆ และชาวอินทาต้องการพื้นที่ปลูกบ้านพักอาศัย และแหล่งเพาะปลูกพืชทางการเกษตรต่างๆ
พวก เขาจะใช้วัชพืชเหล่านี้ไปกองสุมกัน เป็นรองพื้นขนาดใหญ่ก่อนที่จะโกยดินตะกอนจากก้นทะเลสาบ (ที่อยู่ไม่ลึกดังกล่าวมาแล้ว) มาโปะลงไปแปลงโฉมพื้นที่นั้นๆเป็นแปลงผักลอยน้ำขนาดใหญ่ โดยมีเสาไม้ไผ่ปักลงไปในดินยึดโยงแปลงผักไม่ให้ลอยออกไปตามกระแสน้ำที่พัด ผ่าน
แปลงผักของที่นี่ใช้ปลูกดอกไม้ พืชชนิดต่างๆโดยไม่ต้องรดน้ำ เพียงแค่ต้องเอาใจใส่ถอนวัชพืช .. 
ผลิตผล ที่ออกมา พวกเขาเก็บเอาไว้กินเอง รวมถึงส่งขายนำรายได้สู่ชุมชน เช่นพริกโดยเฉพาะมะเขือเทศนั้น ที่นี่เป็นแหล่งผลิตใหญ่มาก และส่งไปขายทั่วทั้งพม่า นำเงินทองกลับมา จนใครๆอิจฉา ด้วยเหตุที่ชาวอินทา รวยกว่าชนเผ่าอื่นๆในจำนวน 126 ชนเผ่าในรัฐฉานของพม่าชนิดเทียบกันไม่ติด แถม ยังมีฐานะทางเศรษฐกิจดีกว่าชาวพม่า จนเป็นชนเผ่าเดียวในประเทศพม่าที่สามารถจ้างชาวพม่ามาเป็นลูกจ้างเก็บใบ ยาสูบ และทำงานในสวนผัก ในขณะที่ชนเผ่าอื่นต้องไปเป็นลูกจ้างของชาวพม่าเสียเป็นส่วนมาก
ภูมิปัญญา ของชาวอินทา น่ายกย่องและชื่นชม ในการต่อสู้ พลิกเกมที่ดูเหมือนจะเป็นข้อด้อย ให้แปรเปลี่ยนมาเป็นข้อดี ส่งเสริมชีวิตและความเป็นอยู่ของพวกเขาให้ดีขึ้น
ทำนา บนหลังคน” … หมู่บ้าน ชาวอินทามีวัว ควาย ที่ใช้งานหลากหลายประเภทอยู่มาก และเป็นภาพชีวิตชนบทที่งดงาม ชวนให้กดชัตเตอร์กล้องอย่างไม่ยั้งอยู่บ่อยๆ หากแต่ในบางกรณี ภาพการใช้แรงคนไถนา ยังพอมีให้เห็น
ฉันไม่รู้เหตุผลแน่ชัด ได้แต่นึกฉงน แต่เดาเอาว่าคงใช้ควายไถนาไม่ได้ในบริเวณนี้ แปลกตาดีค่ะ
 
แผนที่


ดู ชาวน้ำ ทะเลสาบอินเล พม่า ในแผนที่ขนาดใหญ่กว่า

yengo ad

BumQ